พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้เงินจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12.5 ต่อปี มีข้อสัญญาว่า หากว่าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนด ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตามประกาศใด ๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมนับแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ โดยเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะภาพนิติกรรม, การบังคับตามสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และผลของการยอมรับสัญญา
ปัญหาที่ว่านิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่จำเลยที่4ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยที่4ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่4ระบุว่า"จำเลยที่4ยินยอมคืนเงินดาวน์จำนวน3,500,000บาทให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันที่9พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ เมื่อจำเลยที่4ให้การรับว่าจำเลยที่5ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีกเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่4ยอมรับแล้วดังนั้นแม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการอ้างโมฆะนิติกรรม, ดอกเบี้ยในสัญญา, และผลผูกพันสัญญาแม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยที่ 4 ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยที่ 4 ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายระงับ สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของผู้ขาย สิทธิค่าเช่าตกเป็นของผู้รับโอน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดว่า หากสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเหตุอันระงับไปด้วยมิใช่ความผิดของผู้ขายแล้ว บรรดาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอื่นใดอันทำให้ที่ดินมีราคาเพิ่มขึ้นให้ตกเป็นของผู้ขายทั้งสิ้น มิใช่เป็นการกำหนดเบี้ยปรับหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตาม ป.พ.พ.มาตรา379 เพราะในกรณีสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ระงับลงด้วยเหตุใดก็ตามที่มิใช่ความผิดของผู้ขาย แม้จะมิใช่เป็นความผิดของผู้ซื้อเลย สิ่งก่อสร้างก็ต้องตกเป็นของผู้ขายตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย การที่คลังสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายตามข้อสัญญาจึงหาได้เป็นกรณีเบี้ยปรับสูงเกินส่วนไม่
บริษัท พ.ผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้องถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับบริษัท พ.โดยชอบแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับบริษัท พ.จึงระงับไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง คลังสินค้าส่วนที่สร้างอยู่บนที่ดินมีโฉนดของผู้ร้องย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และกรณีเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าของบริษัท พ. ผู้โอนที่มีต่อจำเลยผู้เช่าด้วย บริษัท พ.ไม่มีสิทธิเรียกร้องการเก็บค่าเช่าคลังสินค้าในส่วนที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวของผู้ร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากจำเลยสำหรับคลังสินค้าส่วนที่รับโอนมาตามสัดส่วน
บริษัท พ.ผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้องถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับบริษัท พ.โดยชอบแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับบริษัท พ.จึงระงับไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง คลังสินค้าส่วนที่สร้างอยู่บนที่ดินมีโฉนดของผู้ร้องย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และกรณีเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าของบริษัท พ. ผู้โอนที่มีต่อจำเลยผู้เช่าด้วย บริษัท พ.ไม่มีสิทธิเรียกร้องการเก็บค่าเช่าคลังสินค้าในส่วนที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวของผู้ร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากจำเลยสำหรับคลังสินค้าส่วนที่รับโอนมาตามสัดส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์คลังสินค้าตกเป็นของผู้ขายตามสัญญาจะซื้อขายเมื่อสัญญาเป็นโมฆะจากเหตุผู้ซื้อผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดว่าหากสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเหตุอันระงับไปด้วยมิใช่ความผิดของผู้ขายแล้วบรรดาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอื่นใดอันทำให้ที่ดินมีราคาเพิ่มขึ้นให้ตกเป็นของผู้ขายทั้งสิ้นมิใช่เป็นการกำหนดเบี้ยปรับหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379เพราะในกรณีสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ระงับลงด้วยเหตุใดก็ตามที่มิใช่ความผิดของผู้ขายแม้จะมิใช่เป็นความผิดของผู้ซื้อเลยสิ่งก่อสร้างก็ต้องตกเป็นของผู้ขายตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วยการที่คลังสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายตามข้อสัญญาจึงหาได้เป็นกรณีเบี้ยปรับสูงเกิดส่วนไม่ บริษัทพ.ผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้องถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับบริษัทพ.โดยชอบแล้วสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับบริษัทพ.จึงระงับไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ร้องคลังสินค้าส่วนที่สร้างอยู่บนที่ดินมีโฉนดของผู้ร้องย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและกรณีเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569ผู้ร้องซื่งเป็นผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าของบริษัทพ.ผู้โอนที่มีต่อจำเลยผู้เช่าด้วยบริษัทพ.ไม่มีสิทธิเรียกร้องการเก็บค่าเช่าคลังสินค้าในส่วนที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวของผู้ร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้องผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากจำเลยสำหรับคลังสินค้าส่วนที่รับโอนมาตามสัดส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ศาลมีดุลยพินิจกำหนดค่าขาดประโยชน์และปรับลดค่าเสียหายตามสัญญาได้
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เป็นเวลา1ปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนนั้นการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้เพราะมิฉะนั้นค่าขาดประโยชน์อาจเกินราคารถยนต์ที่เช่าซื้อประกอบกับต้องคำนึงว่าการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อจะใช้ไปได้นานอีกเท่าไรจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอ ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ8ที่ระบุว่าในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดีผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมดข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา574วรรคแรกแต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7639/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดสัญญา: ดุลพินิจศาลและเบี้ยปรับล่วงหน้า
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เป็นเวลา 1 ปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนนั้น การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ เพราะมิฉะนั้นค่าขาดประโยชน์อาจเกินราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ ประกอบกับต้องคำนึงว่าการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อจะใช้ไปได้นานอีกเท่าไร จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอ
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ที่ระบุว่า ในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดี ผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก แต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ที่ระบุว่า ในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดี ผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก แต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, ค่าเสื่อมสภาพ, และดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือ ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ถึงงวดที่ 12 วันที่ 4 กันยายน 2534 ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน 652,584 บาท ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาด-ประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วย ดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิด
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมแต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391และมาตรา392บัญญัติว่าการชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369กล่าวคือให้นำมาตรา369ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่าการที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่4ตุลาคม2533ถึงงวดที่12วันที่4กันยายน2534ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน652,584บาทถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วยดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้หมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่นๆที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหายและหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย"ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้นส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญาแต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - การผิดสัญญา - การจดทะเบียนโอน - ค่าปรับ - การบังคับตามสัญญา
โจทก์ชำระค่างวดไม่ครบตามสัญญาแต่จำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาไม่กลับรับชำระหนี้ต่อแสดงว่าจำเลยมีความประสงค์จะให้บังคับตามสัญญาต่อไป สัญญา ซื้อขายเป็น สัญญาต่างตอบแทน โจทก์ในฐานะ ผู้ซื้อชอบที่จะปฏิเสธไม่ชำระราคาจนกว่าจำเลยผู้ขายจะยอม จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ได้ไม่ถือว่าโจทก์ ผิดสัญญา ใน สัญญาจะซื้อจะขายกำหนด ค่าปรับไว้สูงกว่าราคาที่ซื้อขายกัน ค่าปรับจึงสูงเกินส่วน