พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าเช่ารถเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) เหตุผลผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทในชั้นฎีกาว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่ และคดีดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้มีคำพิพากษาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2564 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าเช่ารถต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หากผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้รับเป็นผู้ให้เช่าที่แท้จริง
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) และมาตรา 65 ตรี (18) มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายรายจ่าย ต้องพิสูจน์ตัวตนของผู้รับเงินได้ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับก็ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งทางนำสืบของโจทก์มีรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับ ก. เพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ก. และบิลเงินสดที่ ก. ทำเรื่องเบิกเงินจากโจทก์ที่ปรากฏแต่ชื่อของ ก. เท่านั้น อ.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า ในชั้นที่เจ้าหน้าที่สรรพากรให้นำตัว ก. มาชี้แจง โจทก์ไม่สามารถติดต่อ ก. มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงได้ ซึ่งก็ได้ความจาก ว. เจ้าพนักงานตรวจสอบเช่นกันว่า โจทก์ไม่สามารถนำตัว ก. มาให้ถ้อยคำได้และยังไม่มีหมายเลขโทรศัพท์ของ ก. เพื่อติดต่อด้วย ซึ่งมีข้อพิรุธที่โจทก์และ ก. ติดต่อทำธุรกิจกันมาเป็นระยะเวลานานมีมูลค่าหลายล้านบาท เฉพาะที่ปรากฏในชุดใบสำคัญจ่ายสำหรับการเช่ารถระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2551 มีการเช่ารถยนต์พร้อมคนขับจำนวนมาก โดยคนขับรถต้องไปรับพนักงานของโจทก์ในสถานที่แตกต่างกันเพื่อสำรวจข้อมูลทำแผนที่ เช่น จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ซึ่งในการเช่ารถดังกล่าวตามปกติแล้วย่อมจะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของ ก. เพื่อติดต่อใช้รถในแต่ละครั้ง แต่โจทก์กลับไม่สามารถให้ข้อมูลติดต่อ ก. ได้ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ก. มีการทำหลักฐานเอกสารการเช่ากันเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มีการระบุตัวทรัพย์สินที่ให้เช่า คงมีเพียงตารางค่าเช่ารถเท่านั้น ซึ่งเป็นการผิดปกติวิสัยของการทำธุรกิจให้เช่ารถจำนวนมาก นอกจากนี้ ฐ. กรรมการบริหารบริษัทโจทก์ยังเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัท อ. ซึ่งบริษัท อ. มี ณ.เป็นผู้ถือหุ้น และ ณ. ยังเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นบริษัท ม. ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์กับบริษัท ม. มีความเกี่ยวข้องกัน โดยบริษัท ม. จ่ายค่าเช่ารถให้แก่ ก. สูงกว่าปกติ และบริษัท ม. ไม่สามารถนำตัว ก. มายืนยันว่ามีการรับเงินตามบิลเงินสดที่บริษัท ม. นำมาแสดงเป็นรายจ่ายต่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้เช่นกัน เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจปฏิบัติการสอบยัน ณ ภูมิลำเนาของ ก. ก็ไม่สามารถเข้าตรวจได้เนื่องจากสถานประกอบการมีลักษณะเป็นบ้านพักอาศัย ไม่มีลักษณะเป็นสถานประกอบการ ไม่มีผู้ใดพักอาศัยและไม่พบตัว ก. เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงทำหนังสือเชิญ ก. ให้มาพบแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ ก. ก็ไม่มาพบ แม้โจทก์จะประกอบการจริงและรายจ่ายที่เป็นค่าเช่ายานพาหนะสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 ตามกระดาษทำการวิเคราะห์แบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 10,621,603.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.71 ของรายได้ เป็นค่าเช่าที่จ่ายให้แก่ ก. 10,533,342 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าผู้ให้เช่ารายอื่น และโจทก์ชำระเงินค่าเช่ารถยนต์ให้แก่ ก. โดยสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ก. และขีดคร่อมประทับตราว่า A/C PAYEE ONLY ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออกและมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คก็ตาม แต่โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ว่า ก. เป็นผู้ให้เช่ารถและผู้รับเงินค่าเช่ารถที่แท้จริง ทางนำสืบของโจทก์จึงยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า ก. เป็นผู้ให้เช่ารถที่แท้จริง เพราะหาก ก. เป็นผู้ให้เช่ารถยนต์แล้วน่าจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ก. มากกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517จริงแต่ไม่เต็มตามที่อ้าง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์รายจ่ายเพื่อหักลดหย่อนภาษี: หลักฐานการรับเงินสำคัญกว่าลายมือชื่อ
การพิสูจน์รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) นั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในสำนวนว่า ผู้จ่ายพิสูจน์ได้หรือไม่ว่าใครเป็นผู้รับเงิน
โจทก์เป็นบริษัทประกอบกิจการรับซื้อข้าวในประเทศส่งไปขายต่างประเทศ รายจ่ายค่าซื้อข้าวจากพ่อค้าเร่ตามใบเสร็จรับเงิน จำนวน 1,506 ฉบับ เป็นเงิน 73 ล้านบาทเศษนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าพ่อค้าเร่ขายข้าวมีอยู่จริง และโจทก์นำพยานจำนวนถึง 45 ปาก มาเบิกความรับรองว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน ทั้งปรากฏว่า ปริมาณข้าวที่มีอยู่ที่บริษัทโจทก์ถูกต้อง ดังนี้ โจทก์พิสูจน์ได้ว่าใครเป็น ผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินจำนวน 1,506 ฉบับ โจทก์จึงมีสิทธินำ จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้
โจทก์เป็นบริษัทประกอบกิจการรับซื้อข้าวในประเทศส่งไปขายต่างประเทศ รายจ่ายค่าซื้อข้าวจากพ่อค้าเร่ตามใบเสร็จรับเงิน จำนวน 1,506 ฉบับ เป็นเงิน 73 ล้านบาทเศษนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าพ่อค้าเร่ขายข้าวมีอยู่จริง และโจทก์นำพยานจำนวนถึง 45 ปาก มาเบิกความรับรองว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน ทั้งปรากฏว่า ปริมาณข้าวที่มีอยู่ที่บริษัทโจทก์ถูกต้อง ดังนี้ โจทก์พิสูจน์ได้ว่าใครเป็น ผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินจำนวน 1,506 ฉบับ โจทก์จึงมีสิทธินำ จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำนวนเงินที่โจทก์ตัดเป็นรายจ่ายในการจัดตั้งบริษัทโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทดังโจทก์อ้าง ถือว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22