พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: การให้การรับสารภาพต้องนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดอื่นหรือยึดยาเสพติดเพิ่ม
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน โดยซัดทอดว่าได้ร่วมกระทำความผิดกับ อ. หรือจำเลยที่ 2 และต่อมาภายหลังเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ให้การในรายละเอียดของคดีเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ เป็นการจับกุมในคดีเดียวกันกับที่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งโจทก์มีพยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อยู่แล้ว การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษอีกจำนวนหนึ่งโดยไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางคดีนี้ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341-6342/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะวิกฤติทางธุรกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ปกติที่นายจ้างไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงในการประกอบกิจการ แต่หากนายจ้างต้องประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงถึงขั้นความอยู่รอดของกิจการ นายจ้างก็มีสิทธิอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงเคราะห์กรณีตาย: ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา หมายความถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงเคราะห์: ทายาทตามกฎหมายเท่านั้น
คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 หมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วย เมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน และมิใช่เป็นทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ: 'ทายาท' ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (1) บัญญัติว่า การจ่ายเงินค่าทำศพให้จ่ายแก่ "บุคคล" ตามลำดับดังนี้... มาตรา 73 (2) การจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายแก่ "บุคคล"... มาตรา 75 จัตวา การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแก่ "บุคคล" ตามลำดับ ดังนี้ แต่ในมาตรา 77 จัตวา บัญญัติว่า "ทายาท" ของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ "ทายาท" ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้แก่ (1) (2) (3)... เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวใช้คำว่า "บุคคล" กับ "ทายาท" แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้มีความแตกต่างกัน และคำว่า "ทายาท" ซึ่งเป็นถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "ทายาท" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกรณีนี้ก็คือบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า "ทายาท" อยู่ในมาตรา 1659, 1603 โดยคำว่า "ทายาท" ในบทบัญญัติดังกล่าวนี้หมายถึงเฉพาะทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา จึงต้องหมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วยแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของอู่ซ่อมรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครอง และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
รถยนต์กระบะคันพิพาทเข้าซ่อมที่อู่ของจำเลยที่ 2 และในระหว่างที่ทำการซ่อมรถยนต์ได้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่ารถยนต์กระบะพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องเก็บรักษารถยนต์กระบะคันพิพาทไว้ในที่ปลอดภัยในระหว่างการซ่อม ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหายหรือเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์กระบะคันพิพาทไปจอดไว้บริเวณที่ว่างหน้าอู่โดยไม่มีรั้วรอบขอบชิดอันเป็นเครื่องป้องกันการเคลื่อนย้ายรถยนต์และไม่ได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษารถยนต์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อรถยนต์คันพิพาทหายไปจำเลยที่ 2 ก็ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ช. เจ้าของรถยนต์กระบะคันพิพาทเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์กระบะคันพิพาทหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของตน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนับได้ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหาย การปฏิบัติต่อลูกค้าของจำเลยที่ 2 ในการนำรถยนต์ที่นำมาซ่อมแล้วไม่เสร็จจอดไว้บริเวณหน้าอู่ มิได้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์สูญหายแต่อย่างใดและการที่ไม่เคยมีรถยนต์สูญหายหรือได้รับความเสียหายมิได้เป็นหลักประกันว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173-228/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะนายจ้าง: หลักตัวแทนและการผูกพันของตัวการ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ซึ่งความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน มาตรา 820 มีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9725/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนเด็กและการพรากผู้เยาว์: อำนาจปกครองมารดาและการกระทำอนาจาร
เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะและพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยดึงผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปในห้องพักของจำเลยแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 รวม 2 ครั้ง เป็นการกระทำอันมีเจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แล้ว เพราะจำเลยนำสืบรับว่ามีบุตรและภริยาอยู่แล้ว ย่อมไม่อยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร รวม 2 กระทง ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำของโรงเรียนที่เกิดเหตุระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกิจธุระจึงให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยนั้น จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันจะเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 คงมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยในครั้งนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความล่าช้าในการส่งเอกสารบัญชี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ส่งมอบงบการเงินกับเอกสารทางบัญชีอื่น สำหรับรอง 6 เดือนแรกของปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของจำเลยให้ ท. หรือ ช. รองกรรมการผู้จัดการของจำเลยภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และส่งมอบให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของ บริษัท ด. ในวันที่ 4, 5, 6 ธันวาคม 2551 โจทก์ทราบคำสั่งแล้วแต่เพิกเฉย อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจงใจให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าจ้างที่บริษัท ด. ต้องเข้ามาตรวจสอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 และค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับบัญชีให้แก่ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิจารณาคดีแรงงานและการชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณา ซึ่งจะต้องนั่งพิจารณาคดีไปจนเสร็จสิ้นการพิจารณาคดี เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้องค์คณะผู้พิจารณาคดีไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจะนั่งพิจารณาคดีแทน หรือมอบหมายให้ผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปก็ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 20 บัญญัติว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบคนอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ ประกอบกับโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ทั้งล่วงพ้นเวลาโต้แย้งคัดค้านแล้ว และมิได้มีคำขอให้ศาลแรงงานกลางรอการพิจารณาไว้ก่อนเพื่อให้มีการปฏิบัติในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจศาลในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางดังกล่าว การพิจารณาคดีนี้จึงเป็นการชอบแล้ว และเมื่อการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จึงมีอำนาจทำคำพิพากษาต่อไปได้ คำพิพากษาคดีนี้จึงชอบแล้วเช่นกัน