พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิพิเศษจากการก่อสร้างบนที่ดินของผู้อื่น และสถานะเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างเหมา ทำให้ราคาที่ดินของจำเลยที่ 3 สูงขึ้น หนี้ค่าก่อสร้างจึงมีอยู่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ในหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว แต่เจ้าหนี้มิได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อน เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษ ใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ต่อไปก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายใน มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483เจ้าหนี้อยู่ในฐานะที่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้อย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงมีผลผูกพัน
เจ้าหนี้ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างเหมา ทำให้ราคาที่ดินของจำเลยที่ 3 สูงขึ้นหนี้ค่าก่อสร้างจึงมีอยู่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ในหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว แต่เจ้าหนี้มิได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อน เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษ ใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ต่อไป ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 286 ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายใน มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เจ้าหนี้อยู่ในฐานะที่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้อย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 130(8) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้อำนวยการในการจ้างช่วงและการรับผิดชอบต่อการคืนเงินค่าสมัครงาน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการของเจ้าหนี้นำงานพิมพ์ไปให้สหกรณ์กลาโหม จำกัด รับจ้างช่วง โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างตามแผนที่กำหนดจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเป็นตั๋วแลกเงินเต็มจำนวนค่าจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละครั้งเกิน 300,000 บาท เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจ้าง พ.ศ.2504และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและะกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการพ.ศ.2496 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยปราศจากอำนาจ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 มีอำนาจตั้ง ส.เป็นตัวแทนช่วงให้ดำเนินกิจการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้ง-องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2469 มาตรา 22 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ พ.ศ.2496 ข้อ 7 เมื่อไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ หรือเป็นผู้ไม่สมควรไว้วางใจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการที่เจ้าหนี้ต้องคืนเงินที่ ส.เรียกรับเอาไปให้แก่ผู้สมัครงานเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดหลังศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย – ข้อตกลงประนอมหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังการประนอมหนี้และการล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรค้าง: การคำนวณเงินเพิ่มและอายุความของหนี้ภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 หาได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าภาษีอากรค้างว่าจะต้องชำระเงินเพิ่มก่อนหลังกันอย่างไรจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบมิใช่ข้อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจะสามารถรู้ได้เอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ไปยังลูกหนี้ที่ 2และลูกหนี้ที่ 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2ได้ชำระค่าภาษีเงินได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลล่างทั้งสองนำเงินที่ลูกหนี้ที่ 2ผ่อนชำระไปหักจากค่าภาษีเงินได้ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยไม่คำนวณเงินเพิ่มร้อยละ 20 ด้วย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง การที่พยานเจ้าหนี้ให้การว่า ได้มีการชำระเงินกันบางส่วนแล้วแต่จะชำระเมื่อใดไม่ปรากฏนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้รับทราบการประเมินและไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการใช้เงินบางส่วนอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยผู้ชำระบัญชี ส่งผลสะดุดอายุความค้างชำระหนี้
การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้มีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ว่าเจ้าหนี้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ในสมุดบัญชีของลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้ติดต่อแสดงหลักฐานการเป็นหนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ไปแสดง .......... ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้ ผู้ชำระบัญชีกลับมีหนังสือถึงเจ้าหนี้ให้นำตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังกล่าวไปเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทที่ได้รับมอบหมาย พฤติการณ์ของบริษัทลูกหนี้ดังนี้ เป็นการกระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ อายุความย่อมสะดุดหยุดลง เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่พ้นเวลาสามปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สมยอมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ความรู้และการยอมให้ก่อหนี้
เจ้าหนี้ฝากเงินไว้กับลูกหนี้ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าควบคุมกิจการเป็นเวลาหลายเดือน และก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนั้น แม้เจ้าหนี้จะเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรรมการคนหนึ่งของลูกหนี้ และเจ้าหนี้มิได้ถอนเงินจากลูกหนี้ในช่วงเวลานั้นก็ตามจะถือว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นทั้ง ๆที่รู้อยู่ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ได้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: พยานหลักฐานเพียงพอเชื่อได้ว่ามีหนี้จริง
ปี 2518 ลูกหนี้ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้ใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากและนำเงินเข้าฝากหักทอนบัญชีหลายครั้งจนถึงปี 2522ลูกหนี้จึงขาดการติดต่อกับเจ้าหนี้ ปี 2529 ลูกหนี้เป็นหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นเงิน 35,850,401.97 บาท เจ้าหนี้มีพยานบุคคลและพยานเอกสารนำสืบได้สอดคล้องต้องกันว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ส่วนการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยสอบสวนกรรมการของลูกหนี้ไว้โดยกรรมการของลูกหนี้ว่าลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้ก็เป็นคำกล่าวอ้างลอย ๆ หรือที่ว่าลูกหนี้ไม่เคยประกอบธุรกิจใด ๆก็ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวไม่เคยเข้าร่วมบริหารงานของลูกหนี้กรรมการลูกหนี้บางคนก็เพิ่งเข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้หลังจากบริษัทลูกหนี้ตั้งได้ 2-3 ปีแล้ว คำให้การของกรรมการลูกหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า หนี้ระหว่างเจ้าหนี้ลูกหนี้เกิดจากการสมยอมหรือเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 130(8).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้