พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ หากมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ศาลต้องปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7ตาม ป.รัษฎากร แต่มิได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟังตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 103
กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดี แม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์
การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 103
กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดี แม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอากรแสตมป์ ศาลไม่รับเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7 ตามประมวลรัษฎากร แต่มิได้มี การขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์ บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟัง ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่า อากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 103 กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาล จะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวหลัง พ.ร.บ. 2519 และขอบเขตความรับผิดในหนี้สินของทายาท
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรสกับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดินภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 เมื่อไม่ปรากฏมีหนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่าเป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1471 (3)
การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดกของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและโจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่
ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้อง แต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต.ร่วมกัน แสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดกของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและโจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่
ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้อง แต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต.ร่วมกัน แสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-ทรัพย์สินส่วนตัว: การได้มาซึ่งที่ดินระหว่างสมรสโดยการยกให้ และสิทธิในการอ้างว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดก
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส กับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดิน ภายหลังจากประกาศใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อไม่ปรากฏมี หนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่า เป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะ ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิด ในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดก ของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและ โจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบ ในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่าย ในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วม ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่ ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องแต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต. ร่วมกันแสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของ ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อย ทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยลักษณะสัญญาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แม้เอกสารระบุเป็นสัญญาเช่าซื้อ
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อแต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้าและสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดิน ให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลา ที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความใน เอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่อง การเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มี เรื่องการกลับเข้าครอบที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอัน จะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็น ส่วนสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก ดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึง เป็นสัญญาจะซื้อขาย โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกา โดยข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำ กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน กับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัย ต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญา หรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้น ยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจ วินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อ ศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงิน ให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญา หรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหา ว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเภทสัญญา และส่งกลับให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นการชำระเงินและผิดสัญญา
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลรับฟังได้หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทและพยานหลักฐานเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไป แต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงาน จะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม อันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้า ในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการ ดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ได้สอบสวน จำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วการที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการ ขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสาร พิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืน โจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยาน หลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันจะเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐานสอดคล้องประเด็นฟ้อง แม้มีรายละเอียดเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไปแต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงานกลาจะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31