พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้ กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตาม ขั้นตอนขัดต่อ กฎหมายหรือขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดย ไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สินและการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สิน และการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรมการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความแล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบ คำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้เป็นกรรมการลูกหนี้ทราบฐานะหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นกรรมการของบริษัทลูกหนี้ย่อมจะต้องทราบถึงฐานะของลูกหนี้ได้ดีกว่าตกอยู่ในสภาพ เช่นไร การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงบางส่วนตลอดจนลูกหนี้ต้องไปกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพยุงฐานะของลูกหนี้ที่กำลังทรุดลงจนในที่สุดทางราชการได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เช่นนี้ เจ้าหนี้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทลูกหนี้จะปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงฐานะอันแท้จริงของลูกหนี้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ได้นำเงินเข้าฝากกับลูกหนี้หลังจากที่ทราบดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เงินฝากดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้จากการล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกัน vs. เจ้าหนี้ไม่มีประกัน พิจารณาจากคำพิพากษาและสัญญาจำนอง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างคำพิพากษาของศาลเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเสียค่าธรรมเนียมยื่นคำขอรับชำระหนี้ 25 บาท เท่ากับอัตราค่ายื่นคำขอรับชำระหนี้อย่าง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าหนี้อ้างส่ง สัญญาจำนองทรัพย์สินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ที่ 5 ก็ตาม แต่เมื่อคำพิพากษาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้มีการบังคับจำนอง เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมอยู่ด้วยเช่นนี้เจ้าหนี้ คงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130 (8) เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิสูจน์ฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากคำพิพากษาและการบังคับจำนอง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างคำพิพากษาของศาลเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเสียค่าธรรมเนียมยื่นคำขอรับชำระหนี้ 25 บาท เท่ากับอัตราค่ายื่นคำขอรับชำระหนี้อย่าง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าหนี้อ้างส่งสัญญาจำนองทรัพย์สินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ที่ 5 ก็ตาม แต่เมื่อคำพิพากษาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้มีการบังคับจำนอง เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมอยู่ด้วยเช่นนี้ เจ้าหนี้ คงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(8) เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้โดยไม่ต้องรอคดีอื่นถึงที่สุดเพื่อคุ้มครองประโยชน์เจ้าหนี้
พระราชบัญญัติล้มละลายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้รับชำระหนี้โดยเป็นธรรม ตามส่วนเฉลี่ยแห่งหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ป้องกันมิให้ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ของตน.มิให้ถูกบังคับชำระหนี้และให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยรวดเร็ว ที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับบริษัท อ. ในคดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลก็ได้จำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้แล้วลูกหนี้และบริษัท อ. มิได้มีเจ้าหนี้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ในคดีนี้ แต่อาจมีเจ้าหนี้หลายรายแตกต่างกันไป ถ้าศาลจะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้จนกว่าคดีล้มละลายถึงที่สุด ก็ย่อมจะเสียหายแก่เจ้าหนี้รายอื่น จึงไม่มีเหตุที่จะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท. ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท. ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หลักการคุ้มครองเจ้าหนี้และอำนาจงดการสอบสวน
พระราชบัญญัติล้มละลายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้รับชำระหนี้โดยเป็นธรรม ตามส่วนเฉลี่ยแห่งหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ป้องกันมิให้ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ของตน.มิให้ถูกบังคับชำระหนี้และให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยรวดเร็ว ที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับบริษัท อ. ในคดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลก็ได้จำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้แล้วลูกหนี้และบริษัท อ. มิได้มีเจ้าหนี้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ในคดีนี้ แต่อาจมีเจ้าหนี้หลายรายแตกต่างกันไป ถ้าศาลจะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้จนกว่าคดีล้มละลายถึงที่สุด ก็ย่อมจะเสียหายแก่เจ้าหนี้รายอื่น จึงไม่มีเหตุที่จะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท.ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท.ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้