พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและแจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบุคคลอันธพาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้คุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไปการที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นนายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม (อ้างนัยฎีกา 105/2506)แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไปเช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลังๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใดเพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีกเมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของคำสั่งที่ขาดตอนและการกลับมาควบคุมโดยชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้ควบคุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไป การที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว หากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น นายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม(อ้างนัยฎีกา 105/2506) แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไป เช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลัง ๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใด เพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)