คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 383

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจขยายเวลาสัญญาและลดเบี้ยปรับ: พิจารณาเหตุผลและความเสียหายที่แท้จริง
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี และไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้
เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย มิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหายเต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา383 วรรคแรก
หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่า การคิดค่าเสียหาย ค่าเบี้ยปรับ และการคืนเงินมัดจำ
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงิน ประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลย สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้ บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379,381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้ สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะ ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลย ชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อ ของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกันแต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอา ได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุ ให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบ หรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชย การยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงิน ค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับ ทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้า เมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียก เอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหาย ที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่า เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวน พอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดกรณีเดียว ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัทป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหาย ที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้า ทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่า ในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่า ให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลย ผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่า นั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ ด้วย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้ จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 เพราะ มิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่า เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่าผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้วหลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยโจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหัก ออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า, ค่าชดเชยยกเลิกสัญญา, และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงินประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 379, 381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้
สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน
เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกัน แต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้าเมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหายที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดกรณีเดียว
ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัท ป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่าในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222 ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่านั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ด้วยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก
แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 377 เพราะมิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้ จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้ว หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย โจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหักออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: ดอกเบี้ย, ค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ"ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวน เงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศ กระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับเพราะ ตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้ ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่ง ในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน: ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้, อัตราดอกเบี้ย, และค่าทนายความที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับ เพราะตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. แต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที" และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดีและบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าปรับงานก่อสร้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับและพิพากษาให้ชำระค่าจ้างคงเหลือ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญารับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงานแก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึงกรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลง และเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงินค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกาต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับจากการผิดสัญญาและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญา รับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลย ที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่า ที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้าย ที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค ในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงาน แก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมาก จนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์ และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การ ถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึง กรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลงและเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้าง ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงิน ค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกา ต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิด ต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการลดเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจปรับปรุงยอดหนี้ให้ถูกต้องได้
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่ เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่ จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลย ให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และ หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิด ดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหายดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมา สูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็น จำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงิน ดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้น จึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษา เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดและการปรับปรุงเบี้ยปรับ: สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยสูงสุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ดุลพินิจศาล
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลยให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14ต่อปี
ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และหากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมาสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงินดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้เงิน: สัญญาจำนองเป็นประกัน ต้องดูอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินเป็นหลัก แม้มีข้อตกลงดอกเบี้ยสูงกว่า
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ12.75 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ย ขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์ มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ย เงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงินถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจากจำเลยได้
of 49