คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 383

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 488 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเลิกกัน, ค่าชดใช้การงาน, เบี้ยปรับ, ศาลลดหย่อนค่าปรับได้, คืนสู่ฐานะเดิม
โดยปกติเมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามสมควรค่าแห่งการนั้น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม โจทก์ผู้รับจ้างจึงย่อมมีสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้างไปแล้ว การที่สัญญาข้อ 9 ดังกล่าวระบุให้บรรดางานที่โจทก์ได้ทำขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยโจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เพื่อเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ จึงเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งงานแก่โจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเสมอไปไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานตามจำนวนค่าจ้างไปเป็นเงิน 504,000 บาท จำเลยชำระแล้ว 300,000 บาท เมื่อคำนึงถึงค่าปรับรายวันที่จำเลยมิได้เรียกร้องประกอบกับความเสียหายอย่างอื่นที่จำเลยได้รับแล้ว เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์อีกเพียง 50,000 บาท ซึ่งแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะใช้ถ้อยคำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้าง แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเงินตามควรค่าแห่งงานที่กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์เพื่อการกลับคืนสู่ฐานะเดิมและศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงแล้วนั่นเอง หากจำเลยเห็นว่าตนไม่ต้องรับผิดก็ชอบที่จะอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ เพียงแต่มีคำขอมาในคำแก้อุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น ซึ่งไม่อาจกระทำได้ปัญหาว่าจำเลยจะต้องชำระเงินจำนวน 50,000 บาท แก่โจทก์หรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะต้องยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3216/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาระหว่างบริษัทในเครือ, การริบเงินมัดจำ, และเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยกำหนดเงื่อนไขในข้อ 1 ว่าในการปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินที่ซื้อขาย ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะว่าจ้างผู้จะขายหรือบริษัทในเครือของผู้จะขายเป็นผู้ปลูกสร้างโดยจะใช้แบบของผู้จะขายเท่านั้น และโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ท. ปลูกสร้างบ้านแบบกรรณิการ์ลงบนที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย จำเลยและบริษัท ท. ต่างมี บ. และ ธ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเช่นเดียวกัน สำนักงานที่ตั้งก็เป็นสถานที่เดียวกัน ผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านก็เป็นชุดเดียวกัน บริษัท ท. จึงเป็นบริษัทในเครือของจำเลยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในการขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยแบ่งแยกกันทำหน้าที่ดำเนินการในด้านต่างๆ จึงต้องร่วมกันผูกพันตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่เพียงผู้เดียวให้รับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้ จำเลยจะอ้างการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือมาปฏิเสธ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความผูกพันกับบริษัท ท. ที่จะต้องคืนเงินค่าปลูกสร้างบ้านและรั้วบ้านหาได้ไม่
เงินที่โจทก์ทั้งสองมอบให้แก่จำเลยในวันจองซื้อที่ดินพร้อมบ้าน ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองส่งมอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นหลักฐานและเป็นการประกันในการปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นมัดจำ ส่วนเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินนั้น ตามสัญญาดังกล่าวระบุว่าให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้งวดที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดินและค่าพัฒนาที่ดินตามสัญญามิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาและสัญญาเป็นอันยกเลิก จำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นได้ ส่วนเงินค่าที่ดิน ค่าปลูกสร้างบ้าน ค่าสร้างรั้วและค่าต่อเติมบ้านที่โจทก์ทั้งสองชำระให้จำเลย จำเลยจะต้องให้โจทก์ทั้งสองกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม การที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาเป็นอันยกเลิก โจทก์ทั้งสองยินยอมให้ริบเงินที่ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อลดเบี้ยปรับลงโดยให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่ เพราะการที่จำเลยริบเงินดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า: การชำระค่าไฟฟ้าเมื่อเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด และการลดเบี้ยปรับ
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าไฟฟ้าจากโจทก์รับผิดชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมแก่โจทก์ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อนตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อน ผู้ซื้อยินยอมชำระค่าไฟฟ้าประจำเดือนไปก่อน โดยให้นำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของ 3 เดือนหลังสุดที่ถือว่าปกติติดต่อกัน หรือค่าไฟฟ้าที่คำนวณพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า โดยอาศัยหลักฐานข้อมูล ซึ่งตรวจสอบได้ในช่วงเวลานั้น มาเป็นค่าไฟฟ้าประจำเดือนของเดือนที่เริ่มมีการผิดพลาดเป็นต้นไป หากภายหลังการตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า มีผลแตกต่างจากที่เรียกเก็บไปแล้วนั้น คู่สัญญายินยอมให้เก็บเพิ่มหรือจ่ายคืน แล้วแต่กรณี" โจทก์มิได้อ้างในคำฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อเจตนากระทำหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้าและหรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 9 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้กระทำหรือใช้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาข้อ 9 นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือในประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สืบพยานหลักฐานมาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243 (1)
ดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ปรากฏตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าว่าเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าโดยกำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยอัตรานี้จึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากศาลเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมพิจารณาลดลงเป็นจำนวนพอสมควรไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบเห็นถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าว่าสูงถึงจำนวนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ศาลฎีกาเห็นว่า เบี้ยปรับที่เป็นดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสูงเกินไป จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4521-4522/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองซื้อขาย - การบอกเลิกสัญญา - เบี้ยปรับ - การคืนเงิน - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
จำเลยบอกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าห้องพักอาศัยในอาคารชุดของจำเลยแก่โจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญา ทำให้สัญญาเลิกกัน คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรัตามมาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินสมควรศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามมาตรา 383 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด จำเลยก็ไม่มีสิทธิริบเอาทั้งหมดเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจากการผิดสัญญาของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับเสียหายไม่น้อยกว่าเบี้ยปรับที่รับไว้
สัญญาจองสิทธิการเช่าห้องพักอาศัยในอาคารชุดของจำเลยผูกพันเฉพาะโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยซึ่งต้องกำหนดไว้ในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียกร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะเพิ่งยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้ และการพิพากษาเกินคำขอเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี และเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่สัญญากู้ยืมเงินระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง ให้โจทก์มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมดพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ครบถ้วน ข้อเท็จจริงได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง โจทก์คงคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เท่านั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญา ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยที่โจทก์ปรับเพิ่มขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 7,084,795.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าหนี้กู้ยืมและค้ำประกันในส่วนที่เป็นต้นเงินโจทก์ขอมาเพียง 7,000,000 บาท ส่วนดอกเบี้ย 62,136.99 บาท โจทก์มิได้ขอมาด้วย นอกจากนี้เงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนอง 22,658.32 บาท ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดเป็นอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกันไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำดอกเบี้ย 62,136.99 บาท กับเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 22,658.32 บาท มารวมกับต้นเงิน 7,000,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ และมีผลให้จำเลยทั้งสามต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยซ้ำซ้อน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, การหักค่าเสียหายจากค่าจ้าง, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน มิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่างานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระแก่กันตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดี ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383
หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท เป็นหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าของงานเมื่อสัญญาเลิกกัน การหักกลบลค่าปรับ และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยประเด็นการบังคับคดีหนี้สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ประเด็นดอกเบี้ยผิดนัด และการปรับลดค่าขึ้นศาล
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ ข้อ 7 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ยังค้างชำระซึ่งเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยอาศัยข้อตกลงอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดส่งดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้าย และข้อตกลงเช่นว่านี้หาใช่เป็นสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลจะมีอำนาจปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการลดค่าปรับจากสัญญาที่ไม่สมเหตุสมผล
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นจังหวัดโดยผลของกฎหมาย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงลายมือชื่อแต่งให้ ส. อัยการผู้เชี่ยวชาญคดีแพ่ง เขต 8 เป็นทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ไม่ต้องแสดงสิทธิและหน้าที่ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่ามีอำนาจและขอบเขตการใช้อำนาจอย่างไร หรือต้องแสดงเอกสารสำคัญของอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของโจทก์มาในฟ้อง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การที่โจทก์ทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน เป็นการไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร ทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
of 49