พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการปลอมเงินตราและใช้เงินปลอมลักทรัพย์ การหักวันคุมขัง และการแจ้งข้อหา
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอมกับฉ้อโกง: ความผิดต่างกรรมกัน
การสับเปลี่ยนธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่และได้ไปซึ่งธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่ตามที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีธนบัตรปลอมไว้แล้วนำออกใช้สับเปลี่ยนกับธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่เป็นการมีไว้เพื่อนำออกใช้ตามความใน ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จำเลยกับพวกย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันและสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอม ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกัน จำเลยต้องมีเจตนาตกลงร่วมกัน พยานหลักฐานต้องชัดเจน
จำเลยทั้งสามเดินทางมาที่ห้างสรรพสินค้า ซ. สาขาพระราม 9 ด้วยกัน แล้วจำเลยที่ 1 ถูกจับกุมก่อนพร้อมธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมที่เก็บไว้ในซองสีน้ำตาลซ่อนอยู่กับตัวของจำเลยที่ 1 ต่อมาจึงจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คนละแห่งกันกับที่จับกุมจำเลยที่ 1 แม้อยู่ในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน แต่ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะครอบครองธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมร่วมกัน โจทก์คงอาศัยพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามที่ร่วมเดินทางมาด้วยกันเท่านั้นที่เป็นหลักในการดำเนินคดี แต่บุคคลที่เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป โจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดที่ทราบถึงรายละเอียดของการซื้อและส่งมอบธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอม พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีการกระทำร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่มีธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และรู้ถึงการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรกด้วยหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11898/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (โทรศัพท์และเครื่องนับเงิน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีธนบัตรปลอม
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อกับสายลับ จำเลยที่ 2 และติดต่อซึ่งกันและกัน เพื่อซื้อขายและจัดหาธนบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปลอม โทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ใช้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลต่างประเทศปลอม อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4930/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา แม้ขนาดไม่เท่าของจริงแต่ยังคงลวงตาได้ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 240 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตร หรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา" คำว่า "ทำปลอมขึ้น" หมายความถึงทำโดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงต้องทำในประการที่จะให้มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลกำหนด เช่น มีลวดลาย สี ขนาด ลักษณะของกระดาษอย่างเดียวกัน ซึ่งจะต้องพอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา แต่ไม่จำต้องถึงกับต้องพิจารณาจึงจะรู้ว่าปลอม เพียงแต่ลวงตาซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีอาจหลงเข้าใจว่าเป็นเงินตราได้ ก็ถือว่าเป็นการทำปลอมขึ้นแล้ว และการทำปลอมย่อมจะเหมือนของจริงไปทุกอย่างไม่มีผิดกันเลยไม่ได้ ย่อมต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดจากของจริงบ้างไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การปลอมจะผิดจากของจริงที่ตั้งใจทำให้เหมือนมากน้อยเพียงใดจึงไม่สำคัญ
การที่จำเลยนำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นเงินตราที่รัฐบาลไทยออกใช้จำนวน 46 ฉบับ มาตัดออกเป็น 2 ท่อนทุกฉบับ ท่อนหนึ่งยาวเกินครึ่งฉบับ อีกท่อนหนึ่งยาวไม่ถึงครึ่งฉบับ แล้วนำท่อนซ้ายที่สั้นมาต่อสลับท่อนเข้ากับท่อนขวาที่สั้นของอีกฉบับหนึ่งด้วยเทปใส ย่อมเป็นการทำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ขึ้นใหม่อีก 23 ฉบับ โดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงเป็นการทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลออกไว้ การที่ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรชำรุดตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 18 ประเภทต่อท่อนผิด ทำให้ไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเงินตรา เพราะหากธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรดังกล่าวย่อมไม่เป็นของปลอม การที่ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายแสดงว่าเป็นของปลอม จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเงินตราและมีเงินตราปลอมเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นเงินตราปลอมตาม ป.อ. มาตรา 240 และ 244
การที่จำเลยนำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นเงินตราที่รัฐบาลไทยออกใช้จำนวน 46 ฉบับ มาตัดออกเป็น 2 ท่อนทุกฉบับ ท่อนหนึ่งยาวเกินครึ่งฉบับ อีกท่อนหนึ่งยาวไม่ถึงครึ่งฉบับ แล้วนำท่อนซ้ายที่สั้นมาต่อสลับท่อนเข้ากับท่อนขวาที่สั้นของอีกฉบับหนึ่งด้วยเทปใส ย่อมเป็นการทำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ขึ้นใหม่อีก 23 ฉบับ โดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงเป็นการทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลออกไว้ การที่ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรชำรุดตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 18 ประเภทต่อท่อนผิด ทำให้ไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเงินตรา เพราะหากธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรดังกล่าวย่อมไม่เป็นของปลอม การที่ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายแสดงว่าเป็นของปลอม จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเงินตราและมีเงินตราปลอมเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นเงินตราปลอมตาม ป.อ. มาตรา 240 และ 244
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20005-20007/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม: การรู้เจตนาจากพฤติการณ์ และความผิดกรรมเดียว
องค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 อันเป็นความผิดตามฟ้องคือ ผู้ซึ่งมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศนั้นต้องได้ธนบัตรนั้นมาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ซึ่งการรู้หรือไม่รู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมดังกล่าวเป็นเรื่องของเจตนาซึ่งอยู่ภายใน การพิจารณาว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่จึงจำต้องอาศัยพฤติการณ์ของจำเลยและพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องบ่งชี้ การที่จำเลยนำธนบัตรปลอมไปทยอยแลกหลายครั้ง ครั้งละไม่กี่ฉบับ และแลกกับธนาคารหลายแห่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน เป็นพฤติการณ์ที่ผิดปกติวิสัยไปจากที่สุจริตชนพึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้การแลกธนบัตรของจำเลยเป็นที่สังเกตอันจะทำให้มีการตรวจสอบธนบัตรของกลางอย่างละเอียดว่าเป็นธนบัตรปลอมหรือไม่ บ่งชี้ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าธนบัตรที่จำเลยนำไปแลกนั้นเป็นธนบัตรปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง
ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศอันตนได้มาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ แม้จะนำออกใช้หลายคราวจำเลยก็มีความผิดเพียงกรรมเดียว
ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศอันตนได้มาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ แม้จะนำออกใช้หลายคราวจำเลยก็มีความผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 240, 244 และ 341 โดยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท จึงเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงให้รอฟังคำพิพากษาและได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังในวันนั้นเองโดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วโจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ดังกล่าว โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดในสองมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และมาตรา 341 ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดในสองมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และมาตรา 341 ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานใช้ธนบัตรปลอม: ศาลลงโทษฐานสนับสนุนได้แม้ฟ้องเป็นตัวการ
การที่จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกพักที่บ้านของจำเลยที่ 3 เพื่อใช้เป็นสถานที่ปรึกษาหารือกันในการนำธนบัตรปลอมของกลางไปใช้นั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการนำธนบัตรปลอมของกลางไปใช้ จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญา: วันเวลาเกิดเหตุและข้อเท็จจริงต่างกัน
ฟ้องของโจทก์ได้ระบุวันวันเวลาที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ส่วนกรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง เป็นเพียงข้อที่ศาลอาจถือเป็นเหตุยกฟ้องในชั้นพิพากษาคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางวันและข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่เวลากลางวันต่อเนื่องไปจนถึงเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางวันและข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่เวลากลางวันต่อเนื่องไปจนถึงเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ธนบัตรปลอมสำเร็จ แม้ผู้เสียหายยังไม่รับเงินสมบูรณ์ ศาลฎีกาพิจารณาโทษเบาลงได้เพื่อความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้น ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้ นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่า เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงิน ที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนัก เกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้น พิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้