คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดิเรก อิงคนินันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอม, การละเมิด, ค่าเสียหาย: การปิดกั้นทางก่อนสร้างทางใหม่
การที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. กับ ว. คู่ความในคดีเดิมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อพิพาทที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ จึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทางพิพาทจึงไม่ใช้ทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อีกต่อไปแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้ถนนในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้โจทก์จะใช้เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
ผลแห่งคำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. จะต้องยินยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนทุกสายที่มีอยู่ในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด โดยให้ใช้ได้อย่างทางภาระจำยอม บุคคลที่รับโอนที่ดินมาจากหางหุ้นส่วนจำกัด ม. ถือได้ว่าเป็นคู่ความแทนห้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนที่ดินที่มีทางพิพาทอยู่ จึงต้องผูกพันยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนที่มีอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้อย่างทางภาระจำยอมด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าทางพิพาท เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์คือทางหรือถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้น มิใช่ทางพิพาท ศาลก็มีอำนาจพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ขอมาท้ายคำฟ้อง
แม้ทางพิพาทจะมิใช้ทางภาระจำยอม แต่โจทก์และบริวารก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดเพราะยังไม่มีทางอื่น การที่จำเลยที่ 1 นำดินมาปิดกั้นทางพิพาทและขุดรื้อทางพิพาทออกโดยยังไม่จัดทำถนนเส้นใหม่เพื่อให้โจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ และถือเป็นการละเมิดสิทธิการใช้ทางพิพาทต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีทางพิพาทต้องจำยอมให้โจทก์และบริวารของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ถนนสายบางนา-ตราด เท่านั้น บุคคลอื่นที่มิใช่บริวารของโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางพิพาท แม้จะทำให้บุคคลภาคนอกไม้เข้ามาใช้บริการโรงแรมและร้านอาหารของโจทก์ หรือเข้ามาใช้บริการน้อยลงเพราะไม่สะดวกในการใช้ทาง ก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงที่โจทก์และบริวารไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าออกถนนสายบางนา-ตราด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บสท. ต้องส่งคำร้องให้ลูกหนี้คัดค้านก่อน แม้มีอำนาจพิเศษตาม พ.ร.ก. บสท.
แม้ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มาตรา 58 วรรคสี่ บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ผู้ร้องมีสิทธิดำเนินกระบวนการพิจารณากับลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ผู้ร้องรับโอนมาโดยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ทั่วไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดโดยทันทีแต่อย่างใด
เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือและสำเนาใบตอบรับเอกสารท้ายคำร้องแล้วว่า ก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ผู้ร้องส่งหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้มาเสนอแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้กับผู้ร้องไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้จำนวน 2 ครั้ง มีเพียงพนักงานรักษาความปลอดภัยของอาคารเป็นผู้รับแทน ส่วนสำนักงานที่ทำการของลูกหนี้ตั้งอยู่เฉพาะชั้นที่ 6 กรณีจึงยังไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังยุติเพื่อให้ได้ความแน่ชัดแล้วว่าลูกหนี้ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วเพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ การที่ศาลล้มละลายกลางตรวจพิจารณาคำร้องของผู้ร้องแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดทันทีโดยมิได้กำหนดนัดไต่สวนคำร้องและส่งสำเนาคำร้องเพื่อให้โอกาสลูกหนี้ได้คัดค้านก่อนนั้น จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มาตรา 58 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9109/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต องค์ประกอบความผิด และการพิจารณาโทษ
องค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 คือ การมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ดังนั้น การที่จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนคนละขนาดกับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและจะใช้ด้วยกันได้หรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8635/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกและการพิจารณาเงื่อนไขคุมประพฤติ รวมถึงเหตุร้ายแรงของการมีอาวุธปืนโดยไม่ชอบ
การคุมประพฤติโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย แม้จำเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นได้ ทั้งอาวุธปืนของกลางก็ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากมีการนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมากหลายรูปแบบนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่า จำเลยไม่เคยใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้ใด จำเลยไม่ได้นำอาวุธปืนของกลางไปทำร้ายผู้ใด จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การใช้มีดป้องกันการถูกยิงเป็นเหตุชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้เสียหายมีสาเหตุขุ่นข้องหมองใจกันจนต่างฝ่ายต่างหวาดระแวงว่าอีกฝ่ายจะมาทำร้ายตน ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้เสียหายเรียกชื่อจำเลยและชักอาวุธปืนออกมาจากเอว วิญญูชนเช่นจำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายจะใช้อาวุธปืนนั้นยิงจำเลย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตาม ป.อ. มาตรา 68 แล้ว การที่จำเลยหยิบอาวุธมีดพร้าที่วางอยู่พื้นถนนซึ่งเป็นของบุคคลอื่นฟันทำร้ายผู้เสียหายไปเพียงครั้งเดียวแล้ววิ่งหลบหนีไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ยินยอม แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ศาลลงโทษตามบทมาตรา 319 วรรคหนึ่ง
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมนั้น จำเลยมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดาและผู้ปกครองดูแลผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการล้มละลาย
คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การโต้แย้งว่าหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2), 1080 และมาตรา 1087 เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด คดีถึงที่สุดแล้วตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่าตนเองมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอีกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์มีจำนวน 5,813,980.32 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีย่อมมีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญแชร์ และความรับผิดชอบในการคืนเงินให้แก่ลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้รับเงิน
ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาวงแชร์ นายวงแชร์มีหน้าที่คืนเงินให้ลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจนกว่าจะได้รับเงินครบ
ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยในฐานะนายวงแชร์จึงยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินที่ลูกแชร์ผู้ประมูลได้แล้วคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ประมูลจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินคืนไม่ครบจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในเคหสถานโดยได้รับเชิญจากบุตรสาวของผู้เสียหาย ไม่ถือเป็นการบุกรุก
จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยการเชิญชวนของ ส. บุตรสาวของผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะมิได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปในบ้านก็ตาม แต่จำเลยก็ได้รับอนุญาตจากบุตรสาวของผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้านดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งมิใช่เป็นการเข้าไปเพื่อกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362, 364
of 110