พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ – การชำระหนี้ – อายุความ – ค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 35 ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศเสียได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น มิได้รวมถึงกรณีที่อนุญาโตตุลาการต่างประเทศจะต้องทำคำชี้ขาดภายใน 180 วัน นับแต่วันตั้งอนุญาโตตุลาการคนสุดท้าย
ภาระการพิสูจน์ว่าคู่สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ และผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับได้ทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณา หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุประการอื่นหรือไม่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 34 (1) และ (3) ตามลำดับ กำหนดให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิสูจน์ไม่ใช่ผู้ร้อง
ภาระการพิสูจน์ว่าคู่สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ และผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับได้ทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณา หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุประการอื่นหรือไม่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 34 (1) และ (3) ตามลำดับ กำหนดให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิสูจน์ไม่ใช่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีปิดกั้นทางสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ชอบที่ให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองว่าปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง มีความกว้าง 3 เมตร เหลือเพียง 1.50 เมตร ทำให้โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านใช้ทางสาธารณะไม่ได้หรือไม่สะดวก ขอให้เลิกปิดกั้น จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอนุญาตให้โจทก์และชาวบ้านใช้เดินผ่านเป็นครั้งคราว เช่นนี้มีประเด็นพิพาทเป็นข้อสำคัญว่ามีทางสาธารณะตามฟ้องและจำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นจริงหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามคู่ความและโจทก์ทั้งสองแถลงรับว่า ทางพิพาทในปัจจุบันเหลือเพียงกว้าง 1.50 เมตร โดยเดินเท้าหรือรถจักรยานยนต์ผ่านได้ ศาลชั้นต้นก็สั่งงดสืบพยานโจทก์ทั้งสามและพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่พิจารณาให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์หลังพิจารณาคดี, ผลของการจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา, และการแยกแยะนิติกรรมสัญญา
โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตทำการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้ดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างในฐานะผู้ว่าจ้าง ลูกจ้างกระทำละเมิด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่ ป. กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำหุ้นจากสัญญาเงินกู้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน และการโต้แย้งการขายทอดตลาด
การกู้เงินรายนี้มีผู้ให้กู้หลายบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นการที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ แต่ข้อตกลงเลือกศาลตามสัญญาฉบับนี้คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาด เพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญาและเนื่องจากตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมรดก สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไข และการยินยอมของทายาทคนอื่น
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยที่ 2 มารดาเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ฝ่ายผู้จะซื้อ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายก็ตาม แต่การแสดงออกของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวเป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและผู้ครอบครองที่ดินพิพาทออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1และที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทอันจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และการนำจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ก็หาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ไม่ ทั้งการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่ เพราะเป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่า จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนเข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ความแท้จริง
โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 110,000 บาท แต่จำเลยอ้างว่ากู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก และความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิชอบและไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้เช่นนั้นเพราะจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสุจริต
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลมีอำนาจลดจำนวนเบี้ยปรับได้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากความเสียหายที่แท้จริง
แม้เบี้ยปรับจะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแต่ก็มิใช่ถือเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่เด็ดขาด เพราะหากเจ้าหนี้เห็นว่าเบี้ยปรับที่กำหนดไว้น้อยเกินไปก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 ขณะเดียวกันถ้าเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็ให้อำนาจศาลที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงทางหนึ่งย่อมได้จากการนำสืบของคู่ความ เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าการผิดสัญญาของจำเลยที่ไม่ส่งมอบลิฟท์ทำให้ระยะเวลาและแผนงานของโจทก์ที่กำหนดไว้เสียหาย โดยไม่มีรายละเอียดอื่นใดจึงหามีความชัดแจ้งพอกับความเสียหายที่แท้จริงที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเบี้ยปรับเต็มตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญาไม่ แม้จำเลยจะมิได้ให้การและนำสืบหักล้าง แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217