คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานหลักฐาน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงาน ไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ และมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ
ศาลแรงงานสั่งรับเอกสารที่จำเลยส่งศาลและรับฟังสำเนาเอกสารของจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ เป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าว จึงเป็นการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์โดยไม่ตั้งผู้แทนจากสหภาพแรงงานร่วมเป็นกรรมการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นการสอบสวนและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ โจทก์มิได้กล่าวอ้างเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้จำเลยไม่ยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานก็มีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานของจำเลยได้ โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการ สั่งรับเอกสารเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาวินิจฉัยตามพยานหลักฐานและคำรับสารภาพ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิดฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบโดยโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและฟังได้ว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาแบบขอหมายจริง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และการวินิจฉัยความผิดของจำเลยสมควรเป็นไปตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาในปัญหาดังกล่าวประกอบกับได้มีการนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
การจับกุมจำเลยเกิดจากเจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟ -ตามีนมาส่ง จึงถูกจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 100 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่บุคคลจะมีไว้เพื่อเสพประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาว่า จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนเพื่อนำไปให้ช่างซ่อมรถยนต์คน อื่นๆ อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบในชั้นจับกุมก็เพื่อประสงค์จะให้จำเลยทราบและเข้าใจถึงการกระทำความผิด ของตน แม้ชั้นจับกุมผู้จับกุมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพิรุธ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 และขอบเขตการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องและได้ชำระคืนบางส่วนแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องให้โจทก์เพราะโจทก์ทวงถามให้ผู้กู้รายอื่นหลายคนชำระหนี้และมีการโต้เถียงกัน จึงได้เขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากและเดือดร้อน คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ไว้ต่อโจทก์แทนลูกหนี้คนอื่นหลายราย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายและไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม การทำหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายโดยไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ความเสียหายจากการไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและรับมอบรถที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน 24 งวด จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน แต่เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาในงวดที่ 1 ถึงที่ 3 และงวดที่ 5 ถึงที่ 7 ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา ส่วนที่โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วเพียงใด และโจทก์นำรถที่เช่าซื้อไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อในราคาเท่าใด เป็นข้อพิจารณาในชั้นกำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนที่พอสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระและนำสืบว่าค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ 6 งวดเป็นเงิน 900,000 บาท ที่โจทก์นำสืบด้วยว่าหากโจทก์นำรถที่เช่าซื้อออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นถึงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินของโจทก์อีกทางหนึ่ง จึงหาเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และผลกระทบต่อการนำสืบพยานในคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถานไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะได้ความว่าทนายโจทก์ติดว่าความจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการชี้สองสถาน จึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเพราะไม่มีพยานมาสืบ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การสืบพยานโดยศาล และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ต้องคืน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่ ศาลภาษีอากรกลางเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบโดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและไม่มีสิทธิ นำพยานเข้าสืบก็ตาม
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับ ระยะเวลานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับ วันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน" ดังนั้นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
++ เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมการที่ศาลภาษีอากรเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ โดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบก็ตาม กรณีหาอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปไม่
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับระยะเวลานั้น ป.พ.พ. มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน..." ดังนั้น วันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา39 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษีท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์ แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือนเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8707/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาก่อนสืบพยาน: ศาลมีอำนาจหากเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและเกี่ยวข้องประเด็นสำคัญ
แม้สำเนาสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังจะมิใช่หลักฐานโดยตรงในเรื่องการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ถือเป็นพยานสำคัญในการชั่งน้ำหนักพยานโจทก์ แล้วนำไปเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่าที่นาของโจทก์ ปัญหาเรื่องการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ นับว่ามีผลต่อรูปคดี อย่างมาก เพราะอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ การนำเสนอข้อเท็จจริงต้องชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 67