พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงใหม่ หรือยกเลิกข้อตกลงเดิม การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่าคดีไม่อาจเจรจาตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และจำเป็นต้องสืบพยานของคู่ความ ศาลแรงงานจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้นำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลัง แต่หากศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานของคู่ความแล้ว ศาลแรงงานก็ไม่จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์: การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์โดยผู้รับจ้างถือเป็นการผิดสัญญา
แม้จำเลยจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อหนี้ ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 การที่โจทก์ยึดเพลทแม่พิมพ์ไว้ ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่สามารถพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายอยู่ในตัว
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยรับข้อเท็จจริงดอกเบี้ยค้างชำระตามคำฟ้อง ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องเอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 541,563.65 บาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าว ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จำนวน 541,563.65 บาท โดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยไม่ชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการลงโทษ: การพิจารณาปัจจัยผู้ต้องหา, ภยันตรายร้ายแรงต่อสังคม และภาวะจิต
ศาลจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจ โดยศาลอาจหยิบยกเหตุต่าง ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 56 ขึ้นวินิจฉัยประกอบดุลพินิจก็ได้ เมื่อศาลใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยย่อมแสดงว่าศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ อาชีพ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาและภาวะแห่งจิตของจำเลยตลอดจนเหตุอื่นแล้ว โดยศาลไม่จำเป็นต้องระบุถึงเหตุต่าง ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 56 ให้ปรากฏโดยแจ้งชัดในคำพิพากษา นอกจากนี้ ป.อ. มาตรา 56 ก็มิใช่บทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือบทกำหนดโทษ และไม่ใช่กรณีที่ศาลรอการ ลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ศาลจึงไม่ต้องปรับบทมาตราดังกล่าวในคำพิพากษา
การกระทำความผิดใดเป็นภยันตรายร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้ หาเป็นการปรับบทลงโทษ คลาดเคลื่อนต่อ ป.อ. มาตรา 63 ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยมิได้อ้างว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน การที่ศาลมิได้นำ ป.อ. มาตรา 65 มาประกอบการวินิจฉัย จึงชอบแล้ว
การกระทำความผิดใดเป็นภยันตรายร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้ หาเป็นการปรับบทลงโทษ คลาดเคลื่อนต่อ ป.อ. มาตรา 63 ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยมิได้อ้างว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน การที่ศาลมิได้นำ ป.อ. มาตรา 65 มาประกอบการวินิจฉัย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามในคดีรับช่วงสิทธิ กรณีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องความประมาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกไว้กับ ร.ต่อมารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวซึ่งมีส. เป็นผู้ขับชนกับรถยนต์บรรทุกซึ่งมี ว. เป็นผู้ขับ เพราะความประมาทของ ว.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายและรถยนต์บรรทุกเสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนายจ้าง หรือตัวการ หรือผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ส่วนจำเลยให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า จำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานว.หรือไม่ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจากว. หรือไม่นั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ ต้องฟังว่า ว. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84(1) การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยอีกเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาที่ยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ และภาระการพิสูจน์การคืนรถยนต์
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ และขีดฆ่าครบถ้วนแล้วเป็นพยาน แม้เดิมจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่เมื่อได้ปิดครบถ้วนและขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้วก่อนศาลมีคำพิพากษาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แม้ไม่ได้เสียเงินเพิ่มอากรก็ตาม
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์และได้รับมอบรถยนต์แล้ว จำเลยอ้างว่าได้คืนรถยนต์แก่โจทก์แล้วจึงมีภาระการพิสูจน์
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์และได้รับมอบรถยนต์แล้ว จำเลยอ้างว่าได้คืนรถยนต์แก่โจทก์แล้วจึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการตกลงในสัญญาซื้อขาย: สิทธิการใช้ทางและสาธารณูปโภค
ปัญหาว่าข้อสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำข้อ 10 ที่ว่า"ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำ ประปา และไฟฟ้า มาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมทั้งอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนน และสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้าน ส. เป็นทางเข้าออกสู่ ถนนแจ้งวัฒนะ" เป็นข้อสัญญาที่บังคับให้จดทะเบียนภารจำยอมได้หรือไม่ นั้น ข้อสรุปของสัญญามีว่า "ผู้จะขายที่ดินตกลงให้ที่ดินจะซื้อจะขาย ใช้ถนนและสาธารณูปโภค" เป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายเหนือ อสังหาริมทรัพย์อื่น อันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับ กรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จะซื้อจะขาย จึงเป็นสัญญา ก่อให้เกิดภารจำยอม โจทก์ย่อมบังคับให้จดทะเบียนได้
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาตามสัญญา จึงบังคับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้นั้น เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใน ข้อ ดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าคู่ความสละซึ่งประเด็นอื่นทั้งหมดแล้ว คงเหลือ เฉพาะประเด็นที่ท้ากันเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาตามสัญญา จึงบังคับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้นั้น เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใน ข้อ ดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าคู่ความสละซึ่งประเด็นอื่นทั้งหมดแล้ว คงเหลือ เฉพาะประเด็นที่ท้ากันเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนกันระหว่างรถยนต์: ผู้ขับขี่ต้องพิสูจน์ความประมาทของอีกฝ่าย
เหตุรถชนเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่ายแล่นชนกัน จึงมิใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนท้ายรถยนต์หลายคัน ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความประมาทของจำเลยเมื่อไม่ใช่ผู้ครอบครอง/ควบคุมยานพาหนะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งกำลังแล่นชนกัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลย เป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84