พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนที่พิพาทที่ศาลสั่งทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 26 ไร่ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง โดยตั้งราคาที่ดินเป็นเงิน 300,000 บาท ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คู่ความทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีที่ตั้งตามรูปแผนที่ครอบในระวางแผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเฉพาะส่วนที่โจทก์นำชี้ตามเส้นสีแดงเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งศาลสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็รับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน มิใช่เรื่องนอกประเด็นนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งศาลสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็รับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน มิใช่เรื่องนอกประเด็นนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบไม่สมฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 87(1) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลไม่รับฟังและยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้จำเลยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยแต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตลาดสดและตึกแถวและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินจำนวน 310,000 บาท ไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป แต่เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระเงินคืน เห็นได้แจ้งชัดว่าโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องและเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (1) ศาลจึงไม่อาจวินิจประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ตามมาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกู้ยืมเงิน จำนองประกัน และการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการกู้ยืม จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ แต่จำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้ของ ส. บุตรชายจำเลย ดังนี้เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานตามฟ้อง มีแต่หนี้เงินกู้ยืมของ ส. บุตรชายที่จำเลยเพียงแต่จำนองประกันหนี้เท่านั้น ซึ่งหากคดีฟังได้ตามข้อต่อสู้ ก็เท่ากับว่าไม่มีหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำนองที่ดินพิพาทอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงมีประเด็นด้วยว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และพิพากษาคดีมา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ 183 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเสียก่อน แต่กลับฟังข้อเท็จจริงยุติไปเลยว่า จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเพื่อประกันการกู้ยืมเงินของ ส. ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นเพิ่มและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานและการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันในคดีแรงงาน
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารรายงานการเก็บเงินจากต่างจังหวัดเป็นพยาน แต่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวเข้าสืบประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ และศาลแรงงานกลางยอมให้โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวและรับไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ศาลแรงงานกลางเรียกมาสืบเพื่อความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หา vs. การยืมเอกสารเพื่อจำนอง ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาตามข้อเท็จจริงและประเด็นที่ฟ้อง
โจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องให้โดยเสน่หา และขอให้ถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณากลับได้ความว่าโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรยืมเอกสาร น.ส.3 ก. พิพาทไปใช้ในการจำนอง เมื่อชำระหนี้จำนองแล้วให้โอน น.ส.3 ก. นั้นคืนแก่โจทก์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องให้โดยเสน่หาตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 521 โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาท โจทก์จะอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณแล้วมาขอถอนการให้ไม่ได้ ได้แต่จะฟ้องเรียกคืนทรัพย์ด้วยเหตุอื่นที่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยโอน น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทคืนแก่โจทก์เพราะเหตุอื่นได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องโจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องโจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่ในสินสมรสและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และภริยาซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ถือว่าการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานและผลผูกพันจากเอกสารการซื้อขาย แม้มีผู้รับมอบอำนาจช่วง และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบัญชีพยานอันดับ 1 ในช่องชื่อพยาน โจทก์ระบุว่าผู้รับมอบอำนาจขออ้างตนเองเป็นพยานโดยมิได้ระบุที่อยู่ของพยานเป็นการระบุถึงสถานะของพยานโจทก์ว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คือ ข. ส่วน ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ข. แม้ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ให้อำนาจข. มอบอำนาจช่วงได้ แต่สถานะของผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วงต่างกันจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ระบุ ป. เป็นพยาน แต่โจทก์นำ ป. มาเบิกความเพื่อประกอบเอกสารที่แสดงว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างคงนำสืบเพียงว่า การที่กรรมการของจำเลยลงชื่อในใบสั่งซื้อคนเดียวแสดงว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์นำ ป. เข้าเบิกความ จำเลยก็มิได้คัดค้าน กรณีไม่ปรากฏว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี อีกทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่เสียหาย ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังคำเบิกความของ ป. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685-3686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วคอนกรีตเดิมกรรมสิทธิ์ใคร? ต่อเติมสูงขึ้นรุกล้ำที่ดินผู้อื่นต้องรื้อ
บริษัท ด. เจ้าของที่ดินได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหาขายโดยด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหาจำเลยที่ 4 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2525 ส่วนจำเลยที่ 5 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2536จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในกรณีรั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้าง โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างด้านหลังอาคารพาณิชย์ ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต ก็ไม่มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จึงต้องรื้อออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน 5 คดี โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารอัตราสูงสุด 200 บาท แม้จะไม่ครบถ้วนก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ก็บัญญัติเพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังได้ ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน 5 คดี โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารอัตราสูงสุด 200 บาท แม้จะไม่ครบถ้วนก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ก็บัญญัติเพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังได้ ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนบัญชีระบุพยานที่ยื่นไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมาตรา 87(2) บัญญัติวางหลักเบื้องต้นของกฎหมายไว้ ก็เพื่อให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีโอกาสทราบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างพยานหลักฐานใดบ้าง ป้องกันไม่ให้เกิดการจู่โจมทางพยาน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติเช่นนั้นและศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอก็ตาม สำหรับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ต้องเสียหายเป็นผู้ยกขึ้นอ้าง จึงจะตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองจึงไม่เกี่ยวกับกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดหลงของจำเลยทั้งสามขอให้ศาลรับบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสุดท้าย หรือขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ตามมาตรา 87(2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้