พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามอำนาจพิเศษมีผลผูกพัน คุ้มครองทรัพย์สินของรัฐ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร. 39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่ง และคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืน ทรัพย์สินใดซึ่ง ณ และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้น ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ อายัดทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ คดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมีกระบวนการชี้ขาดเฉพาะ
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ. และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่งและคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืนทรัพย์สินใดซึ่ง ณ.และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบจะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้นทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไปดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันนิติกรรมหลังเหตุข่มขู่สิ้นสุด ผลคือจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญา
จำเลยอ้างว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์เนื่องจากถูกข่มขู่ บันทึกดังกล่าวเป็นโมฆียะ แต่ปรากฏว่าหลังจากเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะตามที่จำเลยอ้างนั้นสิ้นไปแล้ว จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดว่า จะบอกล้างบันทึกข้อตกลงในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันนิติกรรมหลังเหตุข่มขู่สิ้นสุด ผลของการบอกล้างสัญญา
จำเลยอ้างว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์เนื่องจากถูกข่มขู่ บันทึกดังกล่าวเป็นโมฆียะ แต่ปรากฏว่าหลังจากเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะตามที่จำเลยอ้างนั้นสิ้นไปแล้ว จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดว่าจะบอกล้างบันทึกข้อตกลงในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: ลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้ต้องมีพยานรับรอง 2 คน การฟ้องบังคับคดีจึงตก
ลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้มีพยานลงลายมือชื่อรับรองคนเดียวโจทก์ลงชื่อในสัญญากู้ในช่องผู้ให้กู้ไม่ได้เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้ไม่ชอบด้วย มาตรา 9 วรรค 3 ฟ้องบังคับคดีแก่ผู้กู้ไม่ได้ เป็นเหตุลักษณะคดีแม้โจทก์ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลก็พิพากษายกฎีกาโจทก์และยกฟ้องผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลา 14 วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2520 อันเป็นวันภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันขายทอดตลาดแล้ว ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 14 วันนับจากวันขายทอดตลาด มิฉะนั้นไม่มีสิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2520 อันเป็นวันภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันขายทอดตลาดแล้วไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290วรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่าเสียหายจากรถชน: การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อที่ไม่สมบูรณ์ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างว่ารับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มีแต่แบบพิมพ์การโอนซึ่งผู้เช่าซื้อลงลายมือชื่อไว้โดยไม่กรอกข้อความโจทก์ไม่ใช่เจ้าของและไม่ใช่ผู้เช่าซื้อ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะรถยนต์ถูกชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดทั้งนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย การไม่ระบุเหตุในนัดแรกทำให้คำขอไม่ชอบ
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุที่ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินของศาล จำเลยยื่นคำขออ้างเหตุที่ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยแต่ไม่แสดงเหตุที่ไม่มาศาลในนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ชอบด้วยมาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516-2517/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกที่ขัดขวางการจัดการมรดกและไม่ให้ความร่วมมือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1723 จะเห็นว่าไม่ได้ห้ามผู้จัดการมรดกตั้งตัวแทนเสียเลยทีเดียว หากเป็นการตั้งตัวแทนกระทำการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกย่อมจักกระทำได้ ดังนี้ แม้ผู้จัดการมรดกทั้งสองได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ฉ. ซึ่งเป็นทนายความจัดการแทน. ฉ. ได้แต่เพียงมีหนังสือถึงทายาทให้ส่งทรัพย์มรดกเฉพาะผู้ร้องให้ส่งมอบโฉนดและให้แจ้งทรัพย์มรดกเท่านั้น ซึ่งก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกนอกนั้นผู้จัดการมรดกทั้งสองได้จัดการมรดกด้วยตนเอง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกทั้งสองมิได้กระทำการตามหน้าที่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองและจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลานานหลายปี แต่บรรดาทายาทยังมิได้รับการแบ่งปันมรดกเลย เพราะจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการมรดกและคัดค้านตลอดมา หากจะให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกอีกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมา กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองและจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลานานหลายปี แต่บรรดาทายาทยังมิได้รับการแบ่งปันมรดกเลย เพราะจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการมรดกและคัดค้านตลอดมา หากจะให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกอีกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมา กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก