พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้จากการบริการฟื้นฟูกิจการต้องมีความเกี่ยวข้องกับแผนเพื่อได้รับสิทธิพิเศษ
การขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ส่วนที่ 11 นั้น หากเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 94 (2) แต่หนี้ดังกล่าวจะจัดอยู่ในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 130 (2) ได้ก็ต่อเมื่อเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคสาม
หนี้ค่าบริการและค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ผู้บริหารแผนได้ตกลงว่าจ้างเจ้าหนี้ให้สอบทานความถูกต้องของระบบการรับ - จ่าย เงินสด งบกระแสเงินสด และบัญชีการเงินกับต้นทุน ของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น ไม่ปรากฏมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไรบ้าง จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130 (2) ประกอบมาตรา 90/77 วรรคสาม
หนี้ค่าบริการและค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ผู้บริหารแผนได้ตกลงว่าจ้างเจ้าหนี้ให้สอบทานความถูกต้องของระบบการรับ - จ่าย เงินสด งบกระแสเงินสด และบัญชีการเงินกับต้นทุน ของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น ไม่ปรากฏมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไรบ้าง จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130 (2) ประกอบมาตรา 90/77 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8716/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายจากหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 การที่โจทก์ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี และได้นำเงินมาชำระหนี้บางส่วนนั้น โจทก์ก็ต้องร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เหลือภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิบังคับคดี เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอภายในกำหนดดังกล่าว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่เหลือ ทั้งการกระทำดังกล่าวไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) เมื่อโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และอายุความฟ้องร้อง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ และ พ. เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ พ. ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลย แม้จำเลยจะรับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า พ. ผู้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 96 จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก พ. จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนหรือนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 วรรคสอง และมาตรา 1375 วรรคสอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 96 จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก พ. จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนหรือนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 วรรคสอง และมาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัท บ. สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมิใช่สิทธิเรียกร้องของโจทก์อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากที่โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาระจำยอมคลาดเคลื่อนและการเพิกถอนตามกฎหมายที่ดิน ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่มีอำนาจเพิกถอนและขาดคู่ความ
โจทก์ฟ้องขอให้กรมที่ดินจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานที่ดิน จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากข้อตกลงของโจทก์และเจ้าของสามยทรัพย์ที่ประสงค์จะจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินกลับจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินแทน แต่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกหรือเพิกถอนภาระจำยอม จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่จำเลยผิดนัดตามสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 กำหนดไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดหรือเดือนหนึ่งเดือนใด ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับได้ทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ภายในกำหนดวันที่ 15 มิถุนายน 2538 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ทันทีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2538 มิใช่เริ่มนับในวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันถัดจากวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์งวดแรกตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 พ้นกำหนด 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คหลังสลักหลังโอน และคำให้การขัดแย้ง
เช็คพิพาททั้งสองฉบับระบุจ่ายชื่อโจทก์หรือผู้ถือ จึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาททั้งสองฉบับในขณะที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าโจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ธนาคาร ม. ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้กลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครองของโจทก์อีกในฐานะเป็นผู้รับเงิน โจทก์ย่อมกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายอีกครั้งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 904
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยต้องระบุเวลาเกิดเหตุ โจทก์มีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์เวลา
ตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์นั้นมีความหมายว่าเหตุลักทรัพย์เกิดระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงของวันที่ 22 มกราคม 2545 ถึงเวลากลางวันของวันเดียวกัน โดยมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 มาด้วย ตามคำฟ้องโจทก์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์นั้นจึงอาจเป็นเวลากลางคืนก่อนเที่ยง หรือเวลากลางวันก็ได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ระบุว่าลักทรัพย์ในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ในเวลาใดแน่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่น & ค่าใช้ที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ, การครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทได้ไม่ต้องรื้อถอนบ้านที่ปลูกรุกล้ำที่ดินพิพาท คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะได้กล้าวอ้างเป็นประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมามิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้อุทธรณ์ ประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงยุติถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ เพียงแต่จำเลยคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปเท่านั้น การที่จำเลยครอบครองบ้านดังกล่าวย่อมเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ค่าใช้ที่ดินจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4722/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานกระทำให้ผู้อื่นตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญ และการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญตาม ป.อ. มาตรา 392 ด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรานี้แต่กลับกำหนดโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในส่วนที่กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ถูกมาตรา 392 ด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 392 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 ให้ลงโทษฐานกระทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจกลับโดยการขู่เข็ญ อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90