พบผลลัพธ์ทั้งหมด 825 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อเรียกร้องค่าเสียหายได้เฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และค่าเสียหายอื่นนอกเหนือจากการใช้งาน
เมื่อสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกไม่ได้ คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากการผิดสัญญาได้แก่ค่าขาดประโยชน์เพราะผู้เช่าซื้อยังใช้รถยนต์ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์อยู่ในกรณีที่ได้รถยนต์คืนมาแล้วผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่นอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดแต่การใช้รถยนต์โดยชอบ แต่จะเรียกร้องให้ชดใช้ราคารถยนต์มิได้
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาหารเจือปนพยาธิ แม้ตายแล้วก็ถือเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ผิด พ.ร.บ.อาหาร
ปลากระป๋องของกลางมีพยาธิอนิซาดิสลาแวซึ่งเป็นพยาธิเจือปนอยู่ในปลากระป๋อง ย่อมเป็นข้อแสดงโดยแจ้งชัดว่าปลาที่ใช้ทำเป็นอาหารกระป๋องนั้นผลิตจากปลาที่เป็นโรคมีพยาธิ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจติดต่อถึงผู้บริโภคได้เจือปนอยู่ในอาหารกระป๋องนั้นด้วย แม้ตัวพยาธิในกระป๋องจะได้ตายไม่อาจทำให้เกิดอันตรายและติดต่อถึงคนได้ก็ตาม แต่ปลาที่ใช้ผลิตเป็นอาหารกระป๋องนั้นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคพยาธิ อันอาจติดต่อถึงคนและเจือปนอยู่ในอาหารนั้น ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามที่ได้กำหนดไว้โดยกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้ว จำเลยไม่อาจยกเอาเหตุอันเกิดจากโรคพยาธิหมดสภาพเพราะการตายว่าเป็นอาหารที่บริสุทธิ์มาเป็นข้ออ้างเพื่อปัดความรับผิดนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่คืน น.ส.3 ตามระเบียบ ไม่ถือเป็นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้จะนำไปขายฝาก
การรังวัดแบ่งแยกที่ดินปกติจะไม่เก็บ น.ส.3 ฉบับเจ้าของที่ดินไว้ จะเรียกให้นำมาอีกครั้งหนึ่งในวันจดทะเบียนแบ่งแยก ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 1 และโจทก์ยื่นเรื่องราวขอแบ่งขายที่ดิน การที่จำเลยที่ 1 ไปขอรับ น.ส.3 ที่ยื่นไว้คืน โดยสัญญาว่าจะนำมาคืนในภายหลัง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องราวและเป็นผู้ไปรังวัดตามคำสั่ง ของที่ดินอำเภอคืนให้ไป จึงมิได้เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือ ผิดต่อหน้าที่หรือไม่ชอบด้วยหน้าที่อย่างไร จำเลยที่ 1 รับคืนไปแล้วไปโอนขายฝากจนที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อ เป็นเรื่องผิดสัญญา แบ่งขายต่อโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นราษฎรย่อมไม่มีความผิดด้วย แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุ ในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน-พยายามฆ่า แม้ร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษกระทงหลังแยกจากกันได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อีกด้วย ความผิดในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาข้อหานี้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยกับพวกทุกคนต่างมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ตำรวจพบจำเลยกับพวกกำลังกระทำความผิดจึงเข้าจับกุม พวกจำเลยยิงปืนใส่ตำรวจแล้วหลบเข้าที่กำบัง หลังจากยิงต่อสู้กันได้ประมาณ 5 นาที พวกจำเลยหลบหนีไปได้คงเหลือจำเลยซึ่งถูกยิงบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ตำรวจดังกล่าวแม้จะไม่ปรากฏว่าใครยิงบ้างก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันยิงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาโดยการขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งนอกเหนือจากความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ เพราะเป็นความผิดต่างฐานกันและมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกจากกันได้
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับโดยแก้ไขมาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 91 เดิม ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะ กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี ประกอบด้วยมาตรา80 กระทงหนึ่ง จำคุก 15 ปี 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง เมื่อลงโทษตามมาตรา 289ประกอบด้วย มาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่ต้องนำโทษตามความผิดกระทงแรกมารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
จำเลยกับพวกทุกคนต่างมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ตำรวจพบจำเลยกับพวกกำลังกระทำความผิดจึงเข้าจับกุม พวกจำเลยยิงปืนใส่ตำรวจแล้วหลบเข้าที่กำบัง หลังจากยิงต่อสู้กันได้ประมาณ 5 นาที พวกจำเลยหลบหนีไปได้คงเหลือจำเลยซึ่งถูกยิงบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ตำรวจดังกล่าวแม้จะไม่ปรากฏว่าใครยิงบ้างก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันยิงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาโดยการขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งนอกเหนือจากความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ เพราะเป็นความผิดต่างฐานกันและมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกจากกันได้
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับโดยแก้ไขมาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 91 เดิม ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะ กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี ประกอบด้วยมาตรา80 กระทงหนึ่ง จำคุก 15 ปี 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง เมื่อลงโทษตามมาตรา 289ประกอบด้วย มาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่ต้องนำโทษตามความผิดกระทงแรกมารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยของผู้ฎีกาต่อการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีตามมาตรา 174
การส่งสำเนาฎีกาในคดีแพ่งนั้น ผู้ฎีกามีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 ประกอบด้วยมาตรา 1(3) ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้นำส่งแล้ว แต่เมื่อส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นได้สั่งให้รอจำเลยแถลง จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่จัดการอย่างใด คงปล่อยทิ้งไว้จนเจ้าหน้าที่รายงานศาลเป็นเวลาถึง 1 เดือนและเพิกเฉยเรื่อยมาพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ฎีกาในการส่งสำเนาฎีกา และผลของการเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามคำสั่งศาล
การส่งสำเนาฎีกาในคดีแพ่งนั้น ผู้ฎีกามีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 ประกอบด้วยมาตรา 1(3) ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้นำส่งแล้ว แต่เมื่อส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นได้สั่งให้รอจำเลยแถลง จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่จัดการอย่างใด คงปล่อยทิ้งไว้จนเจ้าหน้าที่รายงานศาลเป็นเวลาถึง 1 เดือนและเพิกเฉยเรื่อยมา พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์ของเจ้าของร่วมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดยให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ใน มาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น แต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม มาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อบ้านที่ถูกเพลิงไม้เป็นบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับ ร. สามีจำเลยซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้วางเพลิง จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม มาตรา 218 เพราะเมื่อมาตรา 217 บัญญัติว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด จะตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เป็นการขัดต่อหลักกฎหมายใน มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์ของเจ้าของร่วม ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา218 เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา217 โดยให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ใน มาตรา218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น แต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม มาตรา217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อบ้านที่ถูกเพลิงไม้เป็นบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับ ร. สามีจำเลยซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้วางเพลิง จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม มาตรา218 เพราะเมื่อ มาตรา217 บัญญัติว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด จะตีความคำว่า"ทรัพย์ของผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เป็นการขัดต่อหลักกฎหมายใน มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้าต้องชัดเจน หากไม่ชัดเจนศาลใช้ตามธรรมเนียม
ค่าบำเหน็จนายหน้าที่คู่สัญญาตกลงกันเป็นพิเศษจะต้องกำหนด กันไว้โดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นจะต้องถือว่าตกลงกันเป็นจำนวนตามธรรมเนียมตามบทบัญญัติมาตรา 846 วรรคสอง แห่งป.พ.พ. เมื่อทางพิจารณาไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่ามีการตกลงกำหนด ค่าบำเหน็จนายหน้ากันไว้เท่าใดแน่นอน จึงต้องถือเอาอัตราตามธรรมเนียมซึ่งได้ความว่าจำนวนร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขายกันแท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาหลังกระทำผิดและผลกระทบต่อการลงโทษ
ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อลดโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต จำคุก 8 เดือน และจำคุก 4 เดือนตามลำดับ เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมจำคุก 51 ปี แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 ออกใช้บังคับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด จึงลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่
หมายเหตุ โปรดดูฎีกาที่ 3703/2526 ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกับฎีกาฉบับนี้
หมายเหตุ โปรดดูฎีกาที่ 3703/2526 ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกับฎีกาฉบับนี้