พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทุกด้านและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเครื่องหมายนั้นทั้งเครื่องหมาย มิใช่พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง และต้องพิจารณาเสียงเรียกขานเครื่องหมายดังกล่าวตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้นๆ ว่าสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้าหรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาทั้งรูปลักษณ์ เสียงเรียกขาน และประเภทสินค้า เพื่อประเมินความสับสนของผู้บริโภค
ในการพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันและทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 ศาลจะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมาย มิได้พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังต้องพิจารณาในส่วนของเสียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนด้วย เพราะศาลต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้น ๆ เป็นสำคัญว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้า หรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3686/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมาย และอำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับจดทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 และโจทก์ผู้ขอใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่กรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนที่คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วแต่กรณีที่จะเป็นที่สุดตามมาตรา 39
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่จะเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการพิจารณาความถูกต้องหรือชอบด้วยกฎหมายนั้นศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาได้ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของจำเลยหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีเหตุผลชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายอักษรโรมันอย่างเดียว แต่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นทั้งเครื่องหมายรูปคือกิเลน 5 ตัว ในวงกลมและเครื่องหมายอักษรภาษาจีนอ่านว่า "โหงวคี่เล้ง" และอักษรไทย ตัวเลขอารบิคคำว่า "ตรา 5 กิเลน" ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของคำและอักษรคือ "KIRIN" และ "กิเลน" ไม่คล้ายกันเพราะเป็นอักษรโรมันกับเป็นอักษรไทย แต่คำว่า "กิเลน" มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แม้สินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าแตกต่างกันโดยของโจทก์เป็นยารักษาโรคแผนปัจจุบัน แต่ของบุคคลอื่นเป็นยาแผนโบราณ และสินค้ายาของโจทก์ต้องสั่งและใช้โดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ประชาชนไม่อาจหาซื้อได้ แต่สินค้ายาของบุคคลอื่นหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา ตลาดยาของโจทก์จึงเป็นโรงพยาบาล สถานพยาบาล ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ่ายยาซึ่งยากที่แพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้ใช้ยาจะสับสนหรือหลงผิดหรือผิดพลาด ขณะที่ตลาดยาของบุคคลอื่นนั้นเป็นร้านขายยาซึ่งประชาชนผู้ซื้อสินค้ายาของบุคคลอื่นสับสนหรือหลงผิด เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนกับของบุคคลอื่นจึงไม่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อไป เป็นการบังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทั้งที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 วรรคสอง เสียก่อน ศาลจึงไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ได้
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่จะเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการพิจารณาความถูกต้องหรือชอบด้วยกฎหมายนั้นศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาได้ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของจำเลยหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีเหตุผลชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายอักษรโรมันอย่างเดียว แต่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นทั้งเครื่องหมายรูปคือกิเลน 5 ตัว ในวงกลมและเครื่องหมายอักษรภาษาจีนอ่านว่า "โหงวคี่เล้ง" และอักษรไทย ตัวเลขอารบิคคำว่า "ตรา 5 กิเลน" ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของคำและอักษรคือ "KIRIN" และ "กิเลน" ไม่คล้ายกันเพราะเป็นอักษรโรมันกับเป็นอักษรไทย แต่คำว่า "กิเลน" มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แม้สินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าแตกต่างกันโดยของโจทก์เป็นยารักษาโรคแผนปัจจุบัน แต่ของบุคคลอื่นเป็นยาแผนโบราณ และสินค้ายาของโจทก์ต้องสั่งและใช้โดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ประชาชนไม่อาจหาซื้อได้ แต่สินค้ายาของบุคคลอื่นหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา ตลาดยาของโจทก์จึงเป็นโรงพยาบาล สถานพยาบาล ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ่ายยาซึ่งยากที่แพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้ใช้ยาจะสับสนหรือหลงผิดหรือผิดพลาด ขณะที่ตลาดยาของบุคคลอื่นนั้นเป็นร้านขายยาซึ่งประชาชนผู้ซื้อสินค้ายาของบุคคลอื่นสับสนหรือหลงผิด เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนกับของบุคคลอื่นจึงไม่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อไป เป็นการบังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทั้งที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 วรรคสอง เสียก่อน ศาลจึงไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: ภาพประดิษฐ์บนขวดมีลวดลายโดดเด่นเพียงพอต่อการจดทะเบียนได้
การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ (ฉบับที่ 2)ฯ โดยสรุปคือเครื่องหมายการค้านั้นต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ไม่ได้ให้คำนิยามคำว่า "ลักษณะบ่งเฉพาะ" ไว้โดยแจ้งชัดแต่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 7 วรรคแรกว่า "เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น" และในมาตรา 7 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ...(6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น" เมื่อพิเคราะห์เครื่องหมายการค้า "รูปขวด" ของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนที่มีลักษณะบ่งเฉพาะพิเศษโดยมีส่วนเว้า ส่วนนูน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลวดลายเป็นจุดที่เว้าลึกรอบขวดในระยะที่ห่างเท่ากันแล้ว เห็นว่า รูปขวดของโจทก์มีลักษณะไม่เหมือนรูปขวดทั่วไป แต่เป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (6) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้ารูปขวดของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต่างจำพวก สิ้นสุดแล้วมิอาจสับสน ความชอบธรรมในการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 มีรูปช้างสามเศียรหรือช้างเอราวัณ และอาจเรียกขานว่าเครื่องหมายการค้าตราช้างสามเศียรหรือตราช้างเอราวัณได้เช่นกัน แต่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้มีเฉพาะรูปช้างเท่านั้น หากยังมีวงกลมสองวง และมีอักษรภาษาไทยว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด หรือปูนซีเมนต์ตราเอราวัณ มั่นใจได้ กับอักษรโรมันว่า THE SIAM CEMENT CO., LTD. อยู่ภายในวงกลมสองวงซ้อนกันและมีอักษรโรมันขนาดเล็กว่า RAPID-HARDENING PORTLAND CEMENT อยู่ในวงกลมชั้นในด้วย ขณะที่ของจำเลยที่ 1 ไม่มีจึงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง แต่สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นข้าวสาร ย่อมไม่มีโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าว่าสินค้าข้าวสารของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้บริษัทโจทก์จะตั้งขึ้นก่อนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนและไม่ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่ ก็ชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายเดิมที่ใช้โดยสุจริต และข้อยกเว้นการห้ามจดทะเบียน
พ.ร.ฎ.การแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2542 มาตรา 4 กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานรวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น การดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จึงอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 เป็นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เมื่อคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 เป็นเหตุให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึง 13
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องนำสืบในประเด็น เมื่อปรากฏว่าปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 90 วัน จำเลยทั้งสิบสามมิได้ให้การไว้ ทั้งคู่ความมิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของบริษัท ย. ผู้คัดค้าน ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว มีสาระสำคัญที่เหมือนกันคือเป็นรูปเด็กนั่งอุ้มขวด แม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น รูปเด็กของโจทก์ถือขวดทางด้านซ้ายมือ แต่รูปเด็กของผู้คัดค้านถือขวดทางด้านขวามือ ก็เป็นข้อแตกต่างในลักษณะปลีกย่อย สินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์เป็นสินค้าจำพวกน้ำปลา ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านเป็นสินค้าจำพวกซีอิ้วอันเป็นสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส สินค้าจำพวกที่ 30 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเป็นการขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันย่อมเป็นกรณีที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้บัญญัติห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว อย่างไรก็ดีถ้านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าสมควรรับจดทะเบียน มาตรา 27 ของกฎหมายฉบับเดียวกันก็บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อนำสืบของโจทก์ ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" มานานแล้วโดยสุจริต เช่นเดียวกับที่ผู้คัดค้านใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมมีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์ตามมาตรา 