พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างสัญญาจำนองและหนังสือมอบอำนาจ: ขอบเขตการนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
การนำสืบว่า การทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกัน เป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ยืมเงินหลังทำสัญญาแล้ว ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากจำเลยได้รับเงินกู้จริง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้น ทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิม คือจำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเองและไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องเจตนาในการทำสัญญา และผลของการกรอกข้อความในสัญญาเกินจริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ ความจริงโจทก์ให้เงินจำเลยไปหากำไรทางดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ ให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้านหลังโดยยังไม่ได้กรอกข้อความและวันเดือนปีหรือลงจำนวนเงินในสัญญากู้นั้นเลย โจทก์สมคบกับพยานและผู้เขียนกรอกข้อความและจำนวนปลอมขึ้น ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบตามข้อต่อสู้นี้ ไม่ถือว่าจำเลยนำสืบเจตนาเป็นอย่างอื่น แต่เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุแห่งสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันนั้นว่าไม่สมบูรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
การที่โจทก์มากรอกข้อความลงในสัญญากู้และค้ำประกันในจำนวนเงินเกินว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้และค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิด
การที่โจทก์มากรอกข้อความลงในสัญญากู้และค้ำประกันในจำนวนเงินเกินว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้และค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น