พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายเมื่อรถยนต์ถูกยักยอก ผู้ขายต้องพิสูจน์ความผิดผู้ซื้อจึงไม่ต้องรับผิด
กรณีที่ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482(1) นั้น จะต้องได้ความว่าผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง รถยนต์พิพาทถูกยักยอกมาและได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ติดตามยึดรถไปจากโจทก์ผู้ซื้อด้วยอำนาจของกฎหมาย โดยจำเลยผู้ขายมิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปนั้นเป็นความผิดของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาข้อยกเว้นการรับผิดในการรอนสิทธิตามข้อกฎหมายที่อ้างมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิ: ผู้ขายต้องพิสูจน์ความผิดผู้ซื้อเพื่อให้พ้นจากความรับผิด
กรณีที่ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 482 (1)นั้น จะต้องได้ความว่าผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง รถยนต์พิพาทถูกยักยอกมาและได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ติดตามยึดรถไปจากโจทก์ผู้ซื้อด้วยอำนาจของกฎหมาย โดยจำเลยผู้ขายมิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปนั้นเป็นความผิดของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาข้อยกเว้นการรับผิดในการรอนสิทธิตามข้อกฎหมายที่อ้างมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออก
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้น เป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว แต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออก ปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46,47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือน การเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือน การเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าชดเชย และการไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้นเป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวแต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออกปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46, 47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือนการเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือนการเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรอนสิทธิเช่า: มาตรา 482 ไม่กำหนดอายุความ ใช้ อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าตึกจากจำเลยถูกรบกวนขัดสิทธิในอันจะได้ครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิในการเช่าเหนือทรัพย์สินดีกว่าโจทก์ได้ชื่อว่าโจทก์ผู้เช่าถูกรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ประกอบด้วยมาตรา 549
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164