พบผลลัพธ์ทั้งหมด 663 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากกรณีจงใจละทิ้งร้างและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้านเห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเองจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยตัวแทนเชิดและการบังคับคดีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าและชำระหนี้บางส่วน
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยตัวแทนเชิด: ความรับผิดของผู้สั่งซื้อ
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังทำละเมิด เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
++ เรื่อง เพิกถอนการฉ้อฉล ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและการพิสูจน์หลักฐาน การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องระบุสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวและได้ส่งสำเนาใบแทนโฉนดที่ดินต่อศาล จำเลยเพียงแต่ให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่โจทก์อ้าง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ไม่ได้นำสืบตามที่จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์และไม่ได้นำสืบโต้แย้งการนำสืบของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นนั่นเอง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 จึงเป็นการวินิจฉัยไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หาขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใดการจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใดการจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและการฟ้องคดี การนำสืบพยานหลักฐาน และการวินิจฉัยของศาล
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวและได้ส่งสำเนาใบแทนโฉนดที่ดินต่อศาล จำเลยเพียงแต่ให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่โจทก์อ้าง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ไม่ได้นำสืบตามที่จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์และไม่ได้นำสืบโต้แย้งการนำสืบของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นนั่นเอง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 จึงเป็นการวินิจฉัยไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หาขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใด การจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใด การจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานและการรับฟังเอกสารพยาน แม้บัญชีระบุพยานไม่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วันก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแจ้งชัด ศาลมีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้หรือแม้บัญชีระบุพยานจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจสืบพยานได้เอง แม้บัญชีพยานไม่ชัดเจน
แม้พยานเอกสารของโจทก์จะระบุพยานเพียงว่า "คำร้องของลูกจ้างให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นทนายความฯ" ซึ่งมิได้แสดงรายละเอียดให้ชัดเจนถึงสภาพของเอกสารที่อ้าง อันเป็นการระบุพยานที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีกำหนดตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ เมื่อศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเอกสารซึ่งโจทก์อ้างส่งเป็นพยาน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว