คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 84

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน: อายุความ, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในระหว่างทำงานให้แก่โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานให้แก่โจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หลายครั้ง โดยบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำความเสียหายเมื่อใด อย่างไร จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินนอกเหนือจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 บุกรุกที่ดินมีโฉนดของโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินของโจทก์จนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้จนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และประเด็นว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยราคาสินค้าจริง หากราคาที่สำแดงถูกต้อง การประเมินเพิ่มเติมจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 แม้อธิบดีกรมสรรพากร โจทก์ที่ 2 จะมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร และจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบว่า การประเมินของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีผลบังคับใช้ของสัญญาเช่าซื้อแม้มีข้อผิดพลาดในการส่งเอกสาร และการผูกพันตามสัญญาจากการรับประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวโจทก์เพียงแต่มีภาระการพิสูจน์โดยนำพยานหลักฐานมานำสืบให้พอรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นไปดังที่โจทก์ฟ้องก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่า อ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้สืบพยานหลักฐานหักล้างข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงเพียงพอให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่ทนายความโจทก์ยื่นหนังสือรับรองที่ไม่ปรากฏว่า อ. ผู้มอบอำนาจมีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะหนังสือรับรองฉบับนี้สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้หลังวันทำสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นข้อผิดพลาดในการอ้างส่งเอกสาร เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ค้ำประกันไม่เสียอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้จำเลยขาดนัด
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7682/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีเกินอายุความ, การพิสูจน์ราคาตลาด, และการประเมินราคาซากรถยนต์
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ แม้เหตุผลในการคัดค้านของโจทก์จะไม่ได้ยกเรื่องการประเมินของเจ้าพนักงานขาดอายุความ ไม่ชอบด้วยมาตรา 88/6 แห่ง ป.รัษฎากรไว้ในคำอุทธรณ์ด้วย แต่ข้ออ้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ยกขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้ก็เป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อสนับสนุนว่าการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง ทั้ง ป. รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าวได้
จำเลยให้การรับว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มจริง แต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยจึงชอบด้วยมาตรา 88/6 แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยจึงเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินโดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มอบอำนาจให้ จ. มีอำนาจอนุมัติให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88/6 แห่ง ป. รัษฎากรแทนอธิบดีแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี นับแต่วันยื่นแบบแสดงรายการ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
โจทก์นำสืบแสดงให้เห็นว่าราคาตลาดของสารเคมีไม่อาจกำหนดให้แน่นอนตายตัวได้ ทั้งนำผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์และซื้อจากผู้อื่นมาสืบแสดงถึงราคาที่ได้ซื้อไปจากบริษัทอื่นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาตลาดแล้ว ส่วนจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างว่าราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาตลาดเพราะมีบริษัทอื่นขายไปในราคาสูงกว่าที่โจทก์ขายซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาแจ้งราคาตลาดไม่ตรงกับความจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายตามราคาตลาด จำเลยจึงไม่มีสิทธิให้เอาราคาทุนเป็นราคาตลาด
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทในเดือนธันวาคม 2533 แล้วขายไปในเดือนพฤษภาคม 2538 ในราคา 200,000 บาท อ้างว่าคนขับขับรถไปเกิดอุบัติเหตุพังทั้งคัน จึงขายไปในสภาพซากรถ แต่ปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวไม่ได้ทำประกันภัยไว้ทั้งๆที่โจทก์ทำประกันภัยรถยนต์คันอื่นของโจทก์ทุกคัน บันทึกการแจ้งความก็ไม่ได้ระบุว่าการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถอยู่ในสภาพเสียหายใช้การไม่ได้อย่างไร ทั้งโจทก์ยังไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จะได้รับชดใช้มูลค่าของรถที่โจทก์สูญเสียไปไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท หากคิดตามราคาตลาดของรถยนต์รุ่นเดียวกับโจทก์ที่ซื้อขายกันในขณะนั้น หากรถยนต์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ การที่จำเลยประเมินราคาขายรถยนต์ดังกล่าวตามราคาตลาด จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง/ตัวแทน จำเป็นต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนกระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการหรือผู้ใช้ วานยินยอม สั่งและสมประโยชน์ในการที่จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์กระบะในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู่ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว แต่โจทก์คงมี ค. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์กระบะไว้จากจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ ตามคำเบิกความของ ค. ดังกล่าวไม่ได้ความว่า ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความสัมพันธ์กันดังที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่อย่างใด ส่วนพยานโจทก์ปากอื่นก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการ แม้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเพียงโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ฟังได้ความดังกล่าวตามฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 เพราะจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งมีข้อความระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ขับขี่มิใช่ผู้เอาประกันภัยเพียงแต่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยโดยโจทก์มิได้ฟ้องเช่นนั้น เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องนอกประเด็น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้ประกอบกิจการ และภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในการฟ้องเรียกคืนภาษี
จำเลยเป็นนิติบุคคลอาคารชุดตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 จำเลยไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่ง ป. รัษฎากรมาตั้งแต่ต้น และไม่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีขายจากเจ้าของห้องชุดแล้วนำส่งให้แก่โจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิขอคืนภาษีขายทั้งหมดที่แสดงในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์ และจำเลยไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่ชำระไปมาหักออกจากภาษีขาย การที่จำเลยนำภาษีซื้อมาคำนวณหักออกจากภาษีขายแล้วได้รับเครดิตภาษี หรือรับคืนเป็นเงินสดไปจึงไม่ถูกต้อง จำเลยมีหน้าที่คืนภาษีซื้อทั้งหมดที่นำมาใช้คำนวณภาษีตามแบบแสดงรายการดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
จำเลยยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ค. 10 ตามประกาศกรมสรรพากรที่ขยายระยะเวลาขอคืนภาษีอากรสำหรับนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะเดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนธันวาคม 2540 จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ชำระเกินในปี 2535 และ 2536 คืน ส่วนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนธันวาคม 2540 แม้จำเลยจะไม่ได้ระบุจำนวนภาษีซื้อและภาษีขายของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2537 และเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2538 ในรายละเอียดของภาษีขายและภาษีซื้อที่แนบไปพร้อมกับคำร้องขอคืนภาษี จะถือว่าจำเลยไม่ได้ขอคืนภาษีสำหรับเดือนดังกล่าวไม่ได้ เพราะรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีขายแนบท้ายคำร้องเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่จะเป็นแนวทางให้เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบว่ารายการภาษีซื้อและภาษีขายที่จำเลยยื่นไว้ตามแบบแสดงรายการของเดือนที่ขอคืนภาษีอากรถูกต้องหรือไม่ และคำนวณว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตามคำขอหรือไม่ เพียงใด การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ไม่นำภาษีขายของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2537 และเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2538 ที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่จำเลยมาคำนวณหักออกจากภาษีซื้อที่จำเลยนำไปใช้หักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อภาษีขายที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่จำเลยสำหรับปี 2537 ถึงปี 2539 มากกว่าภาษีซื้อที่จำเลยใช้ในการคำนวณภาษีและรับคืนไปจากโจทก์เป็นเงินสดในปี 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระภาษีที่อ้างว่าจำเลยได้รับคืนเกินไปตามฟ้อง
คดีนี้ เจ้าพนักงานของโจทก์มิได้ประเมินให้จำเลยชำระภาษีเพิ่มเติม แต่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยคืนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไป จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (3) ซึ่งมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้ดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ และ ป. รัษฎากรได้บัญญัติไว้เพียงกำหนดเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และแบบในการขอคืนเท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้ขอคืนภาษีอากรที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการขอคืนภาษีดังกล่าวต้องอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีการประเมินภาษีเพิ่มเติมแก่จำเลย การที่จำเลยไม่นำข้อพิพาทเกี่ยวกับการคืนภาษีอากรมาฟ้องต่อศาลภาษีอากร คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องคืนเงินภาษีอากรให้แก่จำเลยตามคำร้องเท่านั้น
เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินอากรคืนตามคำร้องเพราะได้รับเงินภาษีอากรคืนไปแล้วเกินกว่าที่ควรได้รับ และฟ้องเรียกเงินภาษีอากรคืนจากจำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ว่าการคำนวณของเจ้าพนักงานถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยได้รับคืนเงินภาษีอากรไปจากโจทก์เกินไปตามฟ้องจริง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การคำนวณของเจ้าพนักงานของโจทก์ไม่ถูกต้อง จำเลยไม่ได้รับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนเกินไปตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยจำเลยครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จาก ก. ผู้กู้ ตามทางนำสืบของจำเลยผู้ค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาท และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์รับว่าได้รับเงินจาก ก. แต่ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามคำปฏิเสธของโจทก์ โจทก์ไม่นำสืบพยานเช่นว่านั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ก. ชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาทแล้ว ดังนี้ เป็นการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อพิพาทเดิมขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นการตั้งประเด็นใหม่หรือยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
of 210