พบผลลัพธ์ทั้งหมด 536 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบเครื่องจักรกล กรณีไม้ถูกต้องตามกฎหมาย
โรงงานแปรรูปไม้ของจำเลยเป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรกลในการผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ไม้แปรรูปที่จับได้จากโรงงานเป็นไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ความผิดของจำเลยอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาต เครื่องจักรกลและสิ่งต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นโรงงานแปรรูปไม้ จึงมิใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ จะริบเครื่องจักรกลไม่ได้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรรมเดียวกัน
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงงานแปรรูปไม้ไม่ได้รับอนุญาต: การริบเครื่องจักรกลเมื่อไม้ที่แปรรูปถูกต้องตามกฎหมาย
โรงงานแปรรูปไม้ของจำเลยเป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรกลในการผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ไม้แปรรูปที่จับได้จากโรงงานเป็นไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ความผิดของจำเลยอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาต เครื่องจักรกลและสิ่งต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นโรงงานแปรรูปไม้ จึงมิใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ จะริบเครื่องจักรกลไม่ได้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรรมเดียวกัน
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์สำหรับประกอบเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การแบ่งแยกครอบครองที่ดินมรดกและการใช้ทางเดินเป็นทางภารจำยอม
โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่นของ อ. ต่างได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน เป็นส่วนสัดตามที่ อ. ชี้แบ่งเขตให้ แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ครอบครองมา เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้รับแบ่งแยกมาตั้งแต่ก่อน อ. ถึงแก่กรรมและได้ใช้ทางเดินผ่านเข้าออกจากที่บ้านไปสู่ถนน โดยผ่านที่ดินที่จำเลยทั้งสองครอบครองอยู่มาตั้งแต่แรกเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางเดินดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางภารจำยอมโดยมิได้เรียกค่าเสียหาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางภารจำยอมโดยมิได้เรียกค่าเสียหาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีที่โจทก์เป็นชาวต่างชาติและฟ้องคดีในไทย: มาตรา 4(3) และ 7 วางหลักเกณฑ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่การฟ้องเริ่มคดีต่อศาลไทยด้วยการฟ้องบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีที่โจทก์เป็นชาวต่างชาติและฟ้องต่อศาลไทย ศาลอนุญาตฟ้องแย้งได้ตามมาตรา 7
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (3) เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่การฟ้องเริ่มคดีต่อศาลไทยด้วยการฟ้องบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย: บทบัญญัติกฎหมายเป็นพิเศษและผลกระทบต่อความเป็นธรรม
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันโดยสุจริต ดังนี้ เท่ากับเป็นการขยายเวลาตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 ออกไป ซึ่งเจ้าหนี้อื่นและลูกหนี้อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา สิทธิเรียกคืนการให้ไม่มี
การที่โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นการให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับภริยาซึ่งเป็นมารดาของจำเลยและต่อมาเมื่อโจทก์ไม่โอนที่พิพาทอีกสองแปลงตามคำพิพากษาตามยอมศาลก็พิพากษาให้โจทก์โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของลักษณะการให้ของโจทก์ไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการชนรถไฟ: ศาลพิจารณาค่าแรงซ่อม, โอเวอร์เฮดชาร์จ, และความรับผิดร่วมของจำเลย
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในเรื่องค่าแรงว่า โจทก์ใช้พนักงานของโจทก์เป็นผู้ทำการซ่อม แม้ไม่เกิดเหตุต้องซ่อมรถในคดีนี้โจทก์ก็ต้องจ่ายให้พนักงานเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในชั้นฎีกากลับฎีกาว่า รถไฟคันเกิดเหตุใกล้จะถึงเวลาซ่อมบำรุงเมื่อเกิดเหตุก็ซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้วโจทก์ไม่ควรได้รับค่าแรงเต็มจำนวนดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 3 ในฎีกาไม่ได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนด & สิทธิเช่า: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์เดิมและการสิ้นสุดสิทธิเช่า
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนด ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินดังกล่าวเมื่อจำเลยรับว่าเช่าที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนของโฉนดดังกล่าวจากโจทก์โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ที่จำเลยจะขอนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์วัด ต. (ร้าง) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามจึงไม่จำเป็นเพราะที่ดินพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบุคคลผู้มีอำนาจดูแลที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนด vs. ที่ธรณีสงฆ์: สิทธิของผู้เช่าหลังบอกเลิกสัญญา
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนด ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินดังกล่าวเมื่อจำเลยรับว่าเช่าที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนของโฉนดดังกล่าวจากโจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ที่จำเลยจะขอนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์วัด ต.(ร้าง) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามจึงไม่จำเป็นเพราะที่ดินพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบุคคลผู้มีอำนาจดูแลที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าว