พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง, ความรับผิดของกรรมการบริหารพรรค, และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
เงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองนั้นเป็นเงินที่มอบให้แก่พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีสิทธิได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงินซึ่งหากใช้ไปโดยชอบและสามารถแสดงหลักฐานการใช้จ่ายต่อโจทก์ทั้งสองได้ พรรคการเมืองนั้นก็ไม่ต้องคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองแก่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองแต่อย่างใด แต่หากเป็นการใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองก็มีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบคืนส่งเข้ากองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองได้ สิทธิในการเรียกคืนจึงเกิดมีขึ้นเมื่อมีการใช้เงินโดยมิชอบหรือเมื่อพรรคการเมืองนั้นถูกยุบแล้วแต่กรณี ซึ่งในส่วนเงินสนับสนุนของพรรค ด. ประจำปี 2557 นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 84 ก็ตาม แต่สิทธิในการเรียกคืนเงินดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ โจทก์ชอบที่จะทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ชำระหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ไม่ชำระจึงจะตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อโจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ให้คืนเงินและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่คืนเงิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดคือวันถัดจากวันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 นั้น ได้ความจากคำฟ้องและจากหนังสือฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2557 ที่โจทก์ที่ 2 มีไปถึงพรรค ด. ว่า โจทก์ที่ 2 อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 82 ในการทวงถามให้พรรค ด. ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ซึ่งตามมาตรา 82 บัญญัติให้นำความในมาตรา 42 วรรคสอง ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับกรณีการฝ่าฝืนมาตรา 82 โดยอนุโลม ต่อมาเมื่อพรรค ด. ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 วรรคสอง ดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรค ด. หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. เมื่อเป็นกรณีที่พรรค ด. ถูกยุบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ความรับผิดในการคืนเงินสนับสนุนของพรรค ด. จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาใช้บังคับ ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ด. อยู่ในช่วงปี 2556 จะต้องร่วมรับผิดกับพรรค ด. อย่างลูกหนี้ร่วมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่พรรค ด. ได้รับเงินไปจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. โจทก์ทั้งสองอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 85 ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. คืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่พรรค ด. ได้รับไป เมื่อปี 2556 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ไม่ชำระ โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และที่ 11 ถึงที่ 17 ในฐานะทายาท ท. รับผิดชำระดอกเบี้ยในช่วงเวลาตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. จนถึงวันก่อนวันฟ้องได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 ตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ยื่นคำแก้ฎีกาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลล่างทั้งสอง ซึ่งจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 นั้น ได้ความจากคำฟ้องและจากหนังสือฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2557 ที่โจทก์ที่ 2 มีไปถึงพรรค ด. ว่า โจทก์ที่ 2 อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 82 ในการทวงถามให้พรรค ด. ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ซึ่งตามมาตรา 82 บัญญัติให้นำความในมาตรา 42 วรรคสอง ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับกรณีการฝ่าฝืนมาตรา 82 โดยอนุโลม ต่อมาเมื่อพรรค ด. ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 วรรคสอง ดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรค ด. หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. เมื่อเป็นกรณีที่พรรค ด. ถูกยุบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ความรับผิดในการคืนเงินสนับสนุนของพรรค ด. จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาใช้บังคับ ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ด. อยู่ในช่วงปี 2556 จะต้องร่วมรับผิดกับพรรค ด. อย่างลูกหนี้ร่วมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่พรรค ด. ได้รับเงินไปจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. โจทก์ทั้งสองอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 85 ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. คืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่พรรค ด. ได้รับไป เมื่อปี 2556 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ไม่ชำระ โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และที่ 11 ถึงที่ 17 ในฐานะทายาท ท. รับผิดชำระดอกเบี้ยในช่วงเวลาตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. จนถึงวันก่อนวันฟ้องได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 ตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ยื่นคำแก้ฎีกาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลล่างทั้งสอง ซึ่งจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ไม่ชัดเจน ศาลอนุญาตบังคับคดีได้
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์ยอมชำระเงินให้จำเลย 2,000,000 บาท โดยได้ชำระให้จำเลยไปก่อนแล้ว 300,000 บาท และจะโอนให้จำเลยตามบัญชี... ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2556 อีก 700,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้โอนขายที่ดินพิพาทแล้ว แม้โจทก์จะชำระเงินให้จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปแล้วรวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท แต่การที่โจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท นั้น มีข้อตกลงว่าโจทก์จะชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้โอนขายที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา ข้อตกลงการชำระเงินในสัญญาส่วนนี้จึงตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่โจทก์จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเสียก่อนจึงจะชำระเงินส่วนนี้ให้แก่จำเลย แต่เงื่อนไขดังกล่าวนี้มิได้กำหนดระยะเวลาว่าโจทก์จะต้องขายที่ดินพิพาทเมื่อใด ซึ่งหากโจทก์ไม่ดำเนินการจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ก็อาจไม่ต้องจ่ายเงินส่วนนี้ให้แก่จำเลย ที่โจทก์อ้างในคำแก้ฎีกาว่า ผู้ซื้อที่ดินต้องการให้โจทก์ทำการรังวัดและออกโฉนดที่ดินก่อนนั้น ก็ได้ความตามคำแก้ฎีกาของโจทก์เองว่าโจทก์เพิ่งดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมกว่า 5 ปี ส่วนที่อ้างว่าการออกโฉนดที่ดินที่ติดกับลำน้ำอิงมีข้อขัดข้องเรื่องการกำหนดแนวเขตที่ดิน จึงสามารถออกโฉนดที่ดินได้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 นั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์พยายามปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยพลัน พฤติการณ์ส่อว่าหากโจทก์ขายที่ดินพิพาทเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไม่ชักช้าอาจเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนเนิ่นนานโดยไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา กรณีจึงเป็นการไม่แน่ชัดว่าโจทก์จะสามารถขายที่ดินพิพาทได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ขายที่ดินพิพาทและจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการขายที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉย จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมได้
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อมิให้จำเลยได้รับชำระหนี้ตามที่ตกลงกัน จำเลยมีความประสงค์จะบังคับคดีเพื่อให้จำเลยได้รับชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้ศาลนัดไต่สวนคำร้องเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี หรือออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เมื่อศาลได้มีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามอำนาจหน้าที่ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีเป็นอำนาจของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น เป็นเพียงเจ้าพนักงานที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ข้อตกลงข้อ 2 ที่ระบุว่า ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการโอนให้แก่บุคคลใด เงื่อนไขระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่เริ่มนับ จะถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ได้ ให้ยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาวินิจฉัยว่าการออกหมายบังคับคดีนั้นไม่ถูกต้องและไม่ดำเนินการยึดทรัพย์ตามที่จำเลยขอบังคับคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งกระทำมิได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าหมายบังคับคดีมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ยังไม่ผิดนัดตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการทบทวนคำสั่งศาลในการออกหมายบังคับคดีจึงไม่อาจกระทำได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสีย
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อมิให้จำเลยได้รับชำระหนี้ตามที่ตกลงกัน จำเลยมีความประสงค์จะบังคับคดีเพื่อให้จำเลยได้รับชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้ศาลนัดไต่สวนคำร้องเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี หรือออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เมื่อศาลได้มีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามอำนาจหน้าที่ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีเป็นอำนาจของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น เป็นเพียงเจ้าพนักงานที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ข้อตกลงข้อ 2 ที่ระบุว่า ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการโอนให้แก่บุคคลใด เงื่อนไขระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่เริ่มนับ จะถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ได้ ให้ยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาวินิจฉัยว่าการออกหมายบังคับคดีนั้นไม่ถูกต้องและไม่ดำเนินการยึดทรัพย์ตามที่จำเลยขอบังคับคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งกระทำมิได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าหมายบังคับคดีมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ยังไม่ผิดนัดตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการทบทวนคำสั่งศาลในการออกหมายบังคับคดีจึงไม่อาจกระทำได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระชัดเจน และบริษัทลูกหนี้มีสถานะฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ได้ทันที
ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่า จำเลยผู้กู้จะชำระเงินที่กู้ยืมทั้งหมดคืนเมื่อได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการ ก็มิได้ระบุว่า การก่อสร้างโครงการเสร็จเมื่อใดและจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระหว่างก่อสร้างดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่หยุดการก่อสร้างแล้ว กรณีจึงไม่มีระยะเวลาชำระหนี้ที่กำหนดลงไว้แน่นอน ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ว่าเมื่อใดจะมีการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ และจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการเพียงพอที่จะชำระเงินที่กู้ยืมทั้งหมดคืนแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยากจะมองเห็นผลสำเร็จได้ว่าต้องใช้เวลานานเพียงใด ในเมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสัญญาหุ้นส่วน และบริษัท ธ. ที่ทั้งสองฝ่ายถือหุ้นร่วมกันเพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัว และอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การชำระเงินกู้ยืมคืนตามข้อตกลงดังกล่าวจึงถือได้ว่าไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้กันไว้แน่นอน เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ถือว่าเป็นการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมอยู่ในตัวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10651/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการถมดินเพิ่มมูลค่าที่ดินพิพาท ศาลกำหนดราคาเพิ่มและดอกเบี้ย
โจทก์ทั้งสองตกลงซื้อที่ดินกับ ส. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน และเมื่อไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก็ไม่ปรากฏว่า มีการแจ้งอายัดที่ดินดังกล่าวไว้ แม้จะมีพิรุธที่มีการจดทะเบียนการโอนจาก ส. ไปยัง ณ. ก่อน แล้วจึงโอนต่อไปให้โจทก์ทั้งสองในวันเดียวกันก็ไม่มีข้อห้ามมิให้กระทำ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องที่ส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใด การที่โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินแล้วนำมาแบ่งแยกและว่าจ้างให้ ช. ถมดินและปรับสภาพที่ดินโดยเปิดเผย จึงไม่อาจฟังว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยรู้เห็นที่โจทก์ทั้งสองถมดินในที่ดินแล้วไม่ขัดขวางหรือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า ที่ดินมีข้อโต้แย้งฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ ก็ยังไม่อาจถือว่า จำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตเช่นกัน
การที่จำเลยได้ที่ดินมาเป็นของตนตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยได้ดินที่โจทก์ทั้งสองถมไว้โดยสุจริตไปด้วย อันทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยต้องคืนดินที่ถมให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปีเศษ ดินที่นำมาถมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 จึงไม่อาจคืนดินที่ถมได้ เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยคืนดิน แต่ขอให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการถมดินและปรับปรุงที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เสียไปอันทำให้ที่ดินของจำเลยมีราคาขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 417 ที่บัญญัติให้โจทก์ทั้งสองเรียกจากจำเลยได้เพียงราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงสถานที่ตั้งของที่ดิน เนื้อที่ดิน ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจ และราคาซื้อขายที่ดินในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีแล้ว เห็นควรกำหนดให้จำเลยใช้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,200,000 บาท
หนี้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้เรียกให้จำเลยใช้เงินในกรณีนี้แก่โจทก์ทั้งสองในวันใด จึงต้องถือว่า วันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้จำเลยใช้เงินดังกล่าว แต่จำเลยไม่ใช้ให้ อันเป็นเหตุให้จำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยได้ที่ดินมาเป็นของตนตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยได้ดินที่โจทก์ทั้งสองถมไว้โดยสุจริตไปด้วย อันทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยต้องคืนดินที่ถมให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปีเศษ ดินที่นำมาถมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 จึงไม่อาจคืนดินที่ถมได้ เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยคืนดิน แต่ขอให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการถมดินและปรับปรุงที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เสียไปอันทำให้ที่ดินของจำเลยมีราคาขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 417 ที่บัญญัติให้โจทก์ทั้งสองเรียกจากจำเลยได้เพียงราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงสถานที่ตั้งของที่ดิน เนื้อที่ดิน ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจ และราคาซื้อขายที่ดินในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีแล้ว เห็นควรกำหนดให้จำเลยใช้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,200,000 บาท
หนี้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้เรียกให้จำเลยใช้เงินในกรณีนี้แก่โจทก์ทั้งสองในวันใด จึงต้องถือว่า วันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้จำเลยใช้เงินดังกล่าว แต่จำเลยไม่ใช้ให้ อันเป็นเหตุให้จำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เงิน - การสะดุดหยุดของอายุความจากการชำระดอกเบี้ย - การฟ้องข้ามอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ดังนี้ ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ย่อมเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้หาถือว่าเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน เจ้าหนี้ฟ้องได้ & คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้
สัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ข้อ 1 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว" ข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้เห็นได้ว่า หนี้ตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนไขให้จำเลยต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนที่แบ่งแยกเป็นของจำเลยได้ก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกหนี้ได้ทันที
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงในสัญญาระบุว่า "ข้อ 1 ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ข้อ 2 ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5027 ระวางที่ เลขที่ดิน 329 หน้าสำรวจที่ 943 ตำบลบางแค (บางเชือกหนังฝั่งใต้) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามจำนวนที่ดินที่แบ่งแยกโดยประมาณ 4 ไร่ เรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง แต่การกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จสิ้นแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใด เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัด ผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย และดอกเบี้ยจากสัญญาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงกับโจทก์ว่า จะจัดซ่อมรถให้เสร็จภายใน 20 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ แต่จำเลยซ่อมไม่เสร็จ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาการซ่อม และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำการซ่อมรถยนต์ให้เป็นที่เรียบร้อยใช้การได้ดีเหมือนเดิม เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยครบถ้วน ไม่ได้ผิดสัญญา ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เฉพาะว่า จำเลยได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่จัดซ่อมรถคันพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ซ่อมรถให้เสร็จภายใน 20 วัน นับแต่วันเกิดเหตุตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้ด้วยคำสั่งของศาลชั้นต้นในการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ ประเด็นข้อพิพาทจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาซ่อมรถกับโจทก์หรือไม่จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารถแท็กซี่ที่โจทก์ฟ้องเรียกโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันภัย และเป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ แม้ตามป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ซ่อมรถและเรียกให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดศาลก็ชอบที่จะกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยซ่อมรถล่าช้า ทำให้ราคารถยนต์ต่ำลงเนื่องจากรัฐบาลประกาศลดการเก็บภาษีรถยนต์นั้น เป็นการอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถไม่เสร็จภายในกำหนด เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถกับโจทก์หรือไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนนี้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันภัย และเป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ แม้ตามป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง โจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ซ่อมรถและเรียกให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดศาลก็ชอบที่จะกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยซ่อมรถล่าช้า ทำให้ราคารถยนต์ต่ำลงเนื่องจากรัฐบาลประกาศลดการเก็บภาษีรถยนต์นั้น เป็นการอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถไม่เสร็จภายในกำหนด เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถกับโจทก์หรือไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัด ประเด็นสัญญาซ่อมรถไม่ถูกยกขึ้นพิจารณา ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะจัดซ่อมรถให้เสร็จภายใน20วันนับแต่วันเกิดเหตุแต่จำเลยซ่อมไม่เสร็จโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาการซ่อมและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำการซ่อมรถยนต์ให้เป็นที่เรียบร้อยใช้การได้ดีเหมือนเดิมเป็นการปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยครบถ้วนไม่ได้ผิดสัญญาซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เฉพาะว่าจำเลยได้ปฎิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่จัดซ่อมรถคันพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เท่ากันมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ซ่อมรถให้เสร็จภายใน20วันนับแต่วันเกิดเหตุตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้ด้วยคำสั่งของศาลชั้นต้นในการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาโจทก์มิได้โต้แย้งไว้ประเด็นข้อพิพาทจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถกับโจทก์หรือไม่จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารถแท็กซี่ที่โจทก์ฟ้องเรียกโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันภัยและเป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203วรรคหนึ่งโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ซ่อมรถและเรียกให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดศาลก็ชอบที่จะกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องได้ โจทก์เรียกค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยซ่อมรถล่าช้าทำให้ราคารถยนต์ต่ำลงเนื่องจากรัฐบาลประกาศลดการเก็บภาษีรถยนต์นั้นเป็นการอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถไม่เสร็จภายในกำหนดเมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาซ่อมรถกับโจทก์หรือไม่จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การคิดดอกเบี้ย - ทวงถามหนี้ - อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พ. ทำสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อโจทก์โดยมิได้ตกลงให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราเท่าใดและไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของ พ. โดยในสัญญาค้ำประกันมิได้ระบุกำหนดเวลาชำระหนี้เช่นกัน ดังนี้ โจทก์จะต้องทวงถามจำเลยก่อน หากจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้และคิดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น