27 ได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 27 ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายจำเลยนำสืบจะรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของผู้คัดค้าน ใช้กับสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีการโฆษณาส่งเสริมการขายอย่างกว้างขวางเป็นที่แพร่หลายจนสาธารณชนทั่วไปที่บริโภคสินค้าของผู้คัดค้านรู้จักเป็นอย่างดี ตรงตามหลักเกณฑ์ของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2534) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 8(10) แต่ข้อห้ามดังกล่าวย่อมหมายถึงการห้ามบุคคลอื่นใดนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมายื่นขอจดทะเบียนโดยเจตนาลอกเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตนโดยมิชอบ อันนำไปสู่การสร้างความสับสนหลงผิดให้แก่สาธารณชนทั่วไปในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า กรณีดังกล่าวไม่อาจแปลความรวมไปถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของตนโดยสุจริตควบคู่ร่วมสมัยกับเครื่องหมายการค้าที่ต่อมาภายหลังกลับกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดั่งเช่น เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ในคดีนี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นการจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้มาโดยสุจริตให้ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ย่อมเป็นการไม่ชอบธรรมกับเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารายการน้ำปลามาเป็นเวลานานโดยสุจริต โจทก์ย่อมรับได้ความคุ้มครองตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีดุลพินิจที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ โดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้นเพื่อป้องกันสาธารณชนสับสนหลงผิดไว้ด้วยก็ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 วินิจฉัยให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องนำสืบในประเด็น เมื่อปรากฏว่าปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 90 วัน จำเลยทั้งสิบสามมิได้ให้การไว้ ทั้งคู่ความมิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของบริษัท ย. ผู้คัดค้าน ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว มีสาระสำคัญที่เหมือนกันคือเป็นรูปเด็กนั่งอุ้มขวด แม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น รูปเด็กของโจทก์ถือขวดทางด้านซ้ายมือ แต่รูปเด็กของผู้คัดค้านถือขวดทางด้านขวามือ ก็เป็นข้อแตกต่างในลักษณะปลีกย่อย สินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์เป็นสินค้าจำพวกน้ำปลา ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านเป็นสินค้าจำพวกซีอิ้วอันเป็นสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส สินค้าจำพวกที่ 30 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเป็นการขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันย่อมเป็นกรณีที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้บัญญัติห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว อย่างไรก็ดีถ้านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าสมควรรับจดทะเบียน มาตรา 27 ของกฎหมายฉบับเดียวกันก็บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อนำสืบของโจทก์ ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" มานานแล้วโดยสุจริต เช่นเดียวกับที่ผู้คัดค้านใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมมีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์ตามมาตรา 27 ได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 27 ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายจำเลยนำสืบจะรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของผู้คัดค้าน ใช้กับสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีการโฆษณาส่งเสริมการขายอย่างกว้างขวางเป็นที่แพร่หลายจนสาธารณชนทั่วไปที่บริโภคสินค้าของผู้คัดค้านรู้จักเป็นอย่างดี ตรงตามหลักเกณฑ์ของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2534) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 8(10) แต่ข้อห้ามดังกล่าวย่อมหมายถึงการห้ามบุคคลอื่นใดนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมายื่นขอจดทะเบียนโดยเจตนาลอกเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตนโดยมิชอบ อันนำไปสู่การสร้างความสับสนหลงผิดให้แก่สาธารณชนทั่วไปในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า กรณีดังกล่าวไม่อาจแปลความรวมไปถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของตนโดยสุจริตควบคู่ร่วมสมัยกับเครื่องหมายการค้าที่ต่อมาภายหลังกลับกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดั่งเช่น เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ในคดีนี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นการจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้มาโดยสุจริตให้ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ย่อมเป็นการไม่ชอบธรรมกับเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารายการน้ำปลามาเป็นเวลานานโดยสุจริต โจทก์ย่อมรับได้ความคุ้มครองตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีดุลพินิจที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ โดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้นเพื่อป้องกันสาธารณชนสับสนหลงผิดไว้ด้วยก็ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 วินิจฉัยให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง และการใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าจำพวกที่ 30 เมื่อปี 2539 ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และ สำหรับสินค้าจำพวกที่ 29 เมื่อปี 2542 โจทก์จึงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยก่อนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2545 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
สาระสำคัญของเครื่องหมายของโจทก์และจำเลยที่ 1 คืออักษร คำว่า Haldiram's ซึ่งออกเสียงเรียกขานได้หลายประการ เช่น ฮาลดิราม ฮาลดิแรม หรือฮาลไดแรม เป็นต้น สาระสำคัญและเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีความใกล้เคียงกันมาก เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของฝ่ายโจทก์และจำเลยเองแล้ว จะเห็นว่าอักษรคำว่า Haldiram's เป็นตัวใหญ่เด่นชัดมากกว่าส่วนประกอบอื่นของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน แม้จะใช้รูปแบบของตัวอักษรต่างกัน แต่หากไม่ได้นำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นมาวางเปรียบเทียบแล้ว เชื่อได้ว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจในคำว่า Haldiram's มากกว่ารายละเอียดส่วนอื่นๆ ของเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะสินค้าตามรายการที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 แม้จะต่างจำพวกกัน แต่ก็มีลักษณะเป็นอาหารอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี 2484 จากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศอื่นในนามของโจทก์ โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักเครื่องหมายการค้าพิพาทดี สำหรับในประเทศไทยมีการจำหน่ายมาก่อนปี 2542 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "Haldiram Bhujiawala" และ "Haldiram's" ในประเทศไทยโดยกำหนดระยะเวลาแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในครั้งแรกนี้มีกำหนด 5 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ ได้รับมอบอำนาจจากฮาดิราม พูเจียวาลา พีวีที.ลิมิเต็ด เจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้มีการใช้มาเป็นเวลานานในประเทศสาธารณรัฐอินเดียก่อนปี 2501 มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นของจำเลยที่ 1 อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนแล้วโดยสุจริตตั้งแต่เวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดียเมื่อปี 2484 จากนั้นได้นำมายื่นคำขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยปี 2539 โจทก์จึงมีสิทธิในคำว่า Haldiram's ดีกว่า จำเลยที่ 1 ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนได้ในภายหลัง และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างได้ใช้มาก่อนแล้วโดยสุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุความเป็นเจ้าของของเครื่องหมายการค้าเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตามความหมายของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
สาระสำคัญของเครื่องหมายของโจทก์และจำเลยที่ 1 คืออักษร คำว่า Haldiram's ซึ่งออกเสียงเรียกขานได้หลายประการ เช่น ฮาลดิราม ฮาลดิแรม หรือฮาลไดแรม เป็นต้น สาระสำคัญและเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีความใกล้เคียงกันมาก เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของฝ่ายโจทก์และจำเลยเองแล้ว จะเห็นว่าอักษรคำว่า Haldiram's เป็นตัวใหญ่เด่นชัดมากกว่าส่วนประกอบอื่นของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน แม้จะใช้รูปแบบของตัวอักษรต่างกัน แต่หากไม่ได้นำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นมาวางเปรียบเทียบแล้ว เชื่อได้ว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจในคำว่า Haldiram's มากกว่ารายละเอียดส่วนอื่นๆ ของเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะสินค้าตามรายการที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 แม้จะต่างจำพวกกัน แต่ก็มีลักษณะเป็นอาหารอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี 2484 จากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศอื่นในนามของโจทก์ โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักเครื่องหมายการค้าพิพาทดี สำหรับในประเทศไทยมีการจำหน่ายมาก่อนปี 2542 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "Haldiram Bhujiawala" และ "Haldiram's" ในประเทศไทยโดยกำหนดระยะเวลาแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในครั้งแรกนี้มีกำหนด 5 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ ได้รับมอบอำนาจจากฮาดิราม พูเจียวาลา พีวีที.ลิมิเต็ด เจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้มีการใช้มาเป็นเวลานานในประเทศสาธารณรัฐอินเดียก่อนปี 2501 มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นของจำเลยที่ 1 อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนแล้วโดยสุจริตตั้งแต่เวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดียเมื่อปี 2484 จากนั้นได้นำมายื่นคำขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยปี 2539 โจทก์จึงมีสิทธิในคำว่า Haldiram's ดีกว่า จำเลยที่ 1 ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนได้ในภายหลัง และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างได้ใช้มาก่อนแล้วโดยสุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุความเป็นเจ้าของของเครื่องหมายการค้าเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตามความหมายของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7831/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ยาคน-สัตว์ ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 เช่นเดียวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นคนละประเภทกับสินค้าของบริษัทดังกล่าว กล่าวคือ สินค้าของโจทก์เป็นยาและสารที่เตรียมขึ้นทางเภสัชกรรมไว้รักษาและป้องกันโรคผมร่วงหรือโรคหัวล้าน แต่สินค้าของบริษัท ค. เป็นยาทำลายหรือต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสำหรับใช้ในการรักษาสัตว์ แม้จะเป็นยาเหมือนกันแต่ก็ใช้รักษาโรคในคนและสัตว์แตกต่างกันผู้ใช้จึงเป็นคนละกลุ่มกัน แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ายาของโจทก์เป็นยาของบริษัท ค. หรือมีแหล่งกำเนิดจากบริษัทดังกล่าว เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันทำให้สับสนได้ ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 กับเครื่องหมายการค้าคำว่า SOLO ของโจทก์ ใช้อักษรโรมันตัวเดียวกัน จำนวนตัวอักษรและลำดับการวางอักษรเหมือนกันทุกประการ มีความแตกต่างกันเพียงเฉพาะอักษรตัว S กับ L เท่านั้น แต่มีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน โอกาสที่จะมีการออกเสียงเรียกขานไม่ชัดและมีการฟังเสียงเรียกขานเข้าใจคลาดเคลื่อนย่อมเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับเหตุผลที่ว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการมีกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าก็คือการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถแยกความแตกต่างในแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือความเป็นเจ้าของได้โดยง่าย รวมทั้งเมื่อพิจารณาถึงเครื่องหมายการค้า SOLO และ SOSO ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมด เปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยภาพรวมแล้ว เห็นว่า มีความเหมือนหรือคล้ายอย่างชัดแจ้ง
แม้รายชื่อสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 8 เป็นคนละรายการกัน แต่เป็นสินค้าจำพวกเครื่องมือช่างช่องทางการจำหน่ายก็อาจเป็นสถานที่เดียวกัน อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกัน โอกาสที่จะทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในหมู่สาธารณชนกับตัวเครื่องหมายการค้าย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อพิจารณาถึงเครื่องหมายการค้า SOLO ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ปรากฏว่าได้มีการจดไว้ในรายการสินค้าจำพวก 8 เช่นเดียวกัน รายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นรายการสินค้าในประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ใช้คำว่า SOLO และเมื่อคำว่า SOSO มีลักษณะเหมือนคล้ายกับคำว่า SOLO สาธารณชนที่พบเห็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 อาจสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
แม้รายชื่อสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 8 เป็นคนละรายการกัน แต่เป็นสินค้าจำพวกเครื่องมือช่างช่องทางการจำหน่ายก็อาจเป็นสถานที่เดียวกัน อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกัน โอกาสที่จะทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในหมู่สาธารณชนกับตัวเครื่องหมายการค้าย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อพิจารณาถึงเครื่องหมายการค้า SOLO ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ปรากฏว่าได้มีการจดไว้ในรายการสินค้าจำพวก 8 เช่นเดียวกัน รายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นรายการสินค้าในประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ใช้คำว่า SOLO และเมื่อคำว่า SOSO มีลักษณะเหมือนคล้ายกับคำว่า SOLO สาธารณชนที่พบเห็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 อาจสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างประเภท แม้ชื่อคล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์โดยผลของพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถึงแม้ว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและมีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยในฐานะที่เป็นกรมซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13