คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าอาวุธปืนเพื่อจำหน่ายข้าราชการ ไม่ถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากร
การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าแช่แข็งใช้ไนโตรเจนเหลว จัดเป็นเครื่องทำความเย็น มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัท ผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "FreezingTunnel" หรือ"FoodFreezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "BeltConveyor" แปลว่าเครื่องสายพาน ลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาทเป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพาน ลำเลียงเท่านั้นและลูกค้าทุกรายที่ซื้อสินค้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ถนอมอาหารโดยวิธีแช่แข็ง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมศุลกากรได้มีวินิจฉัยว่าสินค้าดังกล่าวอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 แสดงให้เห็นว่าสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพาน และระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็นสินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพาน ลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้นและถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็น ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ ก็ตาม แต่ก็สามารถ ทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้ง และต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่อง แล้วนำสินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาท จึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนอันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องล้างหัวเทปวีดีโอที่ไม่เข้าข่ายผ้าหรือวัตถุทอ
สินค้าที่โจทก์นำเข้าไปเป็นเครื่องล้างหัวเทปวีดีโอซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยตัวกล่องที่ทำด้วยพลาสติก คงมีเฉพาะส่วนที่สำหรับขัดถูหัวเทปเท่านั้นที่มีลักษณะเป็นผ้า และเครื่องดังกล่าวนี้คงใช้สำหรับเครื่องวีดีโอเท่านั้น จึงไม่ใช้สินค้าตามพิกัดประเภทที่ 59.17เพราะมิใช่เป็นผ้าหรือของที่ทำด้วยวัตถุทอ และมิใช่ชนิดที่ตามธรรมดาใช้กับเครื่องกลจักรหรือใช้ในโรงงานสำหรับประเภทพิกัดที่ 62.05 ตามที่จำเลยประเมินนั้นบัญญัติว่าของสำเร็จรูปอย่างอื่นที่ทำด้วยวัตถุทอ รวมทั้งผ้าแบบเสื่อซึ่งน่าจะได้แก่วัตถุทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดังนั้นจึงไม่เข้าพิกัดประเภท 62.05 และกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ของการตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อที่ 5 เพราะมิใช่ของซึ่งใกล้เคียงกับของตามพิกัดที่จำเลยประเมิน แต่น่าจะถือได้ว่าใกล้เคียงกับประเภทพิกัดที่ 92.13 มากกว่าการประเมินอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกระจก และการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกัน ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิวแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิวหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิวกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิชจะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์ และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียสจากเตาหลอมผ่านดรอบาร์เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วน แล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้ว เปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิวหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกชีทได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดา กระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06
ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากร กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของ นายเอช อาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภา ซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว
มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใด จะต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณเวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษี มิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด
ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528 เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเทศจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อและดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้งหรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่าย อาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคาเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้าที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้
ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมา ราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่า โจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าว การยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณา เป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้า ที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธีราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ ที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้าเพื่อเสียอากร: หีบใส่เงินจัดอยู่ในพิกัดอัตราอากรใด และความรับผิดของหุ้นส่วน
พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ตอนที่ 83 ประเภทพิกัดที่ 83.03 ระบุว่าตู้นิรภัยกำปั่นห้องนิรภัย ที่หุ้มหรือเสริมให้มั่นคง ผนังด้านต่าง ๆ ที่ใช้บุห้องนิรภัยและประตูห้องนิรภัย หีบใส่เงินและหีบเก็บเอกสารและสิ่งที่คล้ายกันทำด้วยโลหะสามัญ ลักษณะของตามประเภทพิกัดนี้เห็นได้ว่าล้วนแต่เป็นของที่มีลักษณะมั่นคงแข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นหีบใส่เงินที่จะจัดเข้าพิกัดประเภทนี้ได้ต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนย้ายเคลื่อนที่จะกระทำได้ยากลำบากทั้งจะต้องกันไฟหรือกันโจรกรรมได้ด้วย หีบใส่เงินที่จำเลยนำเข้ามีลักษณะไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่อาจป้องกันไฟหรือการโจรกรรมได้เลยไม่เหมือนกับของต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในประเภทพิกัดดังกล่าวแต่จัดเป็นของใช้ในบ้านเรือนทำด้วยเหล็กตามประเภทพิกัดที่ 73.38ข. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่ปรากฏจากใบขนสินค้าขาเข้าว่า จำเลยที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้นำเข้าแทนจำเลยที่ 1 และระบุไว้ด้วยว่าเป็นผู้จัดการ ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรและ ป.รัษฎากรบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรขาเข้าและของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะและโจทก์ได้คำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวจนครบถ้วนมาในฟ้องแล้ว จึงจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับจำเลยอีกหาได้ไม่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยของเงินอากรขาเข้า ภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและเงินเพิ่ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าของขวัญและเครื่องมือช่างโดยไม่ผ่านศุลกากร การตีความข้อยกเว้นอากร และเจตนาฉ้อภาษี
การประกอบอาชีพค้าเพชรเพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพอันจะได้รับยกเว้นอากร การยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 ยกเว้นให้เฉพาะของส่วนตัว สำหรับผู้นำเข้าใช้เอง เมื่อเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดจำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เอง ดังนั้น ไข่มุก ที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง แม้เพชรและพลอยของกลางจะเป็นของที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรในการนำเข้า แต่เจตนาฉ้อ ภาษีของ รัฐบาล อันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้นเฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรนี้ แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อ ค่าภาษีของ รัฐบาล ก็เป็นความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าที่ระบุชัดเจนย่อมสำคัญกว่าประเภทที่กว้าง
สินค้าแอลลอยสตีล หรือโลหะผสมเหล็กกล้าที่โจทก์นำเข้า เป็นของ ที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในประเภทพิกัดที่ 73.15 ง. จำเลยจะจัดของ ที่โจทก์นำเข้าเป็นประเภทพิกัดที่ 73.40 ฉ. อื่น ๆ อันเป็นประเภท ที่ระบุไว้อย่างกว้างหาได้ไม่เพราะขัดต่อหลักการตีความพิกัด อัตราศุลกากรตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ข้อ 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราอากรสำหรับเลดออกไซด์และเกรย์ออกไซด์ โดยพิจารณาจากปริมาณโลหะตะกั่วผสม
เลดออกไซด์ (LEAD OXIDES) ซึ่งเป็นสินค้าประเภทพิกัดที่ 28.27 นั้น เป็นของที่ทำจากตะกั่ว โดยนำตะกั่วบริสุทธิ์มาทำเป็นผงแล้วเผาหรือผ่านออกซิเจนเข้าไป กลายเป็นเลดออกไซด์ แต่ตะกั่วที่ถูกเผาอาจไม่กลายเป็นเลดออกไซด์ทั้งหมด อาจมีโลหะตะกั่ว (METALLIX LEAD) หลงเหลืออยู่บ้าง ประมาณร้อยละ 8 จึงต่างกับเกรย์ออกไซด์ (GREY OXIDES) กล่าวคือเลดออกไซด์จะมีปริมาณตะกั่วออกไซด์เกือบทั้งหมด หรือเกินกว่าร้อยละ 95 ขึ้นไปส่วนเกรย์ออกไซด์จะมีส่วนผสมของโลหะตะกั่ว (METALLIC LEAD)ตั้งแต่ร้อยละ 15-35 ที่เหลือนอกนั้นเป็นตะกั่วออกไซด์หรือเลดออกไซด์ สินค้ารายพิพาทที่โจทก์สั่งเข้ามามีโลหะตะกั่วผสมอยู่เป็นจำนวนถึงร้อยละ 25 นับว่ามีโลหะตะกั่วผสมอยู่เป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จะถือได้ว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์เจือปนที่หลงเหลือจากกรรมวิธีการผลิต ฉะนั้นสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาและสำแดงในใบขนสินค้าว่าเป็นเกรย์ออกไซด์เลด จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมี และสิ่งปรุงแต่งที่ได้จากอุตสาหกรรมทางเคมีหรืออุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน ซึ่งมิได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น ต้องเสียอากรขาเข้า ตามประเภทพิกัดที่ 38.19 ข. ในอัตราร้อยละ 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าอีแวปอเรเตอร์: พิกัดอัตราอากรขาเข้า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องจักร?
การใช้อีแวปอเรเตอร์ที่โจทก์นำเข้ามาในคดีนี้เป็นการนำเอา อีแวปอเรเตอร์เข้าประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรับอากาศที่ติดรถยนต์ทีเดียวจึงเป็นการใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ ถือว่าเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามความใน พิกัดประเภทที่ 84.14 ข. ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเครื่องจักร ตามพิกัดประเภทที่ 84.17 และการนำเข้าซึ่งส่วนประกอบของ เครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข. ตอนท้ายหาต้องเป็นการ นำเข้าครบชุดไม่
คำว่า เครื่องจักรตามความในหมายเหตุหมวด 16 ข้อ 7 นั้นใช้เฉพาะ แก่ข้อความในหมายเหตุเท่านั้นหาได้มีความหมายว่าสินค้าตาม พิกัดประเภทที่ 84.01 ถึง 84.65 ทุกชนิด เป็นเครื่องจักรตาม พิกัดประเภทหนึ่ง 84.17 ไม่
of 2