คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 84

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจขยายเวลาสัญญาและลดเบี้ยปรับ: พิจารณาเหตุผลและความเสียหายที่แท้จริง
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี และไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้
เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย มิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหายเต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา383 วรรคแรก
หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจลดค่าปรับสัญญา - เหตุผลทางธุรกิจและเหตุการณ์หลังทำสัญญา
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง ตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฎว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยมิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหาย เต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อม ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลน ปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานครอันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีรายชื่อพยานตามกำหนด และประเด็นอำนาจฟ้องที่สละสิทธิ์ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่าระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้าที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุสุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบจึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด การฟ้องรังวัด และประเด็นอำนาจฟ้องที่จำเลยสละประเด็น
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา และสิทธิในการเรียกเงินคืน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ ซึ่งเป็นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา แต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 369, 387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณา ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉยถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาแต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369,387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่ เป็นการฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อไม่เป็นไปตามคำท้า ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงท้ากันให้ส่งพินัยกรรมและเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5ค.16ถึงค.19 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจเพื่อตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องลงชื่อ "ผู้ทำพินัยกรรม"(ส.ผู้ตาย)ตามเอกสารหมาย ร.11และร.12 กับตัวอย่างลายมือชื่อของส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19ว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.11และร.12เปรียบเทียบกับลายมือชื่อ ของ ส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ได้ทุกลายมือชื่อว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เมื่อปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อ ส.ในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.19บางส่วนสามารถตรวจพิสูจน์ได้ กับลายมือชื่ออีกบางส่วนในเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ไม่สามารถตรวจพิสูจน์ ในกรณีนี้จึงไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานได้ ดังนี้ ผลการตรวจพิสูจน์จึงไม่เป็นไปตามคำท้าเพราะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทุกลายมือชื่อ จึงชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไป คดีนี้ได้สืบพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผู้คัดค้านสืบพยานได้ 2 ปาก ต่อมาผู้คัดค้านแถลงงดสืบพยานที่เหลือภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อตามที่คู่ความตกลงท้ากัน อันเป็นการแถลงเนื่องจากเข้าใจว่าผลการตรวจพิสูจน์ตรงตามคำท้า เมื่อปรากฏว่าผลการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นไปตามคำท้า จะถือว่าผู้คัดค้านไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือหาได้ไม่ จึงเห็นสมควรให้สืบพยานผู้คัดค้านที่เหลือต่อไป
of 210