พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีครอบครองปรปักษ์ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดผิด แต่หากสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว ผลคดีไม่เปลี่ยนแปลง
แม้ภาระการพิสูจน์ของคู่ความต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและหากชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดไป ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความแล้ว โดยศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี และคดีก็ยังต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงอีกด้วย ดังนั้น แม้ฝ่ายใดจะมีภาระการพิสูจน์ ผลแห่งคดีก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, พยานเอกสาร, ดุลพินิจศาล: ข้อวินิจฉัยสำคัญในคดีบังคับจำนอง
การมอบอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บังคับว่าผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจหรือพยานผู้รู้เห็น จะต้องลงชื่อเมื่อใด ดังนั้น แม้ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจหรือพยานผู้รู้เห็นจะลงลายมือชื่อภายหลังที่ได้มี การมอบอำนาจกัน ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจเสียไป
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอาการ บอกกล่าวบังคับจำนองโดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารตามที่กฎหมายบังคับให้ปิด ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และเป็นสิ่งที่ศาลรู้เองโจทก์ไม่ต้องนำสืบ
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุทิ้งฟ้อง เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้น มิได้สั่งจำหน่ายคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอาการ บอกกล่าวบังคับจำนองโดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารตามที่กฎหมายบังคับให้ปิด ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และเป็นสิ่งที่ศาลรู้เองโจทก์ไม่ต้องนำสืบ
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุทิ้งฟ้อง เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้น มิได้สั่งจำหน่ายคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามคำท้าในคดีแพ่ง การเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐานสำคัญ
การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดี ถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84(1) โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมดดังนั้น เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้องซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้าทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9876/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินเกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและภาระการพิสูจน์ของผู้ถูกกล่าวหา
ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า? ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านถูกฟ้องเป็นจำเลยและถูกลงโทษในข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ผู้ร้องขอให้ริบย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวตามมาตรา 29 (1) (2) ว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือได้ทรัพย์สินมาโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9196-9215/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน: การนำสืบพยานและรับฟังหลักฐานที่ยืดหยุ่นกว่าคดีแพ่ง
ตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ถือว่าคดีแรงงานมีลักษณะพิเศษกว่าคดีแพ่งทั่วไป โดยประสงค์จะให้ข้อพิพาทระงับไปด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบไว้ โดยศาลแรงงานจะระบุให้โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายนั้น ๆ จะมีภาระการพิสูจน์อย่างเช่นคดีแพ่งทั่วไป ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในภายหลัง จึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าเป็นพยานของศาลทั้งศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานไม่ว่าพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเองหรือที่คู่ความอ้างก็ตาม และในการบันทึกคำเบิกความของพยาน ศาลแรงงานอาจจะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ประกอบ มาตรา 46 ซึ่งแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป การที่ศาลแรงงานกลางจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์แถลงพร้อมทั้งแนบเอกสารเช่นใบเสร็จรับเงินเดือนและอื่น ๆ โดยทนายจำเลยตรวจดูแล้วไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ไม่สืบพยานและขอให้ศาลแรงงานกลางตัดสินคดีตามคำฟ้อง คำให้การและบันทึกรายการกับเอกสารที่โจทก์เสนอต่อศาล จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางรับบันทึกรายการต่าง ๆ ของโจทก์ที่ยื่นเสนอต่อศาลไว้เป็นพยานหลักฐานของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางจะบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาโดยให้ถือว่าบันทึกรายการดังกล่าวเป็นคำเบิกความของโจทก์ซึ่งเป็นการเกินเลยไปและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม กรณีไม่อาจถือว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าเป็นพยานของศาลทั้งศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานไม่ว่าพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเองหรือที่คู่ความอ้างก็ตาม และในการบันทึกคำเบิกความของพยาน ศาลแรงงานอาจจะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ประกอบ มาตรา 46 ซึ่งแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป การที่ศาลแรงงานกลางจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์แถลงพร้อมทั้งแนบเอกสารเช่นใบเสร็จรับเงินเดือนและอื่น ๆ โดยทนายจำเลยตรวจดูแล้วไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ไม่สืบพยานและขอให้ศาลแรงงานกลางตัดสินคดีตามคำฟ้อง คำให้การและบันทึกรายการกับเอกสารที่โจทก์เสนอต่อศาล จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางรับบันทึกรายการต่าง ๆ ของโจทก์ที่ยื่นเสนอต่อศาลไว้เป็นพยานหลักฐานของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางจะบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาโดยให้ถือว่าบันทึกรายการดังกล่าวเป็นคำเบิกความของโจทก์ซึ่งเป็นการเกินเลยไปและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม กรณีไม่อาจถือว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249: การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันมาก่อนในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
++ เรื่อง ละเมิด ประกันภัยค้ำจุน ++
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 2ในอันที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดคดีนี้เหลือไม่เกิน 360,000 บาท และคดีขาดอายุความ และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2ไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาด้วยว่าพยานเอกสารบางฉบับที่ศาลรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อจะเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 2ในอันที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดคดีนี้เหลือไม่เกิน 360,000 บาท และคดีขาดอายุความ และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2ไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาด้วยว่าพยานเอกสารบางฉบับที่ศาลรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อจะเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการค้ำประกันหนี้ - ผลผูกพันบริษัท - อากรแสตมป์ - การรับรองการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานอีกแต่อย่างใด ที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า สัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ. 56 ต้องปิดอากรแสตมป์ 20 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์มาเพียง 10 บาท จึงไม่ครบถ้วน ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคา
จำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องจริง จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยต่อสู้ว่าไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแม้ว่าคำฟ้องหรือตามทางนำสืบของโจทก์จะไม่ได้ความว่า การสั่งซื้อสินค้าคดีนี้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน หรือมีหลักฐานซื้อขายเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแม้ว่าคำฟ้องหรือตามทางนำสืบของโจทก์จะไม่ได้ความว่า การสั่งซื้อสินค้าคดีนี้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน หรือมีหลักฐานซื้อขายเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456