คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กุศล บุญยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือโฉนดไม่เพียงพอแสดงการครอบครอง หากไม่มีหลักฐานการเข้าทำประโยชน์ชัดเจน
การถือโฉนดไม่แสดงว่าผู้ถือโฉนดครอบครองที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเงินทดแทนจากคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การปฏิบัติตามประกาศกระทรวง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนโดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงหมาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมามาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเงินทดแทนเกินกำหนด 30 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นเหตุให้หมดสิทธิฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความลักษณะสินค้าบรรจุหีบห่อเพื่อเสียภาษีการค้า กรณีลูกกวาดบรรจุปีบเพื่อการเก็บรักษา
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ทนายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการจำหน่ายสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาดซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบเพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีบมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึกสินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ 0.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก' ในการจัดเก็บภาษีการค้า สินค้าที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไม่ใช่สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราพิเศษ
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21)พ.ศ.2509 หมายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการนำสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาด ซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบ.เพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึก สินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกตามบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ1.5ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ: ต้องเป็นบุพการีหรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมายหรือตามพฤตินัย
น้าไม่ใช่บุพการีและไม่เคยให้ความอุปการะเลี้ยงดูที่พอจะฟังได้ว่าเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยจึงไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้หลานเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนชำรุดก็ผิดกฎหมาย: การครอบครองอาวุธปืนแม้ใช้การไม่ได้ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
จำเลยมีอาวุธปืนลูกซองพกสั้นไม่มีเครื่องหมายเลขทะเบียนปืนของเจ้าพนักงาน และมีลำกล้องปืนแก๊ปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ปืนและลำกล้องปืนดังกล่าวจะชำรุดใช้การไม่ได้ก็เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมหลังคดีถึงที่สุด: สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อจำเลยแพ้คดี
ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วม อ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินผู้ร้องสอด ไม่ได้เช่าจากโจทก์ หากจำเลยแพ้คดี อาจฟ้องร้องผู้ร้องสอดให้เสียหาย ผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและภายหลังปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีไปแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์เป็นเหตุให้คดีถึงที่สุด สิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยจึงไม่มีอีกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส มรดก และการโอนทรัพย์สิน: สิทธิของทายาทและเจ้าของร่วม
การเป็นสามีภริยากันก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 และต่อมาแยกกันอยู่ภายหลังที่ใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แล้ว โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดจากกันตามนัยแห่งมาตรา 1497,1498 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ย่อมไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน
โจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ด้วย โดยเข้าทำกินในที่พิพาทแล้วให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับมรดกอีกผู้หนึ่งเป็นรายปีทุกปีตลอดมายังมิได้แบ่งปันกันต้องถือว่าต่างเป็นเจ้าของร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนี้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปทั้งแปลง จึงผูกพันได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนของตนที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอน กลับคืนมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันหลังรับคำบังคับ และต้องแสดงเหตุผลที่อาจชนะคดีได้
จำเลยลงชื่อรับคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลเมื่อวันที่ 11พฤษภาคม 2521 แต่มายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ในวันที่ 5 มิถุนายน 2521 เป็นเวลาเกินสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทั้งคำร้องของจำเลยก็มิได้กล่าวคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไว้เลยว่า จำเลยอาจชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ศาลรับไว้พิจารณาไม่ได้
of 48