พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากความล่าช้าในการส่งมอบและติดตั้งตามสัญญาซื้อขาย การตีความมูลค่าที่ใช้คำนวณค่าปรับ
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาทคิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาท และการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 61 ทวิ วรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า "ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์ อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12 แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์: การตีความ 'ชุด' และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาท คิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาทและการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1 นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 61 ทวิวรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า"ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: เบี้ยปรับเป็นดุลพินิจศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าค่าปรับสูงเกินไปเมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่าปรับก็ย่อมทำได้เพราะค่าปรับตามสัญญาประกันชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่มีอำนาจจะลดค่าปรับให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ใช่สัญญากู้ยืม ดอกเบี้ย 20% ไม่ขัดกฎหมายดอกเบี้ย แต่เป็นค่าเสียหายที่ศาลใช้ดุลพินิจได้
หนังสือรับสภาพหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระมิใช่สัญญากู้ยืมเงินข้อตกลงที่ว่าหากจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20ต่อปีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าให้คิดดอกเบี้ยเสมือนเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ใช่สัญญากู้ยืม ดอกเบี้ย 20% ถือเป็นค่าเสียหายที่ตกลงกันได้ ศาลมีอำนาจลดได้
หนังสือรับสภาพหนี้มิใช่สัญญากู้ยืมเงินข้อตกลงที่ว่าหากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20ต่อปีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯถือว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าให้คิดดอกเบี้ยเสมือนเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับการริบตามสัญญาซื้อขาย ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนมัดจำเหมือนเบี้ยปรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตามมาตรา378กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืนเว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา379เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและการริบเบี้ยปรับมาตรา383ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรจึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหลังใช้สิทธิปรับ ค่าปรับรายวันและค่าเสียหายที่พอสมควร
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว จำเลยมิได้ส่งมอบ โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบสิ่งของ กับจำเลยมีหนังสือตอบแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของ แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจำเลยยอมปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องค่าปรับ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามที่สัญญาซื้อขายระบุไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาได้
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนค้าต่าง, ความรับผิดของตัวแทนและผู้ค้ำประกัน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, การระงับหนี้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้" สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันภัยฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาทบวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหายข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 811 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปีเมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย, ความรับผิดของตัวแทน, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทน ข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้..." สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้