พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ละเมิด: การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน และการกระทำที่มิได้เจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กรรมการได้มีมติถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 รวมไปกับการฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหานี้แม้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้และไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อเห็นสมควรเพราะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของกรรมการสหกรณ์ที่ลงมติกระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ และประเด็นข้อจำกัดในการอ้างเหตุข้อบกพร่องของโจทก์ในชั้นฎีกา
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกา จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ มิฉะนั้นจะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านการที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตของสามีให้โจทก์ฟ้องคดีมาแสดงในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตดังกล่าวมาอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์มิได้ และจำเลยก็จะยกข้อบกพร่องของโจทก์เช่นนี้ขึ้นมาเป็นเหตุขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ นอกจากจะร้องขอให้ศาลสอบสวนและมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้บริบูรณ์เท่านั้น
ในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีได้ยื่นหนังสืออนุญาตของสามีโจทก์ต่อศาล ศาลรับไว้ถือว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์แล้วจำเลยจะอ้างว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่ได้
กรรมการสหกรณ์ลงมติให้กระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ กรรมการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฯลฯ ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านการที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตของสามีให้โจทก์ฟ้องคดีมาแสดงในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่มีหนังสืออนุญาตดังกล่าวมาอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์มิได้ และจำเลยก็จะยกข้อบกพร่องของโจทก์เช่นนี้ขึ้นมาเป็นเหตุขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ นอกจากจะร้องขอให้ศาลสอบสวนและมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้บริบูรณ์เท่านั้น
ในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีได้ยื่นหนังสืออนุญาตของสามีโจทก์ต่อศาล ศาลรับไว้ถือว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์แล้วจำเลยจะอ้างว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่ได้
กรรมการสหกรณ์ลงมติให้กระทำการนอกขอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ กรรมการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว