พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, เงินค้ำประกัน: การหักชดค่าเสียหายและอำนาจลดเบี้ยปรับของศาล
ค่าควบคุมงานกรณีจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญานับแต่เวลาที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงาน และค่าควบคุมงานกรณีที่โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วจนถึงงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญา เมื่อได้ความว่าโจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จจึงเป็นค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงหาได้เป็นเบี้ยปรับไม่
ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 แล้ว โดยระบุในสัญญาจ้างข้อ 3 ว่าให้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา เงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จึงนำไปหักจากค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลกำหนดให้โจทก์ได้
ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 แล้ว โดยระบุในสัญญาจ้างข้อ 3 ว่าให้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา เงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จึงนำไปหักจากค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลกำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่การงดเบี้ยปรับทั้งหมดไม่ถูกต้อง
ประกาศของธนาคารโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกโดยอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดมีข้อความระบุชัดว่า ธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 24ต่อปี สำหรับลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในส่วนที่เกินวงเงินหรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราวหรือในกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดสัญญากู้เงินแล้วต่อมามีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นร้อยละ 25 ต่อปี แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปี เฉพาะกรณีที่เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือกรณีที่ลูกหนี้ประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญากู้เงินหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ ข้อกำหนดที่ให้โจทก์เรียกเอาดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 24 หรือร้อยละ 25 ต่อปีเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญากู้เงินย่อมเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แต่ที่ศาลชั้นต้นลดจากร้อยละ 25 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 19 ต่อปีเท่ากับอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสัญญา และการแจ้งเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินกำหนดไว้ 2 อัตรา คิดอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา และอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อตามสัญญาดอกเบี้ยสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยสูงสุดไม่ผิดเงื่อนไข แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาประสงค์จะให้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาโดยกำหนดเป็นค่าเสียหายล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน แม้สัญญาอนุญาตให้ปรับขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญา จะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความ เหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญา คืออัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 13.5 ต่อปี หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัด หรือผิดเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออก โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด จะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัด โจทก์เองก็ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องชำระในวันทำสัญญา ส่วนเงินผ่อนชำระหลังวันทำสัญญาเป็นเพียงการชำระราคาส่วนหนึ่ง
มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำสัญญาซื้อขายที่ดิน, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การคืนเงิน
มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้วและข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น จำเลยมีสิทธิรับได้ทั้งสองจำนวน ส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้าเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7893/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าของคู่สัญญาและผลกระทบต่อเบี้ยปรับ: ศาลลดเบี้ยปรับเมื่อความเสียหายเกิดจากทั้งจำเลยและโจทก์
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ให้ก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารแบ่งงวดงานออกเป็น 3 งวด จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานงวดที่ 1 เพียงงวดเดียวหลังจากนั้นไม่ดำเนินงานต่อไปจนโจทก์ต้องขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 180 วัน เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉยไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อ แม้โจทก์จะมีหนังสือ 3 ฉบับ เร่งรัดให้จำเลยที่ 1 รีบดำเนินการมิฉะนั้นจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ดำเนินการตามที่เร่งรัดแต่ประการใด พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงย่อมจะต้องอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอดและเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 น่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญาและยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีกถึง 648 วัน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าว โจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ให้ทำการก่อสร้างต่อในส่วนที่เหลือหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1แล้วเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า ความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาก่อสร้างทวีสูงขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยตามสัญญาจ้างก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ศาลจึงใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันเมื่อปรากฏว่า วันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และ 859ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันในวันครบกำหนดโจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศ เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศ เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้