พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,094 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ขนทรัพย์หลังลักทรัพย์สำเร็จ ไม่ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง กรณีที่มียานพาหนะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดสามกรณีคือ ผู้กระทำความผิดใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น มิใช่บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสองกับพวกลักทรัพย์ลวดทองแดงสำเร็จแล้ว จึงนำลวดทองแดงของผู้เสียหายที่ลักมาซุกซ่อนบรรทุกในรถกระบะของกลางพาลวดทองแดงนั้นไป รถกระบะของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องยาวนานทำให้มีสิทธิในที่ดิน แม้มีการออกโฉนดไม่ชอบ
การครอบครองที่จะให้ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ ทั้งจะต้องเป็นการครอบครองในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของผู้อื่น กล่าวคือ เจ้าของเดิมจะต้องยังคงมีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินนั้น ๆ ถ้าไม่มีสิทธิหรือสิทธิที่มีอยู่สิ้นไปแล้ว การที่คนใหม่เข้ามาใช้สิทธิครอบครองในทรัพย์สินแทน ก็หาใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ไม่
ถ. และ ส. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องบรรยายคำร้องขอโดยยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นนี้ ผู้ร้องก็ไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
ถ. และ ส. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องบรรยายคำร้องขอโดยยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นนี้ ผู้ร้องก็ไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นโมฆะ แม้มีสัญญาซื้อขายและทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า สัญญาจะซื้อจะขายในส่วนของที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นโมฆะเนื่องจากที่ดินสาธารณประโยชน์ไม่อาจซื้อขายกันได้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ได้ตกเป็นโมฆะตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขและวินิจฉัยไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นที่ชายตลิ่งที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การมีหรือการได้สิทธิครอบครองในที่ดินจึงต้องอาศัยการยึดถือครอบครองตามความเป็นจริง หาอาจโอนกันได้ดังเช่นสิทธิครอบครองที่รัฐให้การรับรองสิทธิแล้วไม่ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนดังกล่าวได้ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าวได้เช่นกัน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงฐานลาภมิควรได้นั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องลาภมิควรได้และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ได้
สำหรับที่โจทก์ขออ้างส่งสำเนาคำฟ้อง แผนที่วิวาท สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 556/2560 ของศาลชั้นต้นเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นพยานเพิ่มเติมนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ขอให้ใช้ประกอบดุลพินิจของศาลฎีกาในข้อที่โจทก์ฎีกาว่า สิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณประโยชน์สามารถโอนให้แก่กันได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ต้องขออนุญาตระบุเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกา
ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นที่ชายตลิ่งที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การมีหรือการได้สิทธิครอบครองในที่ดินจึงต้องอาศัยการยึดถือครอบครองตามความเป็นจริง หาอาจโอนกันได้ดังเช่นสิทธิครอบครองที่รัฐให้การรับรองสิทธิแล้วไม่ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนดังกล่าวได้ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าวได้เช่นกัน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงฐานลาภมิควรได้นั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องลาภมิควรได้และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ได้
สำหรับที่โจทก์ขออ้างส่งสำเนาคำฟ้อง แผนที่วิวาท สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 556/2560 ของศาลชั้นต้นเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นพยานเพิ่มเติมนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ขอให้ใช้ประกอบดุลพินิจของศาลฎีกาในข้อที่โจทก์ฎีกาว่า สิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณประโยชน์สามารถโอนให้แก่กันได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ต้องขออนุญาตระบุเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินมีเงื่อนไข เมื่อผู้รับบริจาคไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
หนังสือแสดงความประสงค์เรื่อง การอุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้บริจาคกับจำเลยในฐานะผู้รับบริจาค แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าว เมื่อการยกให้ แก่จำเลยเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจะตกเป็นของทางราชการและตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ต่อเมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมและอายุความ แม้ยังมิได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันกับผู้รับโอนที่ดิน
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินของ ส. และ ต. ภายหลังแบ่งแยก ต. ผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์ตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของ ต. เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ซึ่งโจทก์และบริวารก็ได้ใช้ทางพิพาทดังกล่าวตลอดมา การตกลงกันดังกล่าวถือเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ต. หรือโดยวิสาสะไม่ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยนิติกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ทางภาระจำยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็อาจได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมซึ่งต้องพิจารณาจากการใช้ว่า เป็นการใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อ ต. เจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาทคนเดิมและเจ้าของที่ดินคนต่อ ๆ มาหรือไม่
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมตลอดมา เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เมื่อเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมแล้ว แม้จะเป็นการได้ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ก็ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะยกเรื่องการรับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมตลอดมา เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เมื่อเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมแล้ว แม้จะเป็นการได้ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ก็ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะยกเรื่องการรับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางในที่ดินนิคมสร้างตนเอง การกระทำละเมิดต่อสิทธิสมาชิกนิคม
ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ จึงเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน ซึ่งแม้จำเลยจะมีสิทธิครอบครองแต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งกำหนดให้รัฐจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นมาเพื่อให้ราษฎรมีที่ดินทำการเกษตรและตั้งเคหสถานบ้านเรือน โดยรัฐจะเข้าไปจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลง ๆ และช่วยเหลือส่งเสริมให้ทำการเกษตรในแปลงที่ดินที่จัดให้มีประสิทธิภาพ การที่จำเลยซึ่งครอบครองทำประโยชน์อยู่ในที่ดินส่วนที่เป็นที่ตั้งทางพิพาทไม่ยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อไปทำการเกษตรในที่ดินที่ทางราชการจัดให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง และการจัดแปลงที่ดินในเขตนิคมที่ประสงค์จะให้สมาชิกของนิคมได้ใช้ประโยชน์ในแปลงที่ดินที่ทางนิคมจัดให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ต้องมีมอบอำนาจชัดเจน หากไม่มี ศาลต้องสั่งแก้ไขก่อน
การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ทนายความต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ว. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยใบแต่งทนายความมิได้ระบุให้ ว. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียว เป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยความยุติธรรม แต่เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับหลังโจทก์ได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ในชั้นฎีกานี้แล้วจึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในชั้นยื่นคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเมื่อมีข้อตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับเหมาช่วงฯ อันเป็นการฟ้องให้รับผิดในมูลสัญญา มิใช่ร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด หรือขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 6 และหมวด 7 ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณีเท่านั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
การที่โจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาตกลงที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยการเจรจาและกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญารับเหมาช่วงฯ โดยทางศาล เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คำว่า "may" ในสัญญาข้อ 19.2.1 มีความหมายในทางกำหนดให้คู่สัญญาต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น
การที่โจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาตกลงที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยการเจรจาและกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญารับเหมาช่วงฯ โดยทางศาล เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คำว่า "may" ในสัญญาข้อ 19.2.1 มีความหมายในทางกำหนดให้คู่สัญญาต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193-5208/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประมูลซื้อห้องชุดต้องรับผิดภาระหนี้ค่าส่วนกลางและเบี้ยปรับที่ค้างอยู่ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ แม้ทราบก่อนแต่ไม่โต้แย้งถือเป็นการสละสิทธิ
โจทก์เป็นผู้เข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาทต้องผูกพันตามเงื่อนไขการเข้าสู้ราคา ข้อสัญญาและคำเตือนผู้ซื้อที่กำหนดไว้ในประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อตามประกาศขายทอดตลาดได้ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้ว่า ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบภาระหนี้สินก่อน และผู้ซื้อได้จะต้องเป็นผู้ชำระหนี้สินค้างชำระต่อนิติบุคคลอาคารชุดก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18, 29 และ 41 โจทก์จึงต้องผูกพันตามเนื้อความดังกล่าวในอันที่จะต้องชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระอยู่ก่อนและในวันที่โจทก์เข้าประมูล รวมทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ประมูลซื้อห้องชุดพิพาทได้ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้โดยไม่เสนอจะชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 หาได้ไม่
แม้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 (เดิม) ไม่ได้บัญญัติให้เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มอันเนื่องมาจากเจ้าของร่วมผิดนัดไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในกำหนด เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่เมื่อพิจารณาจากข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่กำหนดให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มจากเจ้าของร่วมก็ต่อเมื่อเจ้าของร่วมผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกำหนด เงินในส่วนนี้จึงเป็นลักษณะของการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ชอบที่จะคิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มจากโจทก็ได้
โจทก์ทราบถึงภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เจ้าของห้องชุดพิพาท คนเดิมค้างชำระตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท การที่โจทก์ยังคงเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าขณะเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท โจทก์ได้โต้แย้งว่าหนี้ในส่วนนี้ขาดอายุความ ย่อมถือว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แล้ว โจทก์จะยกเรื่องหนี้ขาดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) และจะขอชำระหนี้นับจากวันฟ้องย้อนหลังไป 5 ปี หาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่ค้างชำระนับจากวันฟ้องย้อนหลังไป 5 ปี แล้วออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์ได้
แม้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 (เดิม) ไม่ได้บัญญัติให้เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มอันเนื่องมาจากเจ้าของร่วมผิดนัดไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในกำหนด เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่เมื่อพิจารณาจากข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่กำหนดให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มจากเจ้าของร่วมก็ต่อเมื่อเจ้าของร่วมผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกำหนด เงินในส่วนนี้จึงเป็นลักษณะของการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ชอบที่จะคิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มจากโจทก็ได้
โจทก์ทราบถึงภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เจ้าของห้องชุดพิพาท คนเดิมค้างชำระตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท การที่โจทก์ยังคงเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าขณะเข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาท โจทก์ได้โต้แย้งว่าหนี้ในส่วนนี้ขาดอายุความ ย่อมถือว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แล้ว โจทก์จะยกเรื่องหนี้ขาดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) และจะขอชำระหนี้นับจากวันฟ้องย้อนหลังไป 5 ปี หาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่ค้างชำระนับจากวันฟ้องย้อนหลังไป 5 ปี แล้วออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ซื้อห้องชุดจากการประมูลต้องรับผิดชอบหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระของเจ้าของเดิมตามกฎหมายอาคารชุด
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติว่า "เจ้าของร่วม (หมายถึงเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด) ต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ" เจ้าของร่วมจึงมีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคสอง ดังกล่าว และในกรณีที่จะต้องมีการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ผู้ขอจดทะเบียนก็จะต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เมื่อห้องชุดดังกล่าวปลอดจากหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดง" โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและแม้โจทก์จะมิใช่ลูกหนี้ผู้ซึ่งค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 18 วรรคสองก็ตาม แต่การที่โจทก์เข้าประมูลซื้อห้องชุดพิพาทตามประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงว่า จะรับผิดชอบชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แก่บุคคลภายนอกแทนลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ดังนั้น เมื่อเจ้าของห้องชุดเดิมมีหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระอยู่แก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าส่วนกลางให้แก่จำเลยด้วย โจทก์จะมาอ้างว่าตนมิได้เป็นผู้ก่อหนี้ที่จำเลยเรียกให้ชำระจึงไม่ต้องมารับผิดชำระหนี้ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาได้ไม่