พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานโจทก์ร่วมหลังสืบพยานเดิม & เจตนาดูหมิ่นในคดีหมิ่นประมาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมภายหลังจากการสืบพยานโจทก์นัดแรกผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ร่วม และอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานของตนเข้าสืบภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ศาลจึงใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมรับฟังพยานของโจทก์ร่วมได้
ปัญหาว่าการกระทำใดไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า "มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล" นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของ ม. พ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกันจะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่นอันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่
ปัญหาว่าการกระทำใดไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า "มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล" นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของ ม. พ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกันจะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่นอันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการสืบพยานเพิ่มเติมเมื่อจำเลยแถลงหมดพยานหลักฐานแล้ว การยื่นพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการประวิงคดี
การที่จำเลยแถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่า ยังติดใจสืบพยานอีกเพียงปากเดียวก็เป็นอันหมดพยานจำเลย และขอส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ศาลจังหวัดเลย โดยไม่ขอเลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ศาลจึงอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว การที่ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโจทก์ให้จำเลยยืนยันยอดหนี้ที่ค้างชำระกับโจทก์ตามเอกสารที่ส่งมาให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม คดีจึงไม่มีประเด็นว่ายอดหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องถูกต้องหรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า และไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานจำเลยเข้าสืบต่อไป จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการนำสืบเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ: ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อนโจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล. รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วยที่ ล ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้ออ้างโจทก์และการนำสืบพยานเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ ย่อมไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อน โจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง คำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล.รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วย ที่ ล.ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือจากกรอบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืน มาตรา 88 และมาตรา 90 ก็ตาม แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อพยานบุคคลที่โจทก์ระบุอ้างเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ส่วนพยานเอกสารที่อ้างก็เป็นชุดเดียวกับที่จำเลยอ้าง ทั้งโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานและส่งสำเนาเอกสารก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะจำเลยสามารถนำสืบหักล้างได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีพยานของโจทก์ภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นมิชอบ
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล 2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน หากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่และการรับสินบน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย หาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจาก จ. ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่า โจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ. จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งข้อนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ. ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินบนของลูกจ้างส่งผลถึงการเลิกจ้าง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากจ.ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ.จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ.ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้างมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานและการสืบพยาน: สิทธิจำเลยในการนำพยานเข้าสืบ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานและการไม่อ้างตนเองเป็นพยานเมื่อไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้ขออนุญาต
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณา จากคดีเดิมเป็นสำคัญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นการยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยาน ได้สิ้นสุดลงแล้วกับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้อง เป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87(2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน