คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้นก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารที่เจ้าหน้าที่รับรอง
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาค้ำประกัน – การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อน เพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 91 ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง และการรับฟังพยานหลักฐานในสัญญาค้ำประกันที่มีการเสียค่าอ้าง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนเพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 91 ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง, อายุความ, และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีกู้ยืมเงิน
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนเพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 91 ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีผู้จัดการที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าฯ สามารถฟ้องได้ตามกฎหมาย
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาล ก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์กระทรวงมหาดไทย(ศาลเจ้าเจตึ๊ง)เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาล อันสมควรและมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มีว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: กุศลสถานประเภทศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาลก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย (ศาลเจ้าเจตึ๊ง) เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14 กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาลอันสมควร และมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มี ว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง
การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
เกิดเหตุรถชนแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคู่กรณีหลบหนีไปส่อแสดงพิรุธว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดจริง และยังต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ฝ่ายโจทก์จะมิได้นำสืบ น. ซึ่งเป็นพยานคู่กับโจทก์ที่ 1ในคราวเดียวกันก็ดี แต่ศาลย่อมใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวแล้วได้กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง ร้อยตำรวจเอกป.เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุการพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุจึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่เป็นพยานบอกเล่า สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง ดังนี้แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่กรณีเห็นได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 กล่าวคือ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 40,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 29,564 บาทค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนเพราะทุพพลภาพเป็นเงิน 60,000 บาท และค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเงิน 120,000 บาท รวมค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 249,564 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 209,564 บาท กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือผิดหลงในการรวมคำนวณยอดค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ ส.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของคนขับรถของจำเลยที่ 1 หากคนขับไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับส.สามารถเสนอเรื่องให้กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงโทษได้นอกจากนี้ด้านข้างของรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุระบุตัวอักษรชื่อย่อของจำเลยที่ 1 อีกทั้งภายหลังเกิดเหตุ ส. พนักงานของจำเลยที่ 1 ยังไปติดต่อขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะเกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้แก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานค่ารักษาพยาบาลที่มิได้ส่งให้คู่ความตรงตามกำหนด & หลักการประเมินค่าเสียหายทางกาย
พยานคู่ที่ไม่ได้นำสืบในคราวเดียวกัน ศาลก็ใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวได้ กฎหมายไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง
พนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ การพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นประจักษ์พยานไม่ใช่พยานบอกเล่า
สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยตามที่กฎหมายบัญญัติแต่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาลฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง
of 67