พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404-1405/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก, การจัดการมรดก, ฟ้องซ้ำ, และการดำเนินการตามพินัยกรรม
มาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อำนาจศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ฉะนั้น เมื่อประเด็นที่จำเลยต่อสู้เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งถ้าได้ความแล้วคดีอาจพิจารณาพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องพิจารณาประเด็นข้ออื่นๆ แล้ว ศาลอาจสั่งให้จำเลยนำสืบก่อนทุกประเด็นก็ได้
พินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 นั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น และพินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์มีอำนาจจัดการและเก็บค่าเช่านั้น คำว่า จัดการ ในที่นี้ย่อมหมายถึงการดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการฟ้องร้องคดีด้วย
พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกรวมสี่คน เมื่อเหลือโจทก์คนเดียวเพราะผู้จัดการมรดกสองคนถึงแก่กรรมและผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งลาออก เมื่อพินัยกรรมมิได้กำหนดให้จัดการมรดกพร้อมกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
การจัดการมรดกไม่ใช่สิทธิเรียกร้อง ไม่มีอายุความ เมื่อจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการตลอดไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องนั้น ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นต่อสู้เรื่องขับไล่ ฉะนั้น โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยได้ใหม่ โดยไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 นั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น และพินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์มีอำนาจจัดการและเก็บค่าเช่านั้น คำว่า จัดการ ในที่นี้ย่อมหมายถึงการดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการฟ้องร้องคดีด้วย
พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกรวมสี่คน เมื่อเหลือโจทก์คนเดียวเพราะผู้จัดการมรดกสองคนถึงแก่กรรมและผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งลาออก เมื่อพินัยกรรมมิได้กำหนดให้จัดการมรดกพร้อมกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
การจัดการมรดกไม่ใช่สิทธิเรียกร้อง ไม่มีอายุความ เมื่อจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการตลอดไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องนั้น ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นต่อสู้เรื่องขับไล่ ฉะนั้น โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยได้ใหม่ โดยไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