พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องการกรอกข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยืมยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาท ไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลยจำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ แม้ข้อความจะถูกกรอกภายหลัง ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่ผูกพันได้
จำเลยให้การรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้องโดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ค่าเสียหายในสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกและการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
จำเลยได้ให้การไว้แล้วว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเรียกร้องค่าเสียหายสูงจากความจริงมาก จึงเท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธเรื่องค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์
บริษัทผู้ขายสินค้าให้แก่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าโดยเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน จากเมืองกาดานส์ ประเทศโปแลนด์ มาให้แก่จำเลยในประเทศไทยตามสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุก เมื่อเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน มาถึงปลายทางแล้ว โจทก์หรือตัวแทนเรือของโจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบเพื่อนำเรือลำเลียงมารับสินค้า หากไม่จัดเรือลำเลียงมาจะต้องเสียค่าเรือจอดรอ
ในเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายไม่ได้แน่ชัด ศาลจึงกำหนด ค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
บริษัทผู้ขายสินค้าให้แก่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าโดยเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน จากเมืองกาดานส์ ประเทศโปแลนด์ มาให้แก่จำเลยในประเทศไทยตามสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุก เมื่อเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน มาถึงปลายทางแล้ว โจทก์หรือตัวแทนเรือของโจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบเพื่อนำเรือลำเลียงมารับสินค้า หากไม่จัดเรือลำเลียงมาจะต้องเสียค่าเรือจอดรอ
ในเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายไม่ได้แน่ชัด ศาลจึงกำหนด ค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานของผู้ถูกร้องในคดีเลิกจ้างเมื่อผู้ร้องเสนอคดีฝ่ายเดียว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อ้างว่าผู้คัดค้านกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้าง อันเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องจะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงและเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ทั้งนี้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้อง รวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ คดีนี้หลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่ เพียงใด โดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น และกรณีสมควรที่จะฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านประกอบการพิจารณาวินิจฉัยข้ออ้างของผู้ร้องด้วยซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจที่จะกระทำได้ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานสามารถนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านมาใช้ประกอบการวินิจฉัย อันเป็นกรณีที่จะต้องรับฟังจากพยานหลักฐานอื่นต่อไป ซึ่งพยานหลักฐานอื่นที่ศาลแรงงานนำมารับฟังดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการนำสืบของผู้ร้องทั้งสิ้น การรับฟังพยานหลักฐานและการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานนอกบัญชีรายชื่อเพื่อความยุติธรรม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานที่ไม่ระบุชื่อ ศาลแรงงานพิพากษายืนตามเดิม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย. เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย. เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย. เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย. เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งของผู้รับประเมิน และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
จำเลยมิได้โต้แย้งคำชี้ขาดการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยอย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมิน ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ประจักษ์ว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโรงแรมของจำเลยมีห้องพักจำนวน 119 ห้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำห้องพักรวม 124 ห้องมาคำนวณค่ารายปีและค่าภาษี จึงเกินกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่จริงการคำนวณในส่วนที่เกินไปจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีสัญญากู้เงิน จำเลยปฏิเสธ ลายมือชื่อไม่ตรง พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยทำหนังสือสัญญากู้เงินและรับเงินจากโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนองที่ดิน ลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามประเด็นที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง แต่ ย. พยานโจทก์กลับเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำสัญญากู้เงิน ไม่ทราบว่าจำเลยลงชื่อสัญญากู้เงินและรับเงินที่กู้หรือไม่ และไม่ทราบว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้จำนองที่ดินพิพาทเป็นลายมือชื่อจำเลยหรือไม่ ส่วน ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งก็เบิกความทำนองเดียวกันว่าจำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้กู้ต่อหน้าพยานจึงไม่ยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยหรือไม่ ส่วน น. ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาของโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานโดยตรง โจทก์กลับไม่นำมาเบิกความยืนยันตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์เพียงเท่าที่นำสืบจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าไม่เคยแบ่งขายที่ดินและรับเงินค่าที่ดินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริง จำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอ้างว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานการรับเงิน จำวันที่ที่ตกลงซื้อขายไม่ได้ จำนวนเงินที่ตกลงซื้อขาย 50,000 บาท เป็นเงินจำนวนมากพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์และจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วข้ออ้างของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองตามฟ้องให้โจทก์
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอ้างว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานการรับเงิน จำวันที่ที่ตกลงซื้อขายไม่ได้ จำนวนเงินที่ตกลงซื้อขาย 50,000 บาท เป็นเงินจำนวนมากพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์และจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วข้ออ้างของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองตามฟ้องให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าในศาล: ข้อตกลงให้รังวัดที่ดินเพื่อวินิจฉัยสิทธิ และผลผูกพันตามข้อตกลง
การท้ากันในศาลก็คือการแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ในฝ่ายนั้นชนะ
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป