พบผลลัพธ์ทั้งหมด 825 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับสัญญาซื้อขายและการไม่เกิดดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับคืน
โจทก์ทำสัญญาขายสินค้าให้จำเลย แล้วโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบสินค้าให้จำเลยล่าช้ากว่ากำหนด จำเลยจึงปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากราคาสินค้า เมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ย จากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น ไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแทงด้วยอาวุธร้ายแรงที่คอ ถือเป็นความพยายามฆ่า แม้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหาย 1 ที ถูกที่บริเวณคอด้านหน้าต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ลึกเข้าภายในถึงหลอดลมเลือดออกมากผู้เสียหายมีอาการใกล้ช็อกบาดแผลรักษาทุเลาภายในเวลาประมาณ 25 วัน ขณะเกิดเหตุมีแสงไฟส่องสว่างไปทั่วบริเวณ จำเลยแทงผู้เสียหายโดยมิได้มีการวิวาทต่อสู้กัน แสดงว่าจำเลยตั้งใจแทงตรงคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์ที่มีคมถึงสามคมซึ่งถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรงแทงผู้เสียหายโดยเลือกแทงตรงอวัยวะสำคัญเช่นนี้ ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลของการกระทำของจำเลยว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเนื่องจากแพทย์ได้ทำการเยียวยารักษาไว้ทัน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแทงด้วยอาวุธร้ายแรงที่คอผู้เสียหาย แสดงเจตนาพยายามฆ่า แม้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหาย 1 ที ถูกที่บริเวณคอด้านหน้าต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ลึกเข้าภายในถึงหลอดลมเลือดออกมาก ผู้เสียหายมีอาการใกล้ช็อกบาดแผลรักษาทุเลาภายในเวลาประมาณ 25 วัน ขณะเกิดเหตุมีแสงไฟส่องสว่างไปทั่วบริเวณ จำเลยแทงผู้เสียหายโดยมิได้มีการวิวาทต่อสู้กัน แสดงว่าจำเลยตั้งใจแทงตรงคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์ที่มีคมถึงสามคมซึ่งถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรงแทงผู้เสียหายโดยเลือกแทงตรงอวัยวะสำคัญเช่นนี้ ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลของการกระทำของจำเลยว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเนื่องจากแพทย์ได้ทำการเยียวยารักษาไว้ทัน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, ผลกระทบต่อจำเลย, และการต่อสู้คดี
แม้ศาลชั้นต้นจะสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลจะต้องตรวจสำนวนไตร่ตรองพิจารณาและอาจสืบพยานของศาลเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ได้ ฉะนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเรียกว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาเมื่อมีเหตุอันควรโจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมฟ้องได้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดีไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิด จึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดีไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิด จึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: เหตุสมควรและผลกระทบต่อจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลจะต้องตรวจสำนวนไตร่ตรองพิจารณาและอาจสืบพยานของศาลเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ได้ ฉะนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเรียกว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา เมื่อมีเหตุอันควรโจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมฟ้องได้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดี ไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิดจึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดี ไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิดจึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะในความผิดชิงทรัพย์ พิจารณาว่าใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ที่บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่งนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะพาทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดหลบหนีไป หรือใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมหลังจากได้กระทำผิด เป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำผิดหรือไม่
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะในความผิดชิงทรัพย์: ต้องพิจารณาว่าใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ที่บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่งนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะพาทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดหลบหนีไป หรือใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมหลังจากได้กระทำผิดเป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้นต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่องๆไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำผิดหรือไม่
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายรถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33(1)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายรถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33(1)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมอบขนส่งและการยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัยที่ต้องป้องกันได้
ฟ้องของโจทก์แปลได้ว่าโจทก์ซื้อวิทยุแล้วมอบให้ผู้ขายเป็นตัวแทนนำเอาวิทยุไปให้จำเลยทำการขนส่งไปให้โจทก์ และในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ผู้ขายกระทำไปนั้นเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าขนส่งเอง ผู้ขายจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาขนส่งวิทยุกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขนได้
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญารับขน: ตัวแทน, ตัวการ, ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อ และเหตุสุดวิสัย
ฟ้องของโจทก์แปลได้ว่าโจทก์ซื้อวิทยุแล้วมอบให้ผู้ขายเป็นตัวแทนนำเอาวิทยุไปให้จำเลยทำการขนส่งไปให้โจทก์และในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ผู้ขายกระทำไปนั้นเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าขนส่งเอง ผู้ขายจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาขนส่งวิทยุกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขนได้
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยการขอเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์มีอำนาจฟ้องได้แม้ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเดิมเป็นของนายจัน นางคร้ามยกให้บิดาโจทก์แล้วบิดายกที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นบุตรของนายจันนางคร้ามได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายจันนางคร้ามเพื่อเอาที่พิพาทมาแบ่งปันให้แก่ทายาท ดังนี้ที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์แล้วหาจำเป็นต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและเข้าดำเนินการจัดการเกี่ยวกับที่พิพาทเสียก่อน จึงจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง