พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำสั่งไล่ออก และการละเมิดของข้าราชการ: ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยหากผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 อธิบดีกรมศุลกากรได้มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง เป็นการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบอย่างไรแล้ว ศาลไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งหรือพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2516)
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในคดีวินัยข้าราชการ การฟ้องละเมิดต้องพิจารณาความชอบธรรมของกระบวนการสอบสวน
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่3 อธิบดีกรมศุลกากรได้มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง เป็นการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบอย่างไรแล้ว ศาลไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งหรือพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่355/2516)
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้แต่งตั้งเป็นคู่กรณีและกรรมการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
นอกจากโจทก์ร้องเรียนในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับยศร้อยตำรวจเอกแล้ว ยังกล่าวหาผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและจำเลยในฐานะอธิบดีกรมตำรวจว่าเป็นผู้ไม่อยู่ในศีลธรรมอันดีทำลายภาพพจน์ของกรมตำรวจให้เสื่อมทรามลงโจรผู้ร้ายชุกชุมก็ไม่มีความสามารถปราบปรามบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง หย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโจทก์แต่อย่างใดกรณีเช่นนี้จึงมีเหตุที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เห็นว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงชอบที่จำเลยแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์และไม่มีกฎหมายใดห้ามผู้บังคับบัญชาที่เป็นคู่กรณีตั้งผู้ใต้บังคับบัญชาสอบสวนคู่กรณีแต่อย่างใด
ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 แม้พนักงานอัยการจะเป็นทนายแก้ต่างให้จำเลย
ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 แม้พนักงานอัยการจะเป็นทนายแก้ต่างให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายในอดีตกับกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้กฎหมายใหม่
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12-13/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนทางวินัย - อำนาจดุลยพินิจ - การละเว้นการตรวจสอบหลักฐาน - การแจ้งข้อกล่าวหา
การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเชื่อรายงานและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนที่ตนตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่าผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของโจทก์ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือไม่โดยละเว้นการตรวจดูหลักฐานต่าง ๆ ด้วยตนเองก็ดี ไม่เสาะหา ความจริงจากผู้อื่นก็ดี ไม่ทักท้วงการสอบสวนที่มีแต่รายงานชี้แจงแทน บันทึกการสอบสวนก็ดี จะฟังว่าผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยไม่สุจริตและกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่
เมื่อกรณีของโจทก์ไม่ใช่เรื่องกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบ และไม่ได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย จึงหาใช่เป็นการปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อกรณีของโจทก์ไม่ใช่เรื่องกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบ และไม่ได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย จึงหาใช่เป็นการปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยกรณีเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำผิดพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ขอให้ศาลบังคับจำเลยรับโจทก์เข้าเป็นข้าราชการตามเดิม และสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเสีย ดังนี้ เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งลงโทษทางวินัย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่มีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการพักราชการที่ถูกไล่ออก และอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการพ.ศ.2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้นเป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้นแต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่