คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดิเรก อิงคนินันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ กรณีรถหายจากการโจรกรรม ศาลฎีกาพิจารณาความระมัดระวังตามวิญญูชน
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากรถยนต์คันพิพาทไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับคนทั่วๆ ไปในภาวะเช่นนั้นว่าควรจะพึงใช้ความระมัดระวังเช่นไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าอู่ซ่อมรถของจำเลยโดยได้ล็อกประตูและล็อกพวงมาลัยรถยนต์คันพิพาท ส่วนตัวจำเลยก็นอนอยู่ภายในอู่ดังกล่าว เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์รถดังขึ้นก็ได้ลุกขึ้นดู ปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทหายไปก็ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาทราบและออกติดตามคนร้ายกับเจ้าพนักงานตำรวจด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นแล้ว
อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9836/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของตัวการและผู้ใช้ในการทำร้ายร่างกาย: การสนับสนุนการกระทำผิดตาม ม.86
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 2 ร้องตะโกนว่า "เอาเลย" แล้วจำเลยที่ 1 จึงเตะผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 2 ยุยงส่งเสริมเป็นผู้ใช้หรือก่อให้จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตาม ป.อ. มาตา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การร้องบอกของจำเลยที่ 2 ที่ว่าเอาเลยหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็เตะผู้เสียหายทันที จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9075/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้เป็นการบังคับคดีโดยบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ซึ่งเป็นการร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้จะถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ค) (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการฟ้องบังคับจำนองโดยวิธีทั่วไป เพราะทรัพย์จำนองดังกล่าวได้ถูกโจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ไว้แล้ว และแม้โจทก์กับผู้ร้องจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่การที่ผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้จำนอง เป็นการร้องขอเข้ามาตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ในฐานะที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ร้องมิได้ขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับแต่วันทวงถามหนี้ ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อพ้นกำหนด
คำให้การของจำเลยทั้งห้านอกจากจะให้การปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยทั้งห้ายังได้อธิบายถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความไว้ด้วยว่า ตามภาระหนี้ต้นเงินโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเกินกว่า 3 ปี และในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งห้าก็เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงอย่างเดียว จำเลยทั้งห้าก็ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไร
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดวันชำระต้นเงินเมื่อทวงถามตาม ป.พ.พ. มาตรา 913 (3) ประกอบกับมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับเมื่อเจ้าหนี้เดิม หรือโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2539 ว่าเจ้าหนี้เดิมส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ได้มีการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และแม้คดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ผู้รับชำระจะคำนวณดอกเบี้ยเอง ผู้ชำระไม่ถือว่าชำระหนี้โดยไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้แก่ธนาคาร ธนาคารหรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้นำไปหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่ธนาคารหรือโจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับธนาคารเป็นสถาบันการเงินอันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ย่อมมีเหตุที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าธนาคารหรือโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นเป็นการกระทำการที่ตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8713/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การออก น.ส.3ก. ตามข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของสิทธิ การโอนสิทธิที่ดินคืน
การที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้วยนั้น เป็นการออกตามข้อเท็จจริงที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปแจ้งต่อทางราชการเพื่อดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กรณีจึงมิใช่เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ดินพิพาทนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไข เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของโจทก์คืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทนอกประเด็นในคำให้การ ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยต้องเข้าปฏิบัติงานภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 แต่จำเลยไม่เข้าปฏิบัติงานภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้จำเลยเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไปดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จึงมีเพียงว่าข้อตกลงที่มีต่อกันกำหนดให้จำเลยต้องเริ่มปฏิบัติงานภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หรือไม่ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับงานฐานรากให้แล้วเสร็จเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจเข้าปฏิบัติงานภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2544 ได้ จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของจำเลยและมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ: การขาดการจดบันทึกการนั่งพิจารณาและการพิจารณาพยานหลักฐานโดยไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ กำหนดนัดพิจารณาให้โจทก์จำเลยมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยาน ก่อนถึงกำหนดนัด ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดโจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาล 14 ฉบับ แล้ววันเดียวกันนั้น ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นมิได้จดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาว่ามีคู่ความฝ่ายใดมาศาลบ้าง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ทั้งไม่ปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาดังกล่าว จำเลยที่ 2 มาศาลหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดดังกล่าวให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การด้วย อันเป็นเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ตามมาตรา 204 กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ตามมาตรา 206 วรรคสอง ประกอบมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม การพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะสามารถอ้างส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายที่ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (1) (2), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลา หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ระงับ
คำร้องขอขยายระยะเวลาของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกเหนือจากคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ผู้ร้องจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เว้นแต่ผู้ร้องจะไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ การที่ทนายผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องฉบับดังกล่าวเพื่อให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 กรณีย่อมต้องถือว่า ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 4 วัน ผู้ร้องย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
of 110