พบผลลัพธ์ทั้งหมด 471 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าโฆษณา: สถานีวิทยุของรัฐที่หารายได้จากการโฆษณา เข้าข่ายผู้ค้า ต้องใช้ อายุความ 2 ปี
สถานีวิทยุกระจายเสียงของกองทัพเรือโจทก์หารายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายของสถานีวิทยุ โดยรับทำการโฆษณาข้อความหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เป็นปกติธุระ ค่าโฆษณามีอัตรากำหนดไว้ให้ชำระเป็นรายเดือน เงินค่าโฆษณามิได้นำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ดังนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ คือการโฆษณาข้อความหรือผลิตภัณฑ์ของผู้อื่นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) สิทธิเรียกร้องเอาเงินสินจ้างค่าโฆษณาของโจทก์จึงมีอายุความสองปี และแม้การสื่อสารเป็นราชการ กองทัพเรือซึ่งมีหน้าที่เตรียมกำลังและป้องกันราชอาณาจักร ก็ไม่เป็นเหตุที่จะให้นำอายุความสิบปีมาใช้บังคับได้ เพราะสิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อหนี้อย่างอื่นต้องบังคับตามบทบัญญัติอายุความในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะดังที่บัญญัติไว้มาตรา 167
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชน เกินกำหนดระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา24ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวันเฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และ ตามมาตรา 24จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไปหลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีกจนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้โจทก์จะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนพ้นกรอบระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ จึงจะมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไป ได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวัน เฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และตามมาตรา 24 จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5 แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีก จนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากในบัญชีเด็ก: ไม่เป็นมรดก - ไม่ต้องตั้งผู้จัดการมรดก
เงินฝากในบัญชีชื่อเด็ก โดยผู้ตายถอนได้ เงินนี้เป็นของเด็กผู้ตายไม่มีมรดกก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อนครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีกกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากเกินกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน ครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีก กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิแล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาและการยกข้ออ้างภายหลังการไต่สวน
จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยอมให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิการจำยอมเป็นถนนผ่านที่ดินจำเลย โดยโจทก์ต้องทำถนนให้เสร็จภายในเวลา 2 นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอม ถ้าไม่ทำจนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกไป และโจทก์จะต้องไปจดทะเบียนถอนภารจำยอมออกจากที่ดินดังกล่าว เมื่อต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์มิได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาศาลสอบถามโจทก์ โจทก์ยืนยันว่าได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว ศาลจึงดำเนินการไต่สวนและเดินเผชิญสืบตรวจดูสถานที่ ได้ความว่า โจทก์ไม่ได้ทำถนนแต่อย่างใดเลยโจทก์กลับมายกข้ออ้างขึ้นใหม่ภายหลังที่เดินเผชิญสืบเสร็จการไต่สวนแล้วว่ามีบันทึกซึ่งจำเลยที่ 3 ทำขึ้นนอกศาลตกลงขยายเวลาทำถนนให้โจทก์ ซึ่งขัดกันที่โจทก์แถลงไว้เดิม จึงรับฟังไม่ได้ ศาลบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนภารจำยอมออกจากโฉนดที่ดินของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนอกศาลหลังการแถลงต่อศาล
จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยอมให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมเป็นถนนผ่านที่ดินจำเลยโดยโจทก์ต้องทำถนนให้เสร็จภายในเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอม ถ้าไม่ทำจนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกไป และโจทก์จะต้องไปจดทะเบียนถอนภารจำยอมออกจากที่ดินดังกล่าว เมื่อต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์มิได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาศาลสอบถามโจทก์ โจทก์ยืนยันว่าได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว ศาลจึงดำเนินการไต่สวนและเดินเผชิญสืบตรวจดูสถานที่ ได้ความว่า โจทก์ไม่ได้ทำถนนแต่อย่างใดเลยโจทก์กลับมายกข้ออ้างขึ้นใหม่ภายหลังที่เดินเผชิญสืบเสร็จการไต่สวนแล้วว่ามีบันทึกซึ่งจำเลยที่ 3 ทำขึ้นนอกศาลตกลงขยายเวลาทำถนนให้โจทก์ ซึ่งขัดกับที่โจทก์แถลงไว้เดิม จึงรับฟังไม่ได้ ศาลบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนภารจำยอมออกจากโฉนดที่ดินของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าพนักงาน: การคืนรถยนต์ยึดแก่ผู้ซื้อโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด
รถยนต์โจทก์ถูกคนร้ายลักไป และได้มีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนแล้วโอนขายต่อกันเป็นทอด ๆ จนกระทั่งถึงบริษัทเชสแมนฮัตตันอินเวสต์เมนต์ จำกัด รับซื้อไว้โดยสุจริตและได้ให้ผู้มีชื่อเช่าซื้อต่อไป ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ยึดรถยนต์คันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในคดี เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดไว้ต่อไป จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งให้คืนรถยนต์คันดังกล่าวแก่บริษัทเชสแมนฮัตตันอินเวสต์เมนต์ซึ่งอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์รถยนต์คันนั้นตามกฎหมาย ดังนี้ เป็นการสั่งคืนโดยชอบไม่ผิดหน้าที่ เพราะโจทก์ก็ยอมรับว่าบริษัทดังกล่าวซื้อรถยนต์ไว้โดยสุจริต และที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งไปเช่นนั้นก็ไม่มีผลให้บริษัทผู้ครอบครองรถยนต์อยู่ได้กรรมสิทธิ์ จึงไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะชอบที่จะฟ้องเรียกเอาคืนจากบริษัทนั้นได้ ทั้งก่อนจะคืนรถยนต์จำเลยที่ 2 ก็แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่า ถ้าโจทก์จะคัดค้านให้ฟ้องศาลภายใน 1 เดือนหากฟ้องแล้วจะเก็บรักษารถยนต์ไว้จนกว่าศาลจะชี้ขาดให้คืนแก่ฝ่ายใด แสดงว่า จำเลยที่ 2 สั่งการโดยใช้ความระมัดระวัง จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยกับพวกซึ่งนายทะเบียนและผู้ช่วยนายทะเบียนยานพาหนะได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้คนร้ายเปลี่ยนแปลงทะเบียนแล้วโอนรถยนต์ของโจทก์ต่อไป ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าข้อนี้โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยกับพวกซึ่งนายทะเบียนและผู้ช่วยนายทะเบียนยานพาหนะได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้คนร้ายเปลี่ยนแปลงทะเบียนแล้วโอนรถยนต์ของโจทก์ต่อไป ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าข้อนี้โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้จากการประมูลแชร์: ความผูกพันและหลักฐานการใช้เงิน
โจทก์เป็นนายวงแชร์ จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นด้วยและเป็นผู้ประมูลได้ จำเลยจึงทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ระบุจำนวนเงินกู้เท่ากับเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องส่งเป็นรายเดือนต่อไปจนครบ โดยยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงกันให้หนี้ค่าแชร์ระหว่างกันผูกพันกันในรูปหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้โดยมีค่าแชร์กันจริง สัญญากู้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะกู้ยืม จำเลยจะพ้นความรับผิดต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2