คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่จัดการทุนสำรองเงินตราเป็นของ ธปท. และความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ทุนสำรองเงินตรานั้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแล้วย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะที่จะรักษาไว้และนำไปใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้หาได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ฉะนั้น กระทรวงการคลังจึงหามีอำนาจที่จะฟ้องเรียกเงินนี้คืนจากผู้ที่กล่าวหาว่านำไปใช้จ่ายโดยมิชอบไม่
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ ธ.ประเทศไทย กับการใช้จ่ายทุนสำรองเงินตรา และผลกระทบของคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ทุนสำรองเงินตรานั้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะที่จะรักษาไว้และนำไปใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หาได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ ฉะนั้นกระทรวงการคลังจึงหามีอำนาจที่จะฟ้องเรียกเงินนี้คืนจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่านำไปใช้จ่ายโดยมิชอบไม่
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในระหว่างปฏิวัติซึ่งยังมิได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาล ย่อมเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับเด็ดขาดในทางบริหารฉะนั้นการที่จำเลยในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในการทำสัญญาจ้างพิมพ์ธนบัตรกับบริษัทต่างประเทศและจ่ายเงินล่วงหน้าไปโดยไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม มติของคณะกรรมการดังกล่าวหาอาจลบล้างคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ ที่จำเลยปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้นจึงมิใช่เป็นการผิดกฎหมายอันจะถือว่าเป็นการละเมิดแต่อย่างใด