พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารเพิ่มเติมและการแปลเอกสารต่างประเทศในคดีแพ่ง
โจทก์ได้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมก่อนเสร็จการสืบพยานของจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 28แต่ในวันที่ 27 เดือนนั้น โจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารเหล่านั้นให้จำเลยในวันที่ 28 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยแถลงคัดค้านไม่ให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าว โจทก์แถลงขอให้ศาลเลื่อนคดีไปเพื่อให้โอกาสจำเลยได้มีเวลาตรวจดูเอกสารหรือศึกษาข้อเท็จจริงจากเอกสารนั้นก่อน จำเลยคัดค้านว่าไม่ควรเลื่อนเพราะเหตุนี้ ศาลให้เลื่อนคดีไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 28 เดือนถัดมา ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) หาขัดต่อ มาตรา 90 ไม่
แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ เมื่อศาลไม่สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปล และศาลรับฟัง เอกสารดังกล่าวได้
แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ เมื่อศาลไม่สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปล และศาลรับฟัง เอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบางส่วนเป็นภาษาต่างประเทศใช้เป็นหลักฐานได้หากอ่านใจความสำคัญได้
เอกสารตอนบนมีข้อความเป็นภาษาไทย ตอนล่างมีข้อความเป็นภาษาจีน โจทก์มิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย แต่ข้อความที่เป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนนั้น อ่านได้ใจความว่า จำเลยยืมเงินโจทก์ ดังนี้ ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการแก้ไขฟ้องที่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่สารบรรณของจำเลยที่3 ไม่มีหน้าที่ขับรถ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 โดยน. ลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับ และนั่งมาด้วยกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ น. ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 1 ขับรถนั้นมิให้เกิดเหตุร้ายเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุแทน น. ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์เสียหาย น. ต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้นการละเมิดนี้ย่อมนับได้ว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยที่ 3 จ้าง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์โดยถือตามบันทึกหมายเลขทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาด ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริง ดังนี้เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า'ก.ท.พ.2077หรือก.ท.พ.3077' ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า 'ก.ท.พ.2077' ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้คันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ.3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้น เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์โดยถือตามบันทึกหมายเลขทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาด ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริง ดังนี้เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า'ก.ท.พ.2077หรือก.ท.พ.3077' ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า 'ก.ท.พ.2077' ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้คันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ.3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้น เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การขับรถแทนลูกจ้างและหน้าที่ควบคุมของนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่สารบรรณของจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ขับรถ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 โดย น.ลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับ และนั่งมาด้วย กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 1 ขับรถนั้นมิให้เกิดเหตุร้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุแทน น.ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์เสียหาย น.ต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น การละเมิดนี้ย่อมนับได้ว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยที่ 3 จ้าง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์จำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์ โดยถือตามบันทึกหมายเลข ทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาดต่อมาโจทก์จึงยึ่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริงดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถานแม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า "ก.ท.พ 2077" ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า "ก.ท.พ 2077 หรือ ก.ท.พ 3077" ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้หมายเลขทะเบียนรถคันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ 3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้นเป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์จำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์ โดยถือตามบันทึกหมายเลข ทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาดต่อมาโจทก์จึงยึ่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริงดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถานแม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า "ก.ท.พ 2077" ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า "ก.ท.พ 2077 หรือ ก.ท.พ 3077" ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้หมายเลขทะเบียนรถคันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ 3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้นเป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่มิได้ยื่นตามกำหนด หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามมาตรา 87(2)
จำเลยได้ระบุอ้างเอกสารไว้ในบัญชีพยานโดยชอบแล้ว แต่มิได้ยื่นเอกสารนั้นต่อศาล และส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน จำเลยเพิ่งส่งต้นฉบับต่อศาลในวันสืบพยานโจทก์ระหว่างตัวโจทก์เบิกความและส่งสำเนาให้แก่โจทก์ในวันนั้น เมื่อเอกสารฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารฉบับนี้โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของมาตรา 87(2) แล้ว ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานเอกสารฉบับนี้ได้โดยไม่จำต้องปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลตามมาตรา 90(3) เสียก่อน เพราะมาตรา 90(3) เป็นเพียงข้อยกเว้นของความในวรรคแรกแห่งมาตรา 90 มิใช่เป็นบทจำกัดอำนาจที่ศาลมีอยู่ตามมาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาจำนอง, การรับสภาพหนี้, และการบังคับตามคำสั่งศาลของผู้จัดการมรดก
ระหว่างพิจารณา ธนาคารโจทก์ได้จดทะเบียนควบเข้ากับธนาคาร ก.เป็นบริษัทใหม่ ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมได้ไปทั้งสิทธิ และความรับผิดชอบบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1243 ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมเข้ามาดำเนินคดีแทน ธนาคารโจทก์ต่อไปได้ ไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกตามคำฟ้อง และการไม่ถือว่าภาพจำลองวัตถุเป็นพยานเอกสาร
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาทให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ. กับ ส.และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสารอันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสารอันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกและการพิจารณาภาพถ่ายเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาท ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ.กับส. และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร อันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร อันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลผูกพัน แม้จะไม่มีหลักฐานการเบิกเงินเพิ่มเติม และศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความ
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้วการเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม