คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีที่โจทก์เป็นชาวต่างชาติและฟ้องต่อศาลไทย ศาลอนุญาตฟ้องแย้งได้ตามมาตรา 7
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (3) เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่การฟ้องเริ่มคดีต่อศาลไทยด้วยการฟ้องบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีที่โจทก์เป็นชาวต่างชาติและฟ้องคดีในไทย: มาตรา 4(3) และ 7 วางหลักเกณฑ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่การฟ้องเริ่มคดีต่อศาลไทยด้วยการฟ้องบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ฟ้องจำเลยต่างประเทศ, หนี้เหนือบุคคล, ตัวแทนทางเรือ
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 4 ว่า 'บริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด)จำกัดโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด จำเลยที่ 4' ทั้งบรรยายฟ้องด้วยว่าบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ณ ประเทศฮ่องกงโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด เป็นสาขาในประเทศไทย เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัด เป็นจำเลยที่ 4หาใช่ฟ้องบริษัทโทรีเซน(กรุงเทพ) จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันเป็นจำเลยที่ 4 ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างประเทศและตัวแทนในคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 4 ว่า "บริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัด โดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด จำเลยที่ 4"ทั้งบรรยายฟ้องด้วยว่าบริษัทโทรีเซนแอนด์โก (ลิมิเต็ด) จำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ณ ประเทศฮ่องกงโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด เป็นสาขาในประเทศไทยเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องบริษัทโทรีเซน แอนด์โก (ลิมิเต็ด)จำกัด เป็นจำเลยที่ 4หาใช่ฟ้องบริษัทโทรีเซน(กรุงเทพ) จำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันเป็นจำเลยที่ 4 ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยต่างประเทศในคดีหนี้เหนือบุคคล ต้องมีภูมิลำเนาในไทยหรือเข้ามาในไทยชั่วคราว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องหนี้เหนือบุคคลระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เข้ามาในประเทศไทยเลย แม้จะตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการฟ้องหรือต่อสู้คดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ: จำเลยต้องเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้ฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องหนี้เหนือบุคคลระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3)โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เข้ามาในประเทศไทยเลย แม้จะตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการฟ้องหรือต่อสู้คดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยต่างชาติ การมีภูมิลำเนาต่างประเทศมีผลต่อการดำเนินคดีในไทย
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาต่างประเทศ การส่งหมายทางหนังสือพิมพ์มีผลเฉพาะจำเลยที่มีภูมิลำเนาในไทย
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยต่างชาติ การมีภูมิลำเนาในไทยเป็นสำคัญ
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น. ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา.
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย. มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย. เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก. ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้.
of 2