พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: การพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานสภาพสินค้าเสียหาย และความรับผิดของผู้ขนส่ง
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสภาพสินค้าตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล ผู้รับตราส่งพิสูจน์หักล้างได้
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวนน้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้ออ้างโจทก์และการนำสืบพยานเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ ย่อมไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อน โจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง คำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล.รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วย ที่ ล.ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการนำสืบเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ: ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อนโจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล. รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วยที่ ล ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, ค่าปรับ, การพิสูจน์ราคาที่ดิน, และอำนาจฟ้องร้อง
++ เรื่อง ซื้อขาย ค้ำประกัน ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกระสุนปืนที่ไม่อนุญาต การรับสารภาพมีผลบังคับตามกฎหมาย
กระสุนปืนชนิดใดจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลไม่อาจทราบได้เอง ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกระสุนปืนเล็กกลของกลางขนาด .223(5.56 มม.) จำนวน 340 นัด กับกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.(รัสเซี่ยน) จำนวน 200 นัด อันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้ ยิงได้และนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียน ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่อาจฟังข้อเท็จจริงให้แตกต่างออกไปได้ว่า กระสุนปืนเล็กกลขนาด .223(5.56 มม.) กับกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.(รัสเซี่ยน) ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนสามารถจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ออกตามความใน มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยมีเครื่อง กระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า กระสุนของกลางจำเลยได้มาจากการตรวจยึดจากกองกำลังต่างชาติ และอยู่ระหว่างส่งมอบแก่ทางราชการ จำเลยครอบครองกระสุนดังกล่าวในฐานะเจ้าหน้าที่ ของรัฐจึงไม่ต้องรับอนุญาตนั้น จึงขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในความครอบครองจำนวนมาก และเป็นกระสุนปืน ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ การกระทำผิดของจำเลยมีลักษณะร้ายแรง เป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่และการรับสินบน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย หาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจาก จ. ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่า โจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ. จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งข้อนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ. ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินบนของลูกจ้างส่งผลถึงการเลิกจ้าง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากจ.ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ.จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ.ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้างมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยปิดประกาศและการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ การดำเนินการตามมาตรา 79 วรรคแรกชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ และยื่นอุทธรณ์ในปัญหาว่าการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโดยปิดประกาศหน้าศาลเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 หรือไม่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก แล้วครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล โดยศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมายการดำเนินการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดย ประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยขาดนัดโดยไม่จงใจ จำเลยมีหน้าที่นำสืบแต่จำเลยนำสืบเพียงว่าไม่มีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยมิได้นำสืบถึงพฤติการณ์อย่างอื่นให้เห็น จึงฟังว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก แล้วครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล โดยศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมายการดำเนินการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดย ประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยขาดนัดโดยไม่จงใจ จำเลยมีหน้าที่นำสืบแต่จำเลยนำสืบเพียงว่าไม่มีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยมิได้นำสืบถึงพฤติการณ์อย่างอื่นให้เห็น จึงฟังว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายและนัดสืบพยานโดยปิดประกาศหน้าศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งโดยวิธีธรรมดาไม่ได้
ปัญหาว่าการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโดยปิดประกาศหน้าศาลให้จำเลยทราบเป็นการชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก แล้ว ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหน้าศาล ศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมาย การดำเนินการประกาศหน้าศาลจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก แล้ว ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหน้าศาล ศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมาย การดำเนินการประกาศหน้าศาลจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย