พบผลลัพธ์ทั้งหมด 825 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์: การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ต้องเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์ของตนเอง ไม่ใช่ของบุคคลอื่น
การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 และ 248 นั้นต้องเป็นการกล่าวแก้ยกข้ออ้างการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแห่งตนมาเป็นข้อต่อสู้ ให้เกิดข้อพิพาทด้วยการแย่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยเท่านั้นหาได้รวมไปถึงการอ้างเอากรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้ซื้อทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากตึกพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมในอัตราค่าเช่าเดือนละ 500 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาทซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยเช่าตึกพิพาทจากเจ้าของเดิม ในสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่ให้เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ข้อตกลงนี้เป็นข้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าแจ้งแก่ผู้เช่า จึงไม่มีผลถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแม้โจทก์จะซื้อตึกพิพาทโดยรู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเมื่อตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และระยะเวลาตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมก็สิ้นสุดลงแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
จำเลยเช่าตึกพิพาทจากเจ้าของเดิม ในสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่ให้เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ข้อตกลงนี้เป็นข้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าแจ้งแก่ผู้เช่า จึงไม่มีผลถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแม้โจทก์จะซื้อตึกพิพาทโดยรู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเมื่อตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และระยะเวลาตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมก็สิ้นสุดลงแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดละเมิดจากการใช้เด็กทำของหนักเกินวัย จำเลยต้องใช้ความระมัดระวังดูแลเด็ก
บุคคลผู้วานหรือใช้บุตรผู้เยาว์ของผู้อื่นทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ตน มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลผู้เยาว์ตามสมควรผู้เยาว์อายุ 9 ปีเศษวิญญูชนย่อมเห็นได้ว่ายังอ่อนต่อสติปัญญาและพลกำลัง การที่จำเลยใช้ผู้เยาว์ขึ้นขย่มให้ผลกระท้อนหล่นจากต้น แล้วจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่ผู้เยาว์โดยงดเว้นมิได้ตักเตือนมิให้ผู้เยาว์ทำงานมากเกินไปผู้เยาว์ขย่มต้นกระท้อนอยู่ครึ่งชั่วโมงเป็นเหตุให้แขนไม่มีกำลังพอที่จะยึดเหนี่ยวกิ่งไม้ไว้ได้จึงตกลงมาตายดังนี้ เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เยาว์ และต่อผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงสินจ้างจากการก่อสร้างชำรุด และการชำระค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ก่อสร้างอาคารตามข้อตกลงในสัญญารวมทั้งส่วนที่ตกลงเพิ่มเติมให้จำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าตัวอาคารมีรอยร้าวตามส่วนต่างๆ หลายแห่งอันควรจะต้องได้รับการแก้ไขอันแสดงถึงผลงานที่ไม่เรียบร้อย และโจทก์ไม่หาประกันมาให้จำเลยตามที่เรียกร้องได้ จำเลยจึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 599ส่วนค่าจ้างเกี่ยวกับการก่อสร้างเพิ่มเติมนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อชำรุดบกพร่องแต่อย่างใด จำเลยก็ต้องชำระสินจ้างในส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาและการแปลงหนี้: โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาใหม่กับจำเลย
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่ ช. เพื่อนำไปแบ่งเป็นแปลงย่อยจัดสรรให้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระค่าเช่าซื้อครบแล้ว ช. ก็ให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นั้น ต่อมาจำเลยแจ้งให้ผู้เช่าซื้อมาชำระเงินและทำสัญญาเช่าซื้อใหม่กับจำเลยโดยตรงหลังจากนั้น ช. โอนสิทธิของตนแก่โจทก์ เมื่อข้อตกลงตามสัญญาระหว่างจำเลยกับ ช. มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนการที่ ช. โอนสิทธิของตนแก่โจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อโจทก์และจำเลย ซึ่งต่างอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่มิได้ทำสัญญากันขึ้นใหม่ หนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่ตนรับโอนมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาประเมินที่ดินจะแตกต่างจากราคาขาย
จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานศาลตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477 มาตรา 5 (ข) จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (14)
ราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองนั้นเป็นการประเมินราคา เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดิน
ในวันขายทอดตลาดได้มีผู้เข้าประมูลสู้ราคา 3 คน โดยจำเลยเองก็รู้เห็นอยู่ด้วย และการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตแต่ประการใดการที่ศาลมีคำสั่งให้ขายให้กับผู้ให้ราคาสูงสุดจึงเป็นการชอบแล้ว
ราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองนั้นเป็นการประเมินราคา เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดิน
ในวันขายทอดตลาดได้มีผู้เข้าประมูลสู้ราคา 3 คน โดยจำเลยเองก็รู้เห็นอยู่ด้วย และการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตแต่ประการใดการที่ศาลมีคำสั่งให้ขายให้กับผู้ให้ราคาสูงสุดจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี, ราคาประเมินที่ดิน, และการขายทอดตลาดโดยชอบ
จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานศาลตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.2477 มาตรา 5(ข)จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14)
ราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองนั้นเป็นการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดิน
ในวันขายทอดตลาดได้มีผู้เข้าประมูลสู้ราคา 3 คน โดยจำเลยเองก็รู้เห็นอยู่ด้วย และการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตแต่ประการใดการที่ศาลมีคำสั่งให้ขายให้กับผู้ให้ราคาสูงสุดจึงเป็นการชอบแล้ว
ราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองนั้นเป็นการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดิน
ในวันขายทอดตลาดได้มีผู้เข้าประมูลสู้ราคา 3 คน โดยจำเลยเองก็รู้เห็นอยู่ด้วย และการขายทอดตลาดได้เสร็จสิ้นไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตแต่ประการใดการที่ศาลมีคำสั่งให้ขายให้กับผู้ให้ราคาสูงสุดจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อขอออกบัตรประจำตัวประชาชนถือเป็นความผิดซ้ำ แม้เคยได้รับบัตรมาแล้ว
ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 มาตรา 5ได้บัญญัติให้ผู้มีสิทธิที่จะขอให้นายทะเบียนออกบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย เมื่อจำเลยเป็นคนต่างด้าวจึงไม่มีสิทธิที่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอ้างและนำหลักฐานแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้จำเลยจะเคยมีบัตรประจำตัวประชาชนที่นายทะเบียนเคยออกให้มาก่อนเพราะหลงเชื่อว่าจำเลยมีสัญชาติไทยก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้ออ้างที่จะนำมาใช้เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุซึ่งได้มาโดยไม่ถูกต้องและฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่
การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อน และครั้งหลังแม้จะเป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทยอันเป็นเท็จ ในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียนคนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อน และครั้งหลังแม้จะเป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทยอันเป็นเท็จ ในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียนคนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งสัญชาติเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนเป็นความผิดซ้ำ แม้เคยได้รับบัตรมาแล้ว
ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 5 ได้บัญญัติให้ผู้มีสิทธิที่จะขอให้นายทะเบียนออกบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย เมื่อจำเลยเป็นคนต่างด้าวจึงไม่มีสิทธิที่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอ้างและนำหลักฐานแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้จำเลยจะเคยมีบัตรประจำตัวประชาชนที่นายทะเบียนเคยออกให้มาก่อน เพราะหลงเชื่อว่าจำเลยมีสัญชาติไทยก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้ออ้างที่จะนำมาใช้เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ ซึ่งได้มาโดยไม่ถูกต้องและฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่
การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อน และครั้งหลังแม้จะเป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทยอันเป็นเท็จ ในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียนคนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อน และครั้งหลังแม้จะเป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทยอันเป็นเท็จ ในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างและนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียนคนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยต้องเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติ และต้องพิจารณาถึงสถานะบิดา-มารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคำสั่งของจำเลยที่สั่งถอนสัญชาติไทยของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ก่อนอีก
ว. บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง และมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และเกิดบุตรคือโจทก์ในประเทศไทย ดังนี้ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่โจทก์จึงมิใช่บุคคลประเภทหนึ่งประเภทใดที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)
ว. บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง และมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และเกิดบุตรคือโจทก์ในประเทศไทย ดังนี้ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่โจทก์จึงมิใช่บุคคลประเภทหนึ่งประเภทใดที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)