พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินจากอุบัติเหตุทางสัญญารับขน
ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสารไม่ได้กำหนดไว้ว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสารจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินจากการประสบอุบัติเหตุ
เมื่อ ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งก็ย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนคนโดยสาร: ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายทางร่างกาย มิใช่เฉพาะความเสียหายทางการเงิน
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยทนายจำเลยลงชื่อรับรองไว้ท้ายฎีกาว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยและสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันเดียวกับที่จำเลยยื่นฎีกา จึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246, 247
ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102-1103/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสิทธิคืนสู่ฐานะเดิม เบี้ยปรับลดได้
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องใช้คืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยไปแล้วให้แก่โจทก์ แต่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้ในสัญญาให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วโดยไม่ต้องใช้คืนข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจปรับลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ประเด็นเวลาการยื่นคำร้อง, การแจ้งวันนัด, และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม บัญญัติว่า "การยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น..." และมาตรา 296 วรรคสี่ บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้...(2) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ใช้เงินเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามมาตรา 318 มาตรา 319 มาตรา 320 มาตรา 321 หรือมาตรา 322 แล้วแต่กรณี..." ตามบทบัญญัติมาตรา 296 วรรคสามและวรรคสี่ดังกล่าวบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีในการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยสามารถยื่นคำร้องได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ซึ่งสำหรับในกรณีการยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้นั้นการจะถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
จำเลยที่ 1 อ้างว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นบ้านร้าง แต่ตามข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งย้ายทางทะเบียนจากบ้ายเลขที่ 105 หมู่ 6 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาในขณะที่ถูกโจทก์ยื่นฟ้องไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 58/2 เมื่อปี 2545 ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งให้โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะปิดบังภูมิลำเนาที่แท้จริงของตนเองเพื่อให้เกิดความยุ่งยากในการบังคับคดี กรณีจึงต้องถือว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำประกาศขายทอดตลาดไปปิดไว้ที่บ้านเลขที่ 58/2 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบวันนัดขายทอดตลาดที่ระบุไว้ในประกาศขานทอดตลาดโดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 อ้างว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นบ้านร้าง แต่ตามข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งย้ายทางทะเบียนจากบ้ายเลขที่ 105 หมู่ 6 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาในขณะที่ถูกโจทก์ยื่นฟ้องไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 58/2 เมื่อปี 2545 ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งให้โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะปิดบังภูมิลำเนาที่แท้จริงของตนเองเพื่อให้เกิดความยุ่งยากในการบังคับคดี กรณีจึงต้องถือว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำประกาศขายทอดตลาดไปปิดไว้ที่บ้านเลขที่ 58/2 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบวันนัดขายทอดตลาดที่ระบุไว้ในประกาศขานทอดตลาดโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่างานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านเป็นสำคัญ แต่ถือเอาการก่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าบ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 387 เมื่อปรากฎว่าจำเลยขายบ้านไปแล้ว และโจทก์ก็ไม่ประสงค์จะซื้อบ้านอีกต่อไป สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันและต่างฝ่ายต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตามมาตรา 391 วรรคสอง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องฟ้องเคลือบคลุม/ผิดสัญญา & คำให้การขาดอายุความไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยมิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 2 ปี และ 5 ปี นับแต่วันชำระเงินครบถ้วน โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 2 ปี และ 5 ปี นับแต่วันชำระเงินครบถ้วน โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางออกอื่นก็ไม่กระทบสิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเท่านั้น จะเรียกร้องเอาทางเดินผ่านจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ทั้งกฎหมายก็หาได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และบริวารจะได้ใช้ที่ดินของ บ. เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 1350 ดังกล่าวหมดไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น แม้มีทางออกอื่น สิทธิยังคงอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ป.พ.พ. มาตรา 1350 ไม่ได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้ แม้โจทก์ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1350 หมดไปโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15221/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ชัดเจน: ศาลตีความเอื้อประโยชน์ผู้ค้ำประกัน โดยเทียบกับวงเงินที่ระบุในสัญญาอื่น
เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้ง ๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด