คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 84

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อไม่เป็นไปตามคำท้า ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงท้ากันให้ส่งพินัยกรรมและเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5ค.16ถึงค.19 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจเพื่อตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องลงชื่อ "ผู้ทำพินัยกรรม"(ส.ผู้ตาย)ตามเอกสารหมาย ร.11และร.12 กับตัวอย่างลายมือชื่อของส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19ว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.11และร.12เปรียบเทียบกับลายมือชื่อ ของ ส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ได้ทุกลายมือชื่อว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เมื่อปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อ ส.ในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.19บางส่วนสามารถตรวจพิสูจน์ได้ กับลายมือชื่ออีกบางส่วนในเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ไม่สามารถตรวจพิสูจน์ ในกรณีนี้จึงไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานได้ ดังนี้ ผลการตรวจพิสูจน์จึงไม่เป็นไปตามคำท้าเพราะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทุกลายมือชื่อ จึงชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไป คดีนี้ได้สืบพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผู้คัดค้านสืบพยานได้ 2 ปาก ต่อมาผู้คัดค้านแถลงงดสืบพยานที่เหลือภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อตามที่คู่ความตกลงท้ากัน อันเป็นการแถลงเนื่องจากเข้าใจว่าผลการตรวจพิสูจน์ตรงตามคำท้า เมื่อปรากฏว่าผลการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นไปตามคำท้า จะถือว่าผู้คัดค้านไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือหาได้ไม่ จึงเห็นสมควรให้สืบพยานผู้คัดค้านที่เหลือต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกของทายาทโดยธรรม การจัดการมรดกโดยผู้จัดการ และอายุความฟ้องแบ่งมรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ. หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่า บ. เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ. โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป. เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ. ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับบ. จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและการจัดการมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ.หลังใช้ ป.พ.พ. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่าบ.เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ.โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป.เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป.จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ.ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับ บ.จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐานสอดคล้องประเด็นฟ้อง แม้มีรายละเอียดเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไปแต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงานกลาจะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลรับฟังได้หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทและพยานหลักฐานเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไป แต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงาน จะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม อันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้า ในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการ ดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ได้สอบสวน จำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วการที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการ ขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสาร พิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืน โจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยาน หลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันจะเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป.และ จ. ป.และ จ.ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป.และ จ.ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป.กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป.ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป.กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร ซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้ว การที่ จ.ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ.เอง จ.ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ป.ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนด จึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย - การพิสูจน์ความสัมพันธ์และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มี ส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประภันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้น ข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง และได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเป็นต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ลูกจ้างและทางการที่จ้าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มีส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้นข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมี หน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัย ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการขนส่งชำรุด: โจทก์ต้องพิสูจน์ความคาดหมายได้ของจำเลยต่อค่าเสียหายพิเศษ
โจทก์ฟ้องว่า การที่เครื่องตัดหินแกรนิต ของโจทก์แตกร้าวชำรุด ไม่สามารถใช้การได้ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการผลิตสินค้าประเภทแผ่นหินแกรนิต ซึ่งโจทก์ต้องส่งให้แก่ ลูกค้ามีจำนวนไม่เพียงพอ โจทก์จึงขาดประโยชน์เป็นเงิน 2,400,000 บาท นั้น เป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น พฤติการณ์เช่นนี้ล่วงหน้าก่อนแล้วแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงค่าเสียหาย อันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ดังกล่าว
of 210