คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 90

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกบัญชีรายชื่อพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ความตอนท้ายของ ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ คดีอาญาเรื่องนี้ โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แล้ว เพียงแต่ขาดสำเนาเพื่อส่งแก่จำเลยจำเลยมีโอกาสไปขอตรวจดูบัญชีระบุพยานที่ยื่นไว้ต่อศาลได้อยู่แล้ว ทั้งในการสืบพยานโจทก์ทุกปาก จำเลยได้ถามค้านพยานจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่ได้รับความเสียหายโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะเอาปรียบในทางคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7684/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและใบมอบอำนาจ: ความสมบูรณ์ของใบมอบอำนาจ แม้มีการแก้ไขและการส่งมอบเอกสาร
ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 70,000 บาท จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่อุทธรณ์โต้แย้งจึงยุติจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่อาจฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1อีกได้
คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ระบุว่า ขอยื่นฟ้องสหกรณ์รัตนโกสินทร์จำกัด กับพวกรวม 4 คน ตามบัญชีรายชื่อท้ายฟ้อง โดยบัญชีรายชื่อท้ายฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไว้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ขอแก้ชื่อจำเลยที่ 1 จากสหกรณ์รัตนโกสินทร์ จำกัด เป็นสหกรณ์สามล้อรัตนโกสินทร์ จำกัด ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นเพียงการแก้ไขชื่อให้ถูกต้องเท่านั้นไม่ทำให้ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องที่ระบุให้ฟ้องในชื่อของจำเลยที่ 1 เดิมเสียไป และแม้ใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ ก็ถือว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้นั่นเอง เมื่อโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ภ. ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แล้ว แม้จะมิได้ระบุว่าให้ดำเนินคดีในข้อหาใดก็หาทำให้ใบมอบอำนาจดังกล่าวเสียไปไม่ และการที่ใบมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของผู้รับมอบอำนาจกำกับข้อความที่แก้ไขในใบมอบอำนาจแต่ฝ่ายเดียวก็หาทำให้การแก้ไขนั้นเสียไปไม่ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงสมบูรณ์แล้ว
เมื่อต้นฉบับใบมอบอำนาจได้รวมอยู่ในท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1แล้ว ก็หาจำต้องส่งสำเนาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อีกไม่ การอ้างถึงใบมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในการนำสืบจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, การส่งสำเนาเอกสาร, การคัดค้าน, เหตุฟ้องไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธินถนนราชวิถีแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครขอมอบอำนาจให้ ม. ฯลฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว. ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ" การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม.จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาทครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาลก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องและผลของการไม่คัดค้านเอกสารพยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "....ฯลฯ.... ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธิน ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ขอมอบอำนาจให้ ม. ....ฯลฯ....เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว.ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ...." การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม. จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์10 บาท ครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาล ก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เปิดเผยก่อนวันสืบพยาน และประเด็นความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย
จำเลยไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1ให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 แต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1 ไม่ได้จดทะเบียนจึงมีลักษณะเป็นใบรับเงินเท่านั้น ซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่แรก ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเท่ากับวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์นั่นเอง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่นอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารและการนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจในการทำสัญญาเช่า
การที่จำเลยมิได้ระบุหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานและส่งสำเนาให้โจทก์แต่ใช้เอกสารนั้นประกอบการถามค้านโจทก์ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยพยานเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงแม้จะมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานและส่งสำเนาให้โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังกรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88,90ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย. เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่าเพราะได้รับมอบอำนาจจาก ล. ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง การใช้หนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายสัญญาเช่า ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารประกอบในการถามค้านที่โจทก์เบิกความว่า ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่ให้เช่าไม่ได้มอบอำนาจให้ ย.บิดาของ ล.ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลย พยานเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของจำเลย ซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ระบุเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และ 90
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทคือล. มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย.เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่านั้น เพราะ ล.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้เฉพาะส่วนของสัญญาซื้อขายและการนำเสนอเอกสารไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจาก จ. เป็นเนื้อที่รวม80 ไร่ ในสัญญาฉบับเดียวกันและกำหนดราคารวมเป็นเงิน 530,000 บาท โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 45,000 บาท โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.รับชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินอีกเพียง 68,750 บาทแล้วโอนแต่เฉพาะที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 17 ไร่ 2 งานซึ่งเป็นที่ดินเพียงบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงซื้อจาก จ.นั้น ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.มิได้ยินยอม หาอาจจะบังคับได้ไม่ ตามประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320 โจทก์จึงย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเลือกบังคับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้
สำเนาสัญญาจะซื้อขายมิใช่เป็นเอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ทั้งเมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้โจทก์จะส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรา 90 ก็ตาม ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 238, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักเกณฑ์การรับฟังเอกสารทางแพ่ง, หนี้บัตรเครดิต, และการตรวจสอบรายการใช้จ่ายโดยผู้ถือบัตร
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่าผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฎถึง วัน เดือน ปี รหัส ประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในครอบครองของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) เดิมและถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามมาตรา 93(2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารใบแจ้งรายการบัตรเครดิตเป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรครบถ้วน
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่า ผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไปซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฏถึง วัน เดือน ปี รหัสประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
of 23