พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และการร่วมรับผิดในสัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากสัญญาว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์สองจำนวน คือจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้อง เพิ่มเงินจ้างบุคคลอื่นเป็นเงิน 856,067.45 บาท และอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท แต่ยกฟ้องค่าเสียหาย ส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ในส่วนนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในส่วนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เป็นปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้ ให้จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหานี้ได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายสองจำนวน คือเงินที่โจทก์ต้องเพิ่มค่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้าง 856,067.45 บาท และเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงาน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท ยกฟ้องค่าเสียหายส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงาน โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ศาลยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไป ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ข้อ 20(1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไป ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ข้อ 20(1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาเช่าซื้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างชำระก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดค่าเสียหายได้
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นข้อสัญญากำหนดการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญา ซึ่งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้เป็นการล่วงหน้า มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติหรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้ไว้ แต่หากเป็นราคาขายรถยนต์ที่กำหนดไว้ส่วนหนึ่งรวมอยู่ด้วยข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากศาลเห็นว่าค่าเสียหายนี้สูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: การคำนวณค่าเสียหาย, ค่าเสื่อมราคา, และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆ ผู้เช่าซื้อจะชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วน เป็นวิธีการคำนวณค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อ มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด เงินที่ผิดนัดค้างชำระหมายถึงหนี้เงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ ศาลจึงบังคับให้ผู้เช่าซื้อชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการปรับลดเบี้ยปรับ: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดได้
ข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ถ้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของ จนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้เองตามมาตรา 383 วรรคหนึ่งไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขาย, สัญญาทรัสต์รีซีท, ศาลลดเบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ยสูงเกินสมควร
การที่ธนาคารโจทก์บอกเลิกสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อให้จำเลยนำเงินค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแล้วคืนโจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ย เป็นผลเพียงให้สัญญาทรัสต์รีซีทสิ้นสุดลง ส่วนความผูกพันในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาที่ล่วงมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญายังคงมีเหมือนเดิมกรณีไม่อาจนำเรื่องการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาใช้บังคับ
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งให้อำนาจศาลที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งให้อำนาจศาลที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขายและผลของการบอกเลิกสัญญา โดยศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์บอกเลิกสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อให้จำเลยนำเงินค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแล้วคืนโจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ย เป็นผลเพียงให้สัญญาทรัสต์รีซีทสิ้นสุดลง ส่วนความผูกพันในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาที่ล่วงมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญายังคงมีเหมือนเดิม กรณีไม่อาจนำเรื่องการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาใช้บังคับได้
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญา, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วน, ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หมายความว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญาได้ดังนี้จึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะผ่อนผันให้โดยคิดดอกเบี้ยไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี โดยเริ่มแรกคิดเพียงร้อยละ 12.25 ต่อปีและต่อมาปรับเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้กลายเป็นเบี้ยปรับแต่อย่างใด
ส่วนข้อตกลงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ตามกำหนดงวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้นั้น หมายถึงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ19 ต่อปี ดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้
ส่วนข้อตกลงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ตามกำหนดงวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้นั้น หมายถึงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ19 ต่อปี ดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังผิดนัดกู้เงิน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดลงได้